Ran khaa ya

การทำปลา “กะตักแห้ง” หรือ “กะตะแห้ง”

อุปกรณ วิธีทำ ราคา

           ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 หมู่บ้านชาวประมงหลายแห่ง ตามเส้นทางชายฝั่งทะเลจากอำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ ไปจนถึงอำเภอสายนบุรี จะมีการทำปลา “กะตักแห้ง” ตลอดระยะทาง

            ผู้ริเริ่มการทำปลากะตักในแถบนี้ ได้แก่นายแบยี ดอมะ อายุ 55 ปี อยู่บ้านเลขที่ 103 หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านน้ำบ่อ อำเภอปะนาเระ นายอารี หะมะ อายุ 42 ปี อยู่บ้านเลขที่ 55 / 1 หมู่ที่ 2 ตำบลบางเก่า อำเภอสายบุรี

            “ปลากะตะ” เป็นชื่อปลาที่เรียกกันในหมู่บ้านชาวประมงและหมู่บ้านใกล้เคียง เป็นปลาชนิดเดียวกับปลาไส้ตัน นำมาทำเป็นปลาแห้ง เรียกว่าปลา “กะตะ” หรือ “กะตัก” สาเหตุที่ชาวบ้านประกอบอาชีพการทำปลากกะตักแห้งกันมาเนื่องจาก

    1. ชาวบ้านที่ตั้งถิ่นฐานตามสถานที่ดังกล่าวมีอาชีพประมง เช่น อวนลาก อวนรุน อวนลอย และเลี้ยงปลากะพงในคลอง ต่อมาปลาที่หาได้จากอวนลอย อวนรุน มีจำนวนน้อยลง ชาวบ้านจึงเลิกอาชีพประมงชายฝั่ง จะมีเลี้ยงปลากะพงบ้าง แต่มีไม่กี่รายนอกนั้นทำประมงไกลฝั่งจับปลากะตัก
    2. สถานที่ชายทะเล เป็นพื้นที่โล่ง เหมาะแก่การตากปลา และการขนส่งสะดวกทั้งผู้ผลิตและผู้ซื้อ เพราะมีเส้นทางคมนาคมผ่านสะดวกสบาย
    3. ราคาต้นทุนไม่มาก เป็นค่าแผงตากปลาและเตาต้มปลาใช้ไม้ฟืนเป็นส่วนใหญ่
    4. ชาวบ้านที่ไม่มีงานทำจะได้มีงานทำ ปัจจุบันมีทั้งนายจ้างลูกจ้างและชาวบ้านที่ทำเป็นอาชีพในครัวเรือนและเป็นอาชีพอิสระ
    5. การส่งเสริมและนิยมทำปลา “กะตักแห้ง” มีมาประมาณ 6 –7 ปี เพราะเติมปลากะตัก จะมีมากทางฝั่งทะเลตะวันตก เช่น ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง ระนอง ช่วงหลังมีการจับปลากะตักทางทะเลตะวันออกกันมาก เมื่อมีผู้ทำปลากะตักแห้ง ก็มีผู้ซื้อขยายวงกว้างแพร่หลายออกไป เป็นการหารายได้จึงทำกันเป็นอาชีพ

SITEMAP ?????????????????????
??????????????????
?????????