ชื่อทางพฤกษศาสตร์ : Albizzia Lebbekoides, Benth
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่อที่เรียก : ภาคกลางและทั่วๆ ไปเรียก คาง, จามจุรีป่า, จามจุรีดง ทาง
พายัพเรียก กาง, ก๋าง
ลักษณะ : ต้นคาง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ต้นสูงใหญ่ ใบ
ดกหนาทึบ ใบเล็กเป็นฝอยคล้ายใบมะขามไทย คล้ายใบทิ้งถ่อนหรือ
ใบจามจุรี ยอดแดง มีฝักแบนโตยาว ดอกออกเป็นฝอยฟูเหมือน
ดอกจามจุรี แต่สีเขียวๆ ขาวๆ มีกลิ่นหอม ใบสดๆ นำมาเคี้ยวแล้ว
บ้วนน้ำลายดูจะเป็นสีแดง
การเจริญเติบโต : มีขึ้นประปรายตามป่าเบญจพรรณ ตามพื้นที่ลุ่มต่ำน้ำ
ขึ้นลงท่วมถึงได้ จะพบเห็นตามลำธารทั่วๆไป มีทั้งในภาคกลาง
ภาคเหนือ ภาคอีสาน
สรรพคุณ : เปลือก มีรสฝาดเฝื่อน นำมาปรุงเป็นยารับประทานแก้ท้องร่วง
แก้ลงท้อง แก้ตกโลหิต แก้บวม แก้ฝี แก้พยาธิเปื่อยเน่า แก้ลำไส้
พิการ บำรุงธาตุ ทำเป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงเนื้อหนังให้บริบรูณ์
เปลือกนำมาฝนกับน้ำ ทารักษาในโรคเรื้อน แก้แผลเน่าเปื่อยเรื้อรัง
ทาฝี ใบ ปรุงเป็นยาแก้ไอ ดอก มีรสหวาน บำรุงธาตุ แก้ปวด
บาดแผล แก้พิษงู แก้ฟกบวม
แก้คุดทะราด แก้ไข้พิษที่เกิดจากตาอักเสบ
์