ฤชากรพระรูป ร.5 |
||||||
....ฤชากร หมายถึง อากรที่ใช้ในการชำระค่าธรรมเนียมศาลและที่ดิน โดยในระยะแรกนั้น ฤชากรใช้ผนึกเอกสารต่างๆเท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ.2448 กรมทะเบียนที่ดิน ได้นำฤชากรมาใช้ผนึกเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวกับที่ดิน ฤชากร พระรูป ร.5 .....ในระยะแรกการชำระค่าธรรมเนียมศาล ได้ใช้ อากรแสตมป์ทั่วไปชุดแรก ซึ่งออกมาใช้ในปี พ.ศ.2430 ผนึกบนเอกสารต่างๆ ของศาลอยู่ระยะหนึ่ง จนกระทั่งปี ฑ.ศ.2442 ฤชากรชุดแรกจึงถูกนำมาใช้ โดยฤชากรชุดแรกที่พิมพ์พิมพ์ที่โรงพิมพ์ กีเซคแอนด์เดเวอเรียนท์ เมืองไลป์ซิก ประเทศเยอรมันนี เป็นภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งกระดาษที่ใช้พิมพ์ค่อนข้างบางและไม่มีลายน้ำ โดยฤชากร 1 แผ่น มี 25 ดวง พิมพ์ด้วยสีเขียว สีเดียว ประกอบด้วยราคา 1 อัฐ 2 อัฐ 4 อัฐ 8 อัฐ 10อัฐ 16 อัฐ 1 บาท 4 บาท 10 บาท 20 บาท 40 บาท และ 80 บาท ต่อมาการพิมพ์เพิ่มเติมเฉพาะฤชากรชนิด บาท และในการพิมพ์ครั้งที่สองนี้ ได้จัดพิมพ์เป็นสองสี โดยเปลี่ยนเป็นสีในช่องคำว่า ฤชากร และในช่อง ราคา ให้เป็นสีอื่นไม่ใช่สีเขียว ซึ่งฤชากรราคา บาท ที่พิมพ์เพิ่มเติมนี้ ประกอยด้วยราคา 1 บาท 4บาท 10 บาท 20 บาท และ 80 บาท โดยฤชากรราคา 20 บาท ที่พิมพ์เพิ่มเป็นสองสีนั้น จะใช้เป็นสีเขียว ในการพิมพ์เช่นเดียวกับที่พิมพ์ในครั้งแรก แต่ในสีเขียวในตำแหน่งที่กล่าวถึงนั้น จะมีความเข้มกว่าการพิมพ์ครั้งแรก .....ฤชากรชุดแรกราคา บาท จะหายากกว่าราคา อัฐ และฤชากรที่พิมพ์เป็น สองสี จะหายากกว่าฤชากรชุด สีเดียว ซึ่งพิมพ์ครั้งแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2443 ฤชากรชุดแรกถูกนำมาแก้ราคา โดยมีการแก้ราคาเป็นสองแบบ คือ -เส้นเดียวขีดทับราคาเดิม -เส้นคู่ขีดทับราคาเดิม .....ในการแก้ราคาที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า มีบางราคาแก้เป็น 2 แบบ ทั้งแบบเส้นเดียวและเส้นคู่ขีดทับราคาเดิม โดยฤชากรที่ถูกแก้ราคาเป็น บาท ค่อนข้างหายาก แต่ฤชากรราคา อัฐ นั้น หายากมาก ซึ่งผู้เขียนเอง พยายามสอบถามนักสะสมหลายท่าน แต่ไม่มีใครให้คำตอบได้เลยว่าเป็นเพราะเหตุใด |
||||||
กลุ่มที่ 11 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม |
||||||