|
|
|
|
การศึกษา
ในสมัยก่อน การศึกษาของไทยอยู่ตามบ้าน วัด และวัง การศึกษา ในบ้าน มักจะเป็นการฝึกฝนวิชาชีพ ความรู้สำหรับตระกูล ผู้หญิงก็เรียนวิชาซึ่งเตรียมตัวจะเป็นแม่บ้านแม่เรือน ในวัด ซึ่งเป็นสถานศึกษาสำหรับชายก็ไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญในวิชาหนังสือมากนัก เน้นหนักในทางจริยธรรมและภาษาบาลีเพื่อการบวชเรียนต่อไป ส่วนการศึกษา ในวัง มีการสอนวิชาหนังสือสูงกว่า แต่ก็อยู่ในวงจำกัดเฉพาะพระราชวงศ์และข้าราชการในราชสำนัก ในรัชการพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้มีการสอนภาษาอังกฤษในราชสำนักเพราะทรงเห็นว่าเป็นระยะเวลาที่ประเทศตะวันตกกำลังล่าอาณานิคม จึงจำเป็นต้องเรียนรู้วิทยาการและเข้าใจความคิดอ่านของชาวตะวันตก และปรับปรุงประเทศไทย ให้ทัดเทียมอารยประเทศ ภาษาอังกฤษจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้เข้าจึงจุดประสงค์นั้นได้
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบสันตติวงศ์ต่อมา ก็ทรงมีความเห็นเช่นเดียวกับพระบรมชนกนาถ ในการที่จะรับสถานการณ์การคุกคามของจักรวรรดินิยมด้วยการปรับปรุงระบบบริหารราชการ เพื่อพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าเทียมทันอารยประเทศ ซึ่งต้องการผู้ที่รู้วิทยาการสมัยใหม่ มารับราชการ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้มีการศึกษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พระองค์จึงทรงทดลองตั้งโรงเรียนสอนภาษาไทยและภาษาอังกฤษขึ้นในพระบรมมหาราชวังเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔ ชื่อว่า โรงเรียนราชกุมาร เป็นสถานศึกษาสำหรับพระราชวงศ์และได้ตั้งโรงเรียนวังนันทอุทยาน หรือสวนอนันต์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๑ และโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๔ ประกาศเชิญชวนบุตรหลานข้าราชการเข้าศึกษาเล่าเรียนการที่ให้มีการสอนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤา ด้วยทรงมุ่งหมายให้ภาษาอังกฤษเป็นกุญแจไขความรู้ในเรื่องวิทยาการตะวันตก ให้ภาษาไทยเป็นสื่อนำความรู้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองสมความมุ่งหมาย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัวทรงตั้งโรงเรียนครั้งนี้เป็นการทดลองประสบการณ์ที่จะผลิตผู้มีความรู้มารับราชการในระบบบริหารแบบใหม่ และผลิตบุคลกรที่จะขยายการศึกษาใหม่ออกมานอกพระบรมมหาราชวัง พระองค์ก็ได้ส่งพระราชโอรสไปศึกษาวิชา ชั้นสูงต่อ ณ ประเทศในยุโรปหลังจากการสำเร็จการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนราชกุมาร เพื่อจะได้เสด็จกลับมาช่วยราชการในด้านต่าง ๆ พระราชโอรสแต่ละพระองค์ที่ทรงรับพระราชภาระในการบริหารราชการแผ่นดินสืบต่อมาได้มีผลงานอันเป็นประโยชน์ใหญ่หลวงแก่บ้านเมือง ประเทศไทยรุ่งเรืองเป็นประเทศด้วยจุดประสงค์เดียวกัน และได้ขยายวงมาถึงราษฎรสามัญด้วยวิธีการคัดเลือก พระองค์ได้ทรงเริ่มแผนการศึกษา "ทุนเล่าเรียนหลวง เป็นครั้งแรก"
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นการณ์ไกลว่า บ้านเมืองจะเจริญทัดเทียมอารยประเทศได้นั้น จะมีเพียงแต่ผู้มีความรู้ชั้นสูงเท่านั้นหาได้ไม่ ราษฎรทั่วไปต้องได้มีความรู้ทางหนังสือ วิชาหนังสือเป็นสิ่งสำคัญที่จะพาผู้วิชาไปสู่ความเจริญส่วนตัว และยังเป็นต้นเค้าของความเจริญของราชการบ้านเมือง แม้แต่ทาสที่จะปลดปล่อยก็ยังทรงห่วงใยที่จะให้มีวิชาหนังสือติดตัวไป พระองค์ทรงเปลี่ยนระบบการศึกษาจากระบบเดิมมาสู่ระบบตะวันตกคือ ตั้งโรงเรียนหลวงเพื่อขยายวงการศึกษาขั้นมูลฐานไปสู่ทวยราษฎรสมดังพระราชปณิธานอันแน่วแน่ที่เคยมีพระราชดำรัสเมื่อทรงเปิดโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ปี พ.ศ. ๒๔๒๗ ตอนหนึ่งว่า "
เจ้านายราชตระกูลตั้งแต่ลูกฉันเป็นต้นลงไปตลอดจนถึงราษฎรที่ต่ำสุด จะให้ได้มีโอกาสเล่าเรียนได้เสมอกันไม่ว่าเจ้า ว่าขุนนาง
หน้าถัดไป>>>
|
|
|