Ran khaa ya

. . . . . . [  วิธีการนำว่านหางจระเข้มาใช้  ] . . . . . .                                              . . . . . . [   การเลือกว่านหางจระเข้มาใช้อย่างเหมาะสม  ] . . . . . .

. . . . . . [  ว่านหางจระเข้จำเป็นต้องใช้เวลาในการปลูกประมาณ 1 ปั จึงจะมีตัวยาที่ดี  ] . . . . . .                                              . . . . . . [   ว่านหางจระเข้มีวิธีการนำมาใช้ที่ง่ายมาก ไม่ยุ่งยาก  ] . . . . . .

ข้อมูลแก้ไขล่าสุดวันศุกร์, 28 กันยายน 2544

 

แก้ไขข้อมูลใหม่สุดวัน อาทิตย์, 23 ธันวาคม 2544

ว่านหางจระเข้ (Aloe) Aloe barbadensis Mill LILICEAE
ชื่ออื่น ว่านไฟไหม้ หางตะเข้

ตำรายาไทย

ใช้น้ำยางสีเหลืองจากใบเคี่ยวให้แห้ง เรียกว่า ยาดำ พบว่าเนื่องจากมีสารกลุ่มแอนทราควิโนน แต่พันธุ์ที่ปลูกในประเทศไทย มีปริมาณน้ำยางน้อย ไม่อาจใช้ในการผลิตยาดำจึงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ นอกจากนี้ใช้วุ้นสดของใบปิดขมับแก้ปวดหัว การทดลองกับผู้ป่วยพบว่า วุ้นสดใช้รักษาแผลไฟไหม้มีน้ำร้อนลวกแผลไหม้เกรียมจากแสงแดดและการฉายรังสี แผลสดแผลเรื้อรัง ตลอดจนกินเพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ดี

วิธีใช้

ให้เลือกใช้ใบล่างสุด ล้างน้ำให้สะอาด ปอกเปลือกสีเขียวออก ล้างน้ำยางสีเหลืองออกให้หมด เพราะอาจจะระคายเคืองผิวหนัง และทำให้มีอาการแพ้ได้ ขูดเอาวุ้นใสปิดพอกบริเวณแผล หรือฝานเป็นแผ่นบางปิดแผล พันด้วยผ้าพันแผลที่สะอาด เปลี่ยนวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น จนกว่าแผลจะหาย นอกจากนี้ ยังใช้วุ้นเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางหลายประเภท เช่น แชมพูสระผม สบู่ ครีมกันแดด เป็นต้น สารที่ออกฤทธิ์เป็นกลัยโคโปรตีนชื่อ aloctin A ซึ่งมีฤทธิ์ลดการอักเสบ และเพิ่มการเจริญทดแทนของเนื้อเยื่อที่แผล แต่มีข้อเสีย คือสลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน ไม่ควรทิ้งวุ้นสดไว้เกิน 24 ชั่วโมง

 

BackHome Next

 


วิธีใช้ว่านหางจระเข้

ขนาดของต้นไม้

  • ต้นว่านหางจระเข้ที่จะนำมาใช้ควรเป็นต้นที่ปลูกนาน 1 ปีขึ้นไป หรือสังเกตุจากใบที่ใหญ่ที่สุดควรมีความกว้างที่โคนใบประมาณ 1-2 นิ้วอย่างไรก็ตามต้นเล็กก็มีสรรพคุณในการรักษาเช่นกันแต่สนนพคุณของมันจะมีมากขึ้นตามอายุ จึงควรมีต้นแก่ๆ สักต้นในบ้าน

ควรเลือกใบอย่างไร

  • ปกติควรใช้ใบล่างสุด เพราะเป็นใบที่แก่และใหญ่กว่าใบอื่นดังนั้นจึงมีน้ำเมือกมากและมีคุณค่าทางยามากกว่า

วุ้นและน้ำเมือก

  • เมื่อเราปอกเปลือกว่านหางจระเข้หมด จะเหลือส่วนที่เป็นแท่งใสๆ ส่วนนี้เราเรียกว่า วุ้น และเมื่อขูดเนื้อวุ้นนี้จะมีน้ำไหลออกมา เรียกว่า น้ำเมือก

วิธีใช้

ให้เลือกใช้ใบล่างสุด ล้างน้ำให้สะอาด ปอกเปลือกสีเขียวออก ล้างน้ำยางสีเหลืองออกให้หมด เพราะอาจจะระคายเคืองผิวหนัง และทำให้มีอาการแพ้ได้ ขูดเอาวุ้นใสปิดพอกบริเวณแผล หรือฝานเป็นแผ่นบางปิดแผล พันด้วยผ้าพันแผลที่สะอาด เปลี่ยนวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น จนกว่าแผลจะหาย นอกจากนี้ ยังใช้วุ้นเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางหลายประเภท เช่น แชมพูสระผม สบู่ ครีมกันแดด เป็นต้น สารที่ออกฤทธิ์เป็นกลัยโคโปรตีนชื่อ aloctin A ซึ่งมีฤทธิ์ลดการอักเสบ และเพิ่มการเจริญทดแทนของเนื้อเยื่อที่แผล แต่มีข้อเสีย คือสลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน ไม่ควรทิ้งวุ้นสดไว้เกิน 24 ชั่วโมง

 


 


การนำใบมาใช้

ก่อนนำใบว่านหางจระเข้มาใช้ ต้องล้างให้สะอาดเสียก่อน ใบว่านหางจระเข้ที่นำมาใช้ยิ่งสดจากต้นเท่าไรยิ่งดี ทั้งนี้เพราะใบที่ถูกตัดออกจากต้นแล้วจะลดสรรพคุณลงไปเรื่อยๆ วิธีที่ประหยัดว่านหางจระเข้และทำให้มีสรรพคุณดีที่สุดคือ ตัดใบเอามาใช้เท่าที่จำเป็นมีผู้ใช้บางท่านต้องการใช้เพียงเล็กน้อยแต่ตัดออกมาทั้งใบ ส่วที่เหลือเก็บเอาไว้วิธีนี้สิ้นเปลืองและทำให้ว่านหางจระเข้มีสรรพคุณลดลง การตัดใบว่านออกมาใช้บางส่วนไม่ได้ทำอันตรายต่อต้นไม้ เพราะว่ารอยตัดจะปิดตัวอย่างรวดเร็ว

มีผู้ใช้บางท่านรีดเอาว่านหางจระเข้ ออกมาใส่ชามแล้วนำไปแช่ตู้เย็น โดยคิดว่าวิธีนี้จะจะทำให้นำมาใช้ได้สะดวก ความจริงแล้ววิธีนี้ทำให้ว่านหางจระเข้เสื่อมสรรพคุณเร็วที่สุด สังเกตได้ว่าหลังจากรีดวุ้นเก็บไว้เพียง 2-3 วัน วุ้นทั้งหมดก็จะกลายเป็นน้ำใสๆ และเสื่อมสรรพคุณไปในที่สุด

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ไม่สามารถใช้ว่านจากต้นได้ทุกครั้ง ใบว่านหางจระเข้สามารถเก็บไว้ใช้ได้ไม่เกิน 3-4 วัน หากนำมาแช่ตู้เย็นสามารถเก็บไว้ใช้ได้ไม่เกิน 7 วัน


 

   
 

[Home] [ประวัติของว่าน] [วิธีปลูกว่าน] [การนำว่านมาใช้] [การใช้รักษาโรค] [ข้อควรระวัง] [พิษจากว่าน] [ผลิตภันฑ์ว่าน] [ส่งเสริมชุมชน] [คณะผู้จัดทำ]


 

SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน