Ran khaa ya
     
 
ภูมิศาสตร์กายภาพเป็นความรู้เรื่องสภาพ และการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ แวดล้อม ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยา ภูมิอากาศ และทรัพยากรธรรมชาติ
   

.........ภาคใต้ เป็นพื้นที่ตอนบนของคาบสมุทรมาลายู มีแนวเทือกเขาที่เป็นแหล่งทับถมของแร่ดีบุก และมีความสูงไม่มากนักเป็นแกนกลาง บริเวณชายฝั่งทะเลทั้งสองด้านของภาคใต้ เป็นที่ราบ มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น ฝั่งทะเลทางด่นตะวันออกซึ่งทีพื้นที่ราบกว้างขวาง มีประชากรอาศัยอยู่มาก และหนาแน่นกว่าทางด้านตะวันตก ภาคใต้เป็นภูมิภาคที่ได้รับอิทธิพลความชื้น จากทะเลทั้งสองด้าน มีฝนตกชุกตลอดปี และมีปริมาณฝนเฉลี่ยสูง เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชผลเมืองร้อน ที่ต้องการความชื้นสูง

ลักษณะทางกายภาพ
.........ภาคใต้มีเนื้อที่ทั้งหมด 70,715.20 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 13.64 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ประกอบด้วยพื้นที่ของ 14 จังวัด ได้แก่

  • ชุมพร
  • สุราษฎร์ธานี
  • นครศรีธรรมราช
  • พัทลุง
  • สงขลา
  • ปัตาตานี
  • ยะลา
  • นราธิวาส
  • ระนอง
  • พังงา
  • ภูเก็ต
  • กระบี่
  • ตรัง และ
  • สตูล

 

ที่ตั้งสัมพันธ์

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  • ทิศใต้ ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ่าวไทย
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับมหาสมุทรอินเดีย

........การที่ภาคใต้มีที่ตั้งสัมะันธ์ดังนี้ ทำให้ประชากรของภาคใต้ ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซีย เป็นผลให้ประชากรมีวัฒนธรรมทางภาษา และการติดต่อค้าขาย ตลอดทั้งการประกอบอาชีพ มีความคล้ายคลึงกัน เช่น การทำสวนยางพารา สวนปาล์ม น้ำมัน เป็นต้น

ลักษณะภูมิประเทศ
......... ภาคใต้มีลักษณะเป็นแหลมวางตัวในแนว เหนือ-ใต้ ยางประมาณ 750 กิโลเมตร กว้างประมาณ 30 -250 กิโลเมตร บริเวณที่แคบที่สุดของภาคใต้ คือ คอคอดกระ อยู่ในเขตจังหวัดระนอง และชุมพร
.........ภาคใต้ถูกขนาบด้วยทะเลถึง 2 ด้าน คือทะเลอันดามัน และอ่าวไทย
....

.........ภูมิประเทศที่สำคัญของภาคใต้แบ่งออกเป็น 2 เขต คือ

  • เขตภูเขา เทือกเขาที่สำคัญมี 3 แนวด้วยกันคือ เทือกเขาภูเก็ต เทือกเขานครศรีธรรมราช และเทือกเขาสันกาลาคีรี
  • เขตที่ราบ แบ่งเป็น 2 เขต คือ เขตที่รายชายฝั่งตะวันออก และเขตที่ราบชายฝั่งตะวันตก

ลักษณะภูมิอากาศ
......... การที่ภาคใต้ตั้งอยู่ในคาบมหาสมุทรแคบๆ ที่ถูกขนาบด้วยทะเลทั้งสองด้าน จึงทำให้ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมทั้งสองฤดู คือตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงต้นเดือนตุลาคม บริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก จะได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อย่างเต็มที่ ส่วนชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกจะได้รับน้อยกว่า ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือน กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกจะได้รับลมมรสุมอย่างหนัก เหตุนี้ภาคใต้จึงได้รับปริมาณน้ำฝนมากทั้งสองฤดู จึงเป็นภาคที่มีฝนตกตลอดทั้งปี ทำให้เหมาะแก่การปลูกพืชเมืองร้อน ที่ต้องการความชุ่มชื้นสูง เช่น ยางพารา ป่ล์มน้ำมัน เป็นต้น

ลักษณะภูมิประเทศกับพรมแดนระหว่างประเทศ
..........ภาคใต้มีพื้นที่พรมแดนติดต่อกับประเทศอื่น อยู่ 2 ประเทศคือ ประเทศมาเลเซีย และพม่า แนวพรมแดนของภาคใต้นี้ เป็นพรมแดนธรรมชาติที่อาศัย ร่องน้ำลึกของแม่น้ำ และสันปันน้ำของเทือกเขาต่างๆ คือ

  1. พรมแดนไทย-พม่า มีแม่น้ำปากจั่นเป็นพรมแดน
  2. พรมแดนไทย-มาเลเซีย เป็นแนวพรมแดนทางบก มีความยาว 576 กิโลเมตร โดยยึดเอาสันปันน้ำของเทือกเขาสันกาลาคีรี เป็นแนวยาว 481 กิโลเมตร และถือร่องน้ำลึกสุไหงโกลก ลงอีก 95 กิโลเมตร
หน้าแรก

SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน