การสานของคนไทย
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัวการสานของคนไทยนั้น ถือได้ว่าเป็นความรู้พื้นบ้านพื้นเมือง สืบต่อกันมาช้านาน
โดยวิธีการถ่ายทอดให้กันในครอบครัว ชนิดพ่อสอนลูก โดยมิได้มีการร่ำเรียนกันอย่างจริงจัง
และไม่มีการจดบันทึกเป็นตำราตำราแต่อย่างใด แต่เป็นการถ่ายทอดสืบต่อกันมาจาก
บรรพบุรุษจากชั่วชีวิตคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง ซึ่งบางอย่างอาจคงรูปลักษณะและลวดลายเดิมไว้
แต่บางอย่างก็อาจจะเปลี่ยนรูปทรงและลวดลายไปบ้าง แต่ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้
มักจะเปลี่ยนไปอย่างช้า ๆ ชนิดค่อยเป็นค่อยไป
การสานของไทยนั้นมีลวดลายและรูปแบบต่างกันไปมากมาย ทั้งที่แตกต่างกัน
ด้วยลักษณะของแบบลายและวัสดุที่ใช้ในการสาน ในด้านลวดลายที่สานนั้น ส่วนมากการ
ใช้ลายจะสานลายใดก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม เช่น อาจจะใช้ลายขัดธรรมดา เพื่อให้เกิด
ความแข็งแรงทนทานและความสะดวกในการสาน หรือถ้าต้องการสานภาชนะที่มีตาห่าง ๆ เช่น
ชะลอม เข่ง ก็มักจะสานด้วยลายเฉลว เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม วิธีการสานอันเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากของการทำเครื่องจักสานแบบต่าง ๆ
เท่าที่ปรากฏอยู่เว้นเกิดขึ้นจากการสานด้วยลวดลายที่ต่างกันไป แต่โดยหลักใหญ่ ๆ แล้วจะเห็นว่า
การสานลวดลายทั้งหลายนั้นจะต้องใช้การขัดกันเพื่อให้วัสดุที่ใช้สานนั้นยึดตัวขัดกันคงรูปอยุ่ได้เป็นหลัก
ไม่ว่าการสานนั้นจะเป็นลายขัดธรรมดา ๆ หรือลายสานสอง ลายสาม หรือลายอื่น ๆ
ก็ตามการสานเครื่องจักสานโดยทั่วไปแล้ว อาจจำแนกออกเป็นลักษณะใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
- การสานด้วยวิธีการสอดขัดกัน
- การสานด้วยการสอดขัดกันด้วยเส้นทแยง
- การสานด้วยวิธีขดเป็นวง
จากลักษณะของการสานประเภทใหญ่ ๆ ทั้ง ๓ นี้ เป็นวิวัฒนาการของการสานลวด
ลายเครื่องจักสานเพื่อให้เกิดประโยชน์เหมาะสมกับชนิดและรูปทรงของเครื่องจักสาน นอกจาก
นี้แบบอย่างการสานเหล่านี้แล้ว ยังมีลวดลายซึ่งดัดแปลงออกไปเพื่อให้เกิดความ สวยงาม
เพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก เช่น ลายขัดธรรมดา แต่มีการสานด้วยเส้นตอกที่เล็กกว่า ตอกสอดแทรก
เข้าไประหว่างลายขัดนั้น เพื่อให้เกิดเป็นลายขัดเล็ก ๆ ซ้อนอยู่ภายใน เป็นการเพิ่มความสวยงาม เช่น
ลายดอกพิกุล เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม วิธีการสานเครื่องจักสานในท้องถิ่นต่าง ๆ ของไทยนั้น จะขึ้นอยู่กับ ความนิยม
ของท้องถิ่นที่สืบทอดกันมากกว่าอย่างอื่น