.........ภาคตะวันออกมีพื้นที่ไม่กว้างขวางนัก แต่เป็นภาคที่มีความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม การขนส่งทางทะเล และการท่องเที่ยว ปัจจุบัน รัฐบาลมีนโยบายพัฒนาชายฝั่งของภูมิภาคนี้ จึงทำให้มีนักลงทุนทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศเข้ามาประกอบการทางด้านต่างๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งยังให้เกิดประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพ ของประชากรทั้งในภาคนี้ และภูมิภาคข้างเคียงด้วย
|
ที่ตั้งสัมพันธ์
- ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์ นครราชสีมา นครนายก
- ทิศใต้ ติดต่อกับอ่าวไทย
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับประเทศกัมพูชา โดยมีเทือกเขาบรรทัดเป็นพรมแดน
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และอ่าวไทย
|
ลักษณะภูมิประเทศ
......... ภาคตะวันออกได้ชื่อว่ามีทิวทัศน์และชายหาดสวยงามแห่งหนึ่งของประเทศ หาดทรายที่สวยงาม และเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก คือ หาดพัทยา ลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันออก โดยทั่วไปจะแตกต่างจากภาคกลาง กล่าวคือ ประกอบด้วยเทือกเขาสูง ที่สูง เนินเขา และที่ราบซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่ราบลูกฟูก
.........ลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันออกแบ่งได้ดังนี้
- เขตที่ราบลูกระนาด และภูเขา ได้แก่บริเวณที่อยู่ถัดจากแม่น้ำบางปะกง เข้าไปทางตะวันออก และตะวันออกเฉียงใต้ ภูเขาที่สำคัญได้แก่ เขาเขียว เขาละเมา เทือกเขาจันทบุรี และเทือกเขาบรรทัด
- เขตที่ราบ ได้แก่ บริเวณที่ราบใหญ่ อยู่ทางตอนเหนือของภาค ต่อเนื่องกับที่ราบลุ่มเจ้าพระยาของภาคกลาง
- แม่น้ำ ที่สำคัญของภาคนี้ ได้แก่ แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำระยอง แม่น้ำจันทบุรี แม่น้ำตราด แม่น้ำประแส และแม่น้ำเวฬุ ซึ่งไหลลงสู่อ่าวไทย แม่น้ำในภาคตะวันออกส่วนมาก เป็นแม่น้ำสายสั้นๆ ซึ่งได้พัดพาเอาดินตะกอนมาทิ้งไว้ จนเกิดเป็นที่ราบแคบๆ ตามที่ลุ่ม
-
ลักษณะชายฝั่ง ภาคตะวันออกมีอาณาเขตส่วนหนึ่งติดต่อกับทะเล จึงทำให้มีลักษณะภูมิประเทศแตกต่างไปจากภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้
|
ลักษณะภูมิอากาศ ......... ภาคตะวันออกมีชายฝั่งทะเล และมีเทือกเขาเป็นแนวยาว เปิดรับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากอ่าวไทยอย่างเต็มที่ จึงทำให้ภาคนี้มีฝนตกชุกหนาแน่นบางพื้นที่ ได้แก่ พื้นที่รับลมด้านหน้าของเทือกเขา และชายฝั่งทะเล
..........อุณหภูมิของภาคตะวันออก จะมีค่าสม่ำเสมอตลอดทั้งปี และมีความชื้นค่อนข้างสูง จังหวัดจันทบุรี และตราดจะมีปริมาณฝนมากกว่าจังหวัดอื่นๆ ในภาคนี้
ลักษณะภูมิประเทศกับพรมแดนระหว่างประเทศ
..........ภาคตะวันออกเป็นภาคที่มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศกัมพูชา ในเขต 3 จังหวัดคือ จันทบุรี ตราด และสระแก้ว แนวพรมแดนด้านนี้มีสองลักษณะคือ พรมแดนตามธรรมชาติ เริ่มตั้งแต่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยที่แหลมสารพัดพิษ ขึ้นไปทางเหนือตามสันปันน้ำ เทือกเขาบรรทัด จนเข้าเขตจังหวัดสระแก้ว เส้นพรมแดนจะผ่านเข้าไปในเขตพื้นที่ราบ ดังนั้นเส้นพรมแดนจึงเป็นเส้นสมมุติขึ้นในแผนที่ แล้วลากเส้นตรง เชื่อมจุดต่างๆ ต่อกัน เรียกเส้นพรมแดนนี้ว่า พรมแดนแบบเลขาคณิต จะอยู่ในเขตจังหวัดสระแก้ว มีความยาวประมาณ 64 กิโลเมตร
|