ด้านการปกครอง
การปฏิรูปการปกครองประการแรกหลังจากทรงครองราชสมบัติด้วยพระองค์แล้ว คือ ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาขึ้น ๒ สภา ได้แก่ สภาที่ปรึกษาราชแผ่นดิน หรือ เรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า เคาน์ซิลออฟสเตต และสภาที่ปรึกษาในพระองค์ หรือ ปรีวีเคาน์ซิล เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๑๗ และวันที่ ๑๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๑๗ โดยทรงมีพระราชดำหริว่า
"
.ราชการผลประโยชน์บ้านเมืองสิ่งใดที่จะเกิดขึ้น แลการที่รกร้างมาแต่เดิมมากนั้น ถ้าจะทรงจัดการแต่พระองค์เดียวก็ไม่ใคร่จะสำเร็จไปได้ ถ้ามีผู้ช่วยกันคิดหลายปัญญาแล้ว การซึ่งรกร้างมาแต่เดิมก็จะปลดเปลื้องไปได้ทีละน้อยๆ ความดีความเจริญก็คงจะบังเกิดแก่บ้านเมือง
."
|
และทรงตั้งขุนนางระดับพระยา ๑๒ นาย เป็นที่ปรึกษาหรือ "เคาน์ซิลเลอร์" ทรงตั้งพระทัยให้สภาที่ปรึกษามีอำนาจขัดขวาง คัดค้าน พระราชดำหริใดๆที่จะทำให้ราษฎรเดือดร้อน และมีอำนาจตรวจตรากฎหมายและข้อราชการต่างๆ
ในส่วนการปฏิรูปการปกครองส่วนกลางนั้น ได้มีการทดลองตั้งหน่วยงานขึ้นมา ๑๒ กรม(กระทรวง) เมื่อ พุทธศักราช ๒๔๓๑ แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพอพระทัยในการทำงาน จึงมีการประกาศตั้งกระทรวงอย่างเป็นทางการ ๑๒ กระทรวง ในวันที่ ๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๓๕ ได้แก่
๑.กระทรวงมหาดไทย ๗. กระทรวงมรุธาธร
๒. กระทรวงนครบาล ๘. กระทรวงยุทธนาธิการ
๓. กระทรวงโยธาธิการ ๙. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
๔. กระทรวงธรรมการ ๑๐. กระทรวงว่าการต่างประเทศ
๕. กระทรวง "กระเษตรพานิชการ" ๑๑. กระทรวงกลาโหม
๖. กระทรวงยุติธรรม ๑๒. กระทรวงวัง