Ran khaa ya
 
 
       การแก้ไขประเพณีสืบราชสันตติวงศ์ ทรงแต่งตั้งตำแหน่ง "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาณ" ตามแบบอารยประเทศที่เรียกองค์รัชทายาทว่า "Crown Prince" และประกาศยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือตำแหน่งวังหน้า เพื่อให้ประเพณีการสืบราชบัลลังก์เป็นไปตามควรแก่กาลสมัย โดยได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ" เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรก ต่อมาเพื่อพระองค์เสด็จสวรรคตลงใน พ.ศ. ๒๔๓๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ สถาปนา "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ" ดำรงพระอิสริยยศสยามมกุฎราชกุมารสืบต่อไป (นับเป็นองค์ที่ ๒ สยามมกุฎราชกุมารองค์ที่ ๓ คือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน)ทรงเลิกระบบการมีทาสและระบบไพร่หรือการเกณฑ์แรงงานประชาชนมารับราชการโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนด้วยการออกฏหมายลักษณะเกณฑ์ทหารแทน ดังกล่าวรายละเอียดไว้แล้วข้างต้น

       ในด้านวัฒนธรรมการแต่งกาย เมื่อกลับจากการเสด็จประพาสสิงคโปร์ในปี พ.ศ. ๒๔๑๓ โปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงประเณีการไว้ผมและการแต่งกายของคนไทยให้เป็นไปตามสากลนิยม คือให้ผู้ชายไทยในราชสำนักเลิกไว้ผมทรงมหาดไทย เปลี่ยนเป็นไว้ผมตัดยาวทั้งศีรษะอย่างฝรั่ง ส่วนผู้หญิงให้เลิกไว้ผมปีก ไว้ผมตัดยาวทรงดอกกระทุ่ม
       ต่อมากเมื่อเสด็จประพาสอินเดียใน พ.ศ. ๒๔๑๔ โปรดเกล้าฯ ให้ช่างออกแบบเสื้อชายดัดแปลงจากเสื้อนอกของฝรั่ง เป็นเสื้อคอปิด กระดุมห้าเม็ด เรียกว่า "เสื้อราชปะแตน" (Raj Pattern ซึ่งเจ้าพระยาภาสกรวงศ์เป็นผู้คิดชื่อเรียกถวาย มาจากคำว่า "ราช" รวมกับคำว่า "Pattern" ในภาษาอังกฤษ) ผู้ชายยังคงนุ่งผ้าม่วงโจงกระเบนสีต่าง ๆ แต่ให้สวมหมวกอย่างยุโรป ใน พ.ศ. ๒๔๓๙ ให้ข้าราชการฝ่ายทหารทุกกรมกองแต่งเครื่องนุ่งกางเกงอย่างทหารญี่ปุ่นแทนการนุ่งโจงกระเบนแบบเก่า นับเป็นครั้งแรกที่ให้ผู้ชายนุ่งกางเกงเป็นเครื่องแบบทหาร

       การแต่งกายสตรีเริ่มเปลี่ยนแปลงในระยะหลังจากที่รัชการที่ ๕ เสด็จกลับจากยุโรปครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๔๐ สตรีไทยเริ่มหันมานิยมแบบเสื้อของอังกฤษ คือ เสื้อคอตั้งแขนยาว ต้นแขนพองคล้ายขาหมูแฮมแต่ยังคงมีผ้าห่มเป็นแพรคล้ายสไบเฉียง ส่วนการนุ่งผ้ายกห่มตาดซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายตามเกียรติยศของฝ่ายไทยที่มีมาแต่โบราณ ยังคงใช้สำหรับเวลาแต่งกายเต็มยศใหญ่
       การแต่งกายได้เปลี่ยนแปลงไปอีกในสมัยรัชกาลที่ ๖ และมีประกาศใช้พระราชบัญญัตินามสกุลการกำหนดคำนำหน้านามสตรีและเด็ก การใช้ธงประจำชาติ การเปลี่ยนแปลงการนับเวลา จาก "ทุ่ม" "โมง" โดยเปลี่ยนให้เรียกว่า "นาฬิกา" ฯลฯ
 
เว็บไซต์นี้ ดูให้สวยด้วย IE. เวอร์ชั่น 5.0 ขึ้นไป ความละเอียด 800x600 Text Size Medium
โครงการประกวด Website ระดับมัธยมศึกษาเทิดพระเกียรติ รัชกาลที่ 5 ของมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา
สร้างสรรค์โดยนักเรียนโรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อำเภอ เมือง จังหวัด นครสวรรค์
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน