Ran khaa ya
   
 

ข้อมูลแก้ไขล่าสุดวันศุกร์, 28 กันยายน 2544

   

BackHome Next

 

แก้ไขข้อมูลใหม่สุดวัน อาทิตย์, 23 ธันวาคม 2544

ว่านหางจระเข้ (Aloe) Aloe barbadensis Mill LILICEAE
ชื่ออื่น ว่านไฟไหม้ หางตะเข้

ตำรายาไทย

ใช้น้ำยางสีเหลืองจากใบเคี่ยวให้แห้ง เรียกว่า ยาดำ พบว่าเนื่องจากมีสารกลุ่มแอนทราควิโนน แต่พันธุ์ที่ปลูกในประเทศไทย มีปริมาณน้ำยางน้อย ไม่อาจใช้ในการผลิตยาดำจึงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ นอกจากนี้ใช้วุ้นสดของใบปิดขมับแก้ปวดหัว การทดลองกับผู้ป่วยพบว่า วุ้นสดใช้รักษาแผลไฟไหม้มีน้ำร้อนลวกแผลไหม้เกรียมจากแสงแดดและการฉายรังสี แผลสดแผลเรื้อรัง ตลอดจนกินเพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ดี

วิธีใช้

ให้เลือกใช้ใบล่างสุด ล้างน้ำให้สะอาด ปอกเปลือกสีเขียวออก ล้างน้ำยางสีเหลืองออกให้หมด เพราะอาจจะระคายเคืองผิวหนัง และทำให้มีอาการแพ้ได้ ขูดเอาวุ้นใสปิดพอกบริเวณแผล หรือฝานเป็นแผ่นบางปิดแผล พันด้วยผ้าพันแผลที่สะอาด เปลี่ยนวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น จนกว่าแผลจะหาย นอกจากนี้ ยังใช้วุ้นเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางหลายประเภท เช่น แชมพูสระผม สบู่ ครีมกันแดด เป็นต้น สารที่ออกฤทธิ์เป็นกลัยโคโปรตีนชื่อ aloctin A ซึ่งมีฤทธิ์ลดการอักเสบ และเพิ่มการเจริญทดแทนของเนื้อเยื่อที่แผล แต่มีข้อเสีย คือสลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน ไม่ควรทิ้งวุ้นสดไว้เกิน 24 ชั่วโมง

 


ข้อห้ามใช้และข้อควรระวัง

ข้อห้ามใช้

ยาง และ ยาดำ ที่ได้จาดยางว่านหางจระเข้ ห้ามใช้กินสำหรับคนที่กำลังมีอาการปวดท้อง อ่อนเพลีย ไตอักเสบ เป็นริดสีดวงทวารหรือหญิงมีครรภ์ และหญิงที่อยู่ระหว่างให้นมลูก เพราะอาจทำให้แท้งลูกและทำให้ลูกที่กินนมแม่ท้องเสีย

ส่วนวุ้นและน้ำเมือกว่านหางจระเข้ห้ามให้คนที่แพ้ยาต่างๆ ง่าย หรือร่างกายขาดความต้านทานยาต่างๆ เพราะกินว่านหางจระเข้เข้าไปแล้วอาจเกิดผื่นคันที่ผิวหนัง

ข้อควรระวังในการใช้

เมื่อเป็นยาทา

บางคนอาจแพ้ยา อาการแพ้ยาจะเกิดขึ้นภายในเวลา 2-3 นาที ดังนั้นก่อนใช้ควรทดลองทาดูเล็กน้อยที่หลังหู หรือที่รักแร้ หากใน 2-3 นาที ไม่มีอาการผิวปกติใดๆ เกิดขึ้นก็แสดงว่าให้ได้

สำหรับผู้ที่ผิวแห้ง ไม่ควรใช้น้ำเมือกเพียงอย่างเดียวทาผิวเพราะอาจทำให้ผิวแห้งยิ่งขึ้น ควรผสมน้ำเมือกลงกับครีมหรือน้ำมันทาผิวซึ่งจะช่วยให้ผิวเต่งตึงและชุ่มชื่น

เมื่อใช้เป็นยากิน

สำหรับ ยางและยาดำ ไม่ควรกินมากเกินไปเพราะสาร “อะโลอิน” ที่มีอยู่ในยางว่านหางจระเข้มีฤทธิ์เป็นยาระบาย ถ้ากินมากเกิดไปทำให้ท้องเสียและปวดท้อง เพราะลำไส้เกร็งตัว และถ้ากินติดต่อกันนานอาจทำให้เป็นโรคปวดตามข้อได้


 


ข้อควรระวังสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคต่างๆ

ข้อควรระวังสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน

การดื่มน้ำว่านหางจระเข้มีทางทำให้ตับอ่อนสร้างอินสุลินมากขึ้น ดังนั้นผู้ที่ใช้ยาอินสุลินอยู่แล้วดื่มน้ำว่านหางจระเข้อาจทำให้มีอินสุลินมากเกินไป ซึ่งมีอันตรายมากอาจทำให้ช็อกได้ ดังนั้นคนที่คิดว่าจะกินว่านหางจระเข้โดยที่ใช้ยาอินสุลินอยู่ ควรจะปรึกษาแพทย์ เพื่อหาวิธีใช้ยาอินสุลินให้เหมาะสม

ข้อควรระวังสำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบ

ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบอยู่แล้ว เมื่อกินวุ้นว่านหางจระเข้สด ควรจะล้างยางให้ออกให้หมดจริงๆ จนไม่มีรสขมเหลืออยู่เลยมิฉะนั้นยางที่ติดค้างอยู่กับวุ้นจะไประคายเคืองกระเพาะและลำไส้ ทำให้อาเจียรและถ่ายอย่างแรง

     
 

[Home] [ประวัติของว่าน] [วิธีปลูกว่าน] [การนำว่านมาใช้] [การใช้รักษาโรค] [ข้อควรระวัง] [พิษจากว่าน] [ผลิตภันฑ์ว่าน] [ส่งเสริมชุมชน] [คณะผู้จัดทำ]


 

SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน