Ran khaa ya
 
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
การศึกษา
การสื่อสาร
การเลิกทาส
การปกครอง
การปกป้องประเทศ
การเสด็จประพาส
การสาธารณูปโภค
การไปรษณีย์โทรเลข
    และโทรศัพท์
การโทรคมนาคมและ
   และการคมนาคม
การสาธารณสุข
การไฟฟ้า
การประปา
วันปิยะมหาราช
บทสรุป
พระราชประวัติ

      พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระปิยะมหาราช ดังที่ปรากฏอยู่ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้านั้น เราควรจะได้ทราบพระราชประวัติโดยสังเขปไว้ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในเนื้อหาและเพื่อได้ซาบซึ้งถึงพระองค์ท่านได้ดียิงขึ้น

      พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี มีพระขนิษฐาร่วมพระราชชนนีเป็นพระธิดา 1 องค์ เป็นพระโอรส 2 องค์ คือ 1.สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจันทรมณฑลโสภณควดี (กรมหลวงวิสุทธิ์กษัตริย์) 2.สมเด็จเจ้าฟ้าชายจาตุรนต์รัศมี (เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรพรรดิพงศ์) 3.สมเด็จเจ้าฟ้าภานุรังษีสว่างวงศ์ (จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภานุพันธ์วงศ์วรเดช) ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2396 ทรงพระนามเดิมว่า"สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์" เมื่อพระชนม์ได้ 9 พรรษา ได้รับสถาปนาเป็น"กรมหมื่นพิฆเนศวนรสุรสังกาศ" ต่อมาอีก 4 ปีได้เลื่อนเป็น"กรมขุนพินิตประชานาถ"   บรมราชาภิเษก 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2411 ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" เมื่อพระชนมายุได้เพียง 16 พรรษา แต่ยังมิได้ขึ้นครองราชย์ เพราะยังมิทรงบรรลุนิติภาวะ สมเด็จเจ้าฟ้พระบรมมหาศรีสุริยวงศ์ จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิรแทน พระอง์ได้มีโอกาสศึกษาศิลปวิทยาการต่างๆ วิชาวิศวกรรม วิชาการปกครอง และได้เสด็จประพาสต่างประเทศถึง 2 ครั้ง ได้ทรงนำวิทยาการต่างๆ มาดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสมกับสมัยยิ่งขึ้น เช่นให้ยกเลิกการตัดผมทรงมหาดไทย เลิกการหมอบคลานเข้าเฝ้าจัดให้มกระทรวงต่างๆ แบ่งงานปกครองรับผิดชอบและที่สำคัญที่สุดก็คือ  "ทรงเลิกทาส" และทรงยกเลิกการลงอาญาด้วยการทรมานเช่น การตอกเล็บ บีบขมับ เป็นต้น

      ได้เสด็จทรงผนวชเป็นภิกษุ เมื่อวันที่ 15 กันยยน พ.ศ. 2416 และลาผนวชเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2416 แล้วโปรดให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษก ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2416 แต่นั้นมาทรงรับผิดชอบการปกครองบ้านเมืองตลอดมาเมื่อพระชนมายุได้ 21 พรรษา มีพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้งสิ้น 77 พระองค์ สมเด็จพระราชินีทรงพระนามว่า สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ (พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี) คือ พระราชมารดาของรัชกาลที่ 6 ในเวลาต่อมา และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคมพ.ศ.2453 รวมครองราชย์ได้ 42 ปี มีพระชนมายุได้ 58 พรรษา นับเป็นพระมหากษัตริย์ที่เสวยราชสมบัตินานตั้งแต่มีมาของประเทศไทย แต่ในปัจจุบันนี้ รัชกาลที่ 9 เสวยราชสมบัตินานที่สุด
 

เว็บไซต์นี้ ดูให้สวยด้วย IE. เวอร์ชั่น 5.0 ขึ้นไป ความละเอียด 800 X 600 Text Size Medium
โครงการประกวดเว็บไซต์เทิดพระเกียรติ " พ่อหลวงปิยมหาราช " ของมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา
สร้างสรรค์โดยนักเรียนโรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อำเภอ เมือง จังหวัด นครสวรรค์
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน