การสาธารณูปโภค
การตั้งธนาคารไทย ในปีพ.ศ.๒๔๔๗ เอกชนกลุ่มหนึ่งได้ร่วมมือกันริเริ่มกิจการธนาคาร เรียกว่า "บุคคลัภย์"(Book Club) เพื่อช่วยด้านการค้าและการเงิน และต่อมาในปีพ.ศ.๒๔๔๙ จึงได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต เพื่อก่อตั้งธนาคารแห่งแรกของคนไทย ได้รับพระราชทานชื่อว่า "บริษัท แบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด" ปัจจุบันคือ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีการจัดตั้ง "คลังออมสิน" และจัดตั้ง "สหกรณ์" ขึ้นเป็นครั้งแรก
การไฟฟ้า ในปีพ.ศ.๒๔๓๓ จมื่นไวยวรนาถเป็นผู้ริเริ่มการจำหน่ายกระแสไฟเพื่อใช้เป็นพลังงานแสงสว่าง ต่อมาได้โอนกิจการให้บริษัทอเมริกัน ชื่อแบงค้อค อีเลคตริคซิตี้ ซินดิเคท ในปีพ.ศ.๒๔๔๐ ในปีพ.ศ.๒๔๓๗ บริษัทเดนมาร์กได้ตั้ง
โรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ในการเดินรถรางที่บริษัทได้รับสัมปทานการเดิน
รถในพระนคร เมื่อเดือนพฤษภาคมต่อมาบริษัทนี้ได้รวมกับบริษัทของอเมริกัน
ที่รับช่วงงานจากจมื่นไวยฯ แล้วก่อตั้งเป็นบริษัทไฟฟ้าสยาม เมื่อปีพ.ศ.๒๔๔๔
การประปา ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๔๕๒ โปรดเกล้าฯให้ทำการกักเก็บน้ำที่คลองเชียงราก แขวงเมืองปทุมธานี และ
ขุดคลองประปาสำหรับส่งน้ำเข้ามาจนถึงคลองสามเสน พร้อมกับฝังท่อเอกและติดตั้งอุปกรณ์อื่นๆประกอบเป็นการประปาขึ้น เพื่อให้ราษฎรมีน้ำสะอาดใช้ซึ่งทำให้ไม่เกิดโรคระบาดทางน้ำ แต่ทำไม่ทัน ร.๖จึงสานต่อ
การรถไฟ ปีพ.ศ.๒๔๓๑ โปรดเกล้าฯให้มีการสำรวจพื้นที่เพื่อสร้างทางรถไฟ จากกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ (แต่ในระยะแรกสร้างแค่นครราชสีมา) โดยวางเส้นทางให้ผ่านแหล่งสำคัญๆแถบกลางประเทศ แล้วตัดแยกไปสู่เมืองสำคัญอันเป็นศูนย์กลางการค้า การสำรวจเสร็จสิ้นในปีพ.ศ.๒๔๓๔ในวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ.๒๔๓๔ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปขุดดินก่อพระฤกษ์ เริ่มสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมา
นับเป็น "รถไฟหลวงสายแรก" ของไทย วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๔๓๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินีนาถได้เสด็จไปทรงเปิดการเดินรถไฟหลวง สายกรุงเทพฯนครราชสีมาเป็นปฐมฤกษ์
สำหรับ รถไฟราษฎร์สายแรก คือ สายกรุงเทพฯ-ปากน้ำ ดำเนินงานโดยชาวเดนมาร์กคณะหนึ่ง เริ่มเปิดบริการเมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๓๖ ระยะทางประมาณ ๒๕ กม.
|