Ran khaa ya

. . . . . . [  ประวัติความเป็นมาในการใช้ว่านหางจระเข้  ] . . . . . .                                              . . . . . . [   ตำนานในการใช้ว่านหางจระเข้  ] . . . . . .

. . . . . . [  ว่านหางจระเข้มีตำนานในการใช้มาตั้งแต่สมัยอียิฟโบราณ  ] . . . . . .                                              . . . . . . [   ว่านหางจระเข้มีประวัติการใช้ประโยชน์มากมาย  ] . . . . . .

ข้อมูลแก้ไขล่าสุดวันศุกร์, 28 กันยายน 2544

 

แก้ไขข้อมูลใหม่สุดวัน อาทิตย์, 23 ธันวาคม 2544

ว่านหางจระเข้ (Aloe) Aloe barbadensis Mill LILICEAE
ชื่ออื่น ว่านไฟไหม้ หางตะเข้

ตำรายาไทย

ใช้น้ำยางสีเหลืองจากใบเคี่ยวให้แห้ง เรียกว่า ยาดำ พบว่าเนื่องจากมีสารกลุ่มแอนทราควิโนน แต่พันธุ์ที่ปลูกในประเทศไทย มีปริมาณน้ำยางน้อย ไม่อาจใช้ในการผลิตยาดำจึงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ นอกจากนี้ใช้วุ้นสดของใบปิดขมับแก้ปวดหัว การทดลองกับผู้ป่วยพบว่า วุ้นสดใช้รักษาแผลไฟไหม้มีน้ำร้อนลวกแผลไหม้เกรียมจากแสงแดดและการฉายรังสี แผลสดแผลเรื้อรัง ตลอดจนกินเพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ดี

วิธีใช้

ให้เลือกใช้ใบล่างสุด ล้างน้ำให้สะอาด ปอกเปลือกสีเขียวออก ล้างน้ำยางสีเหลืองออกให้หมด เพราะอาจจะระคายเคืองผิวหนัง และทำให้มีอาการแพ้ได้ ขูดเอาวุ้นใสปิดพอกบริเวณแผล หรือฝานเป็นแผ่นบางปิดแผล พันด้วยผ้าพันแผลที่สะอาด เปลี่ยนวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น จนกว่าแผลจะหาย นอกจากนี้ ยังใช้วุ้นเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางหลายประเภท เช่น แชมพูสระผม สบู่ ครีมกันแดด เป็นต้น สารที่ออกฤทธิ์เป็นกลัยโคโปรตีนชื่อ aloctin A ซึ่งมีฤทธิ์ลดการอักเสบ และเพิ่มการเจริญทดแทนของเนื้อเยื่อที่แผล แต่มีข้อเสีย คือสลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน ไม่ควรทิ้งวุ้นสดไว้เกิน 24 ชั่วโมง

 

Home Next

 


ประวัติความเป็นมาในการใช้ว่านหางจระเข้

นับเป็นเวลาหลายศัตรวรรษที่หลายประเทศรู้จักใช้ว่านหางจระเข้รักษาโรคอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีคุณวิเศษในการรักษาแผลไฟลวก รักษาแผลทั่วไป และระงับความเจ็บปวด รวมทั้งรักษาโรคเรื้อนกวาง จากเอกสารทางประวัติศาสตร์ของชาวอียิปต์ โรมัน กรีก แอลจีเรีย ตูนีเซีย อาหรับ อินเดียและจีน มีรายงานการใช้พืชชนิดนี้เป็นทั้งยาและเครื่องสำอาง แม้แต่พระนางคลีโอพัตราก็ยังรักษาความงามและความมีเสน่ห์ของพระองค์ด้วยวุ้นของว่านหางจระเข้
ก่อนคริสตศักราช ๑๕๐๐ ปี (หรือ ๙๕๗ ปีก่อนพุทธศักราช) มีรายงานของชาวอียิปต์ที่ถือว่าเป็นหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุด รายงานถึงสรรพคุณมากมายของว่านหางจระเข้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการรู้จักใช้พืชชนิดนี้มาเป็นเวลาหลายศตวรรษแล้ว ในตำราสมุนไพรที่มีชื่อเสียงของกรีกเมื่อคริสตศตวรรษที่ ๑ รายงานถึงวิธีการใช้ว่านหางจระเข้ในการรักษาโรคต่างๆ อย่างละเอียดพิสดาร ตั้งแต่รักษาบาดแผล โรคนอนไม่หลับ กระเพาะอาหารทำงานไม่ปกติ ท้องผูก ริดสีดวงทวาร อาการคันที่ผิวหนัง ปวดหัว ผมร่วง โรคเหงือกและฟัน โรคไต ผิวหนังพอง ผิวถูกแดดเผา ผิวด่างดำ ช่วยบำรุงผิวหนังระงับอาการปวดและอื่นๆ


 


ตำนานในการใช้ว่านหางจระเข้

นักประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า อริสโตเติ้ลได้กราบบังคมทูลให้พระเจ้าอเล็กซานเอร์มหาราชยึดเกาะโซโครโต ซึ่งอยู่ทางฝั่งทะเลตะวันออกของอัฟริกา เพื่อเอาว่านหางจระเข้มาไว้ใช้สำหรับรักษาบาดแผลของทหารที่ออกสู้รบ

นอกจากนี้ บันทึกสมัยโบราณฉบับอืนๆ ก็บรรยายถึงการใช้ว่านหางจระเข้บำรุงผิว ป้องกันผิวจากแดดเผา ถูกลมเป่า ถูกไฟลวก และผิวแตกเมื่อถูกความเย็น รักษาบาดแผลเล็กๆน้อยๆ แก้แมลงวัตว์กัดต่อย แผลถลอก แผลน้ำร้อนลวก แผลมีดบาด ผื่นคัน สิว ถูกใบตำแย ผิวเป็นด่างดำ ผิวหนังแพ้สารต่างๆ แผลชอนทะลุ คันคอ เนื่องจากกินอาหารผิด แผลเรื้อรัง ผื่นปวดแสบปวดร้อน และโรคผิวหนังอื่นๆ ในคัมภ์ไบบิล (จอห์น ๑๙:๓๙) มีบันทึกไว้ว่า ยาชะโลมพระศพพระเยซูมีส่วนผสมของว่านห่างจระเข้อยู่ด้วย


 

   
 

[Home] [ประวัติของว่าน] [วิธีปลูกว่าน] [การนำว่านมาใช้] [การใช้รักษาโรค] [ข้อควรระวัง] [พิษจากว่าน] [ผลิตภันฑ์ว่าน] [ส่งเสริมชุมชน] [คณะผู้จัดทำ]


 

SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน