ไปดูการแห่มังกรที่เลื่องชื่อแห่งเมืองปากน้ำโพ
เมื่อพูดถึงจังหวัดนครสวรรค์หลายคนจะนึกถึงบึงบอระเพ็ด บ้างก็นึกถึงเมืองที่แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน
ไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาหรือไม่ก็การแห่มังกรในเทศกาลตรุษจีน โดยเฉพาะอย่ายิ่งการแห่
มังกรนี้ ในปัจจุบันดูเหมือนว่าจะกลายเป็นจุดเด่นหรือสัญลักษณ์ของนครสวรรค์ไปเสียแล้ว เนื่อง
จากความโด่งดังด้วยรูปแบบและการแสดงที่ยิ่งใหญ่และสวยงามความจริงแล้วการแห่มังกรนี้เป็นส่วน
หนึ่งของงานประเพณีเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพนครสวรรค์ซึ่งเป็นงานประเพณีของชาวไทยเชื้อสาย จีนที่อาศัยอยู่ในย่านตำบลปากน้ำโพ อ.เมือง นครสวรรค์ที่ถูกอนุรักษ์สืบทอดมาเป็นเวลากว่า 60ปี ตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเทสกาลตรุษจีน เพื่อเป็นการแสดงความ เคารพสักการะและความกตัญญูต่อเจ้าพ่อเทพารักษ์และเจ้าแม่ทับทิมสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง
ของชาวปากน้ำโพ และเป็นการเฉลิมฉลองเพื่อความเป็นศิริมงคลโดยมีประวัติความเป็นมาน่าสน
ใจว่าเมื่อประมาณ 70 ปีที่ผ่านมา ได้เกิดโรคห่า (อหิวาตกโรค) ระบาดไปทั่ว ต.ปากน้ำโพ
ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจากโรคนี้อย่างยิ่งทำให้มีคนป่วยและล้มตายเป็นจำนวนมาก
สุดที่แพทย์จะทำการรักษาเยียวยาได้ เพราะวิทยาการทางการแพทย์สมัยนั้นยังไม่เจริญก้าวหน้า
ชาวบ้านปากน้ำโพธิ์จึงหันมาพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่น คือ ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์เจ้าแม่ทับทิม
ซึ่งเป็นศาลเจ้าเล็กๆ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตรงข้ามหมู่บ้านตลาดปากน้ำโพ ซึ่งเป็นที่เคารพ
สักการะของชาวบ้านและผู้สัญจรผ่านไปมา โดยขอให้เจ้าพ่อเจ้าแม่ ช่วยคุ้มครองปัดเป่าให้พ้นภัย พิบัติจากโรคร้าย ได้มีการทำพิธีเชิญเจ้าเข้าประทับทรงมีการทำพิธีรักษาโรคโดยการเขียนกระดาษ
ยันต์(ฮู้) แล้วนำไปเผาไฟใส่น้ำกิน ปรากฏว่าโรคห่าที่ระบาดอยู่นั้นได้หายไปอย่างน่าอัศจรรย์จนเป็น
ที่เลื่องลือถึงความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าพ่อเจ้าแม่ไปทั่วทั้งใกล้ไกลชาวบ้านที่ได้ยินกิตติศัพท์ต่างก็พากันมา
กราบไหว้บูชาอย่างมากมาย และเพื่อเป็นการแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีต่อเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ชาวบ้านปากน้ำโพจึงได้พร้อมใจกันจัดให้มีการเฉลิมฉลองขึ้นโดยได้อัญเชิญเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ข้ามฝั่ง
มาประทับที่ปะรำพิธีชั่วคราวและแห่แหนไปรอบตลาดปากน้ำโพเพื่อให้ประชาชนที่เคารพนับถือได้กราบ
ไหว้บูชากันอย่างทั่วถึง และได้มีการแห่แหนเช่นนี้ในปีต่อๆ มาจนกลายเป็นประเพณีตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
โดยจะจัดในช่วงเวลาเทศกาลตรุษจีน ต่อมาพอถึงปี พ.ศ. 2506 กรรมการจัดงานเจ้าพ่อ-เจ้าแม่
ได้เสนอให้มีการแสดงการเชิดมังกร ซึ่งชาวจีนทั่วไปถือว่ามังกรเป็นสิ่งสิริมงคลนำโชคลาภและความ
ผาสุขทั้งปวงมาสู่บ้านเมือง ทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ชั้นสูงขององค์จักพรรดิ์จีนในอดีตเพิ่มขึ้นจากขบวน
แห่ต่างๆ อีก 1 ขบวน ในปัจจุบันงานประเพณีเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพเป็นประเพณีที่สำคัญและมีชื่อ เสียงของจังหวัด โดยในงานประเพณีฯ นี้จะมีขบวนแห่แหนต่างๆ เช่น การเชิดสิงโต การแห่มังกร
เอ็งกอพะบู๊ เจ้าแม่กวนอิม เหล่านางฟ้า ล่อโก๊ว ไทเก๊ก และการแสดงอื่นๆ แห่ไปตามถนนสายหลักในเขตเทศบาลเมืองฯ
และรอบตลาดปากน้ำโพการแสดงที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักแพร่หลายทั้งชาวไทย
และชาวต่างประเทศ และสร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดนครสวรรค์มาก คือ การแห่และเชิดมังกร ซึ่งมีความยิ่งใหญ่มโหฬารสวยงามวิจิตรตระการตาเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เอนื่องจากในการเชิดมังกรทอง
ของชาวปากน้ำโพต้องใช้คนเชิดที่มีความชำนาญและต้องฝึกซ้อมมาดีถึง 150-170 คน ตัวมังกรยาว
57-60 เมตร และสวยงามด้วยลวดลายสีสรรตลอดจนตกแต่งประดับประดาไฟหลากสีตลอดลำตัว
ลักษณะการเชิดมังกรก็สนุกสนานตื่นเต้นเร้าใจการแสดงมีทั้งการพันเสา การพ่นไฟ พ่นน้ำ
และบางปีก็ลงไปเล่นในแม่น้ำในลักษณะของการโผล่จากบาดาลอีกด้วยในปัจจุบันได้มีการพัฒนา
รูปแบบการแสดงเป็นการแสดงในสนามกีฬาประจำจังหวัดประกอบแสง สี และเสียง และมี
การแสดงอื่นๆ ประกอบรายการด้วยทุกปีจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาชมการแห่มังกรนี้เป็นจำนวน
มากและผู้ที่ได้ชมการแห่มังกรและการแสดงอื่นๆของงานฯส่วนใหญ่ต่างก็ประทับใจ
และยอมรับเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นการแสดงที่ยิ่งใหญ่และสวยงามมาก
|
ประวัติจังหวัด
นครสวรรค์
สถานที่สำคัญและ
สถานที่ท่องเทียว
ประเพณีและ
วัฒนธรรม
-แห่มังกร
-แข่งเรือยาววัดเกาะหงษ์
-สงกรานต์บ้านเขาทอง -การรำกลองยาว -การเต้นกำรำเคียว -การรำเปิงมาง
คณะผู้จัดทำ
กลับหน้าแรก
|