Ran khaa ya
 
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
การศึกษา
การสื่อสาร
การเลิกทาส
การปกครอง
การปกป้องประเทศ
การเสด็จประพาส
การสาธารณูปโภค
การไปรษณีย์โทรเลข
    และโทรศัพท์
การโทรคมนาคมและ
   และการคมนาคม
การสาธารณสุข
การไฟฟ้า
การประปา
วันปิยะมหาราช
บทสรุป
การเลิกทาส

ความเป็นมาของประเพณีทาส

      เรื่องของทาสมิใช่มีเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ทาสมีอยู่ในเกือบทุกประเทศประเพณีทาสมีมาแต่สมัยดึกดำยรรพ์นับพันปีมาแล้ว คำว่าทาสเป็นภาษาบาลีและสันสกฤตภาษาไทยเรียกว่าข้า เจ้าของทาสเรียกว่าเจ้าข้า ประเพณีทาสเกิดจากการที่คนสมัยก่อนทำศึกสงครามต่อกัน ฝ่ายที่มีชัยย่อมถืออำนาจกดขี่เชลยให้เป็นข้ารับใช้การงานไปจนตลอดชีวิต ทาสจำพวกนี้เรียกว่าทาสเชลย แต่ต่อมามีทาสประเภทอื่นๆ เพิ่มขึ้นอีกคือ ทาสที่เจ้าของซื้อมาจากเจ้าของเดิม บุตรที่เกิดขึ้นแก่บิดามารดาผู้เป็นทาสแห่งเจ้าเดียวกัน ทาสเจ้าของใหม่ได้รับจากเจ้าของเดิมเป็นของขวัญ ผู้ที่ถูกปรับแล้วมีผู้อื่นเสียค่าปรับแทนก็เลยต้องเป็นทาสของเขา ผู้ซึ่งได้รับอุปการะในสมัยข้าวแพงและเด็กๆ ลูกผู้ที่เล่นการพนันในบ่อนแล้วไม่มีเงิน จะใช้เมื่อเสียมากๆ ทรงเลิกทาส

      ระบบทาสถือเป็นสถาบันที่มีกฎหมายคุ้มครองมาตั้งแต่ครั้งอยุธยาระบบนีดได้แทรกซึมเข้าไปในวิถีชีวิตของทุกคนในสังคมในสมัยรัตนโกสินทร์ สภาพความเป็นทาสได้บรรเทาความแยกแค้นลำเค็ญจนส่งผลให้มีปริมาณทาสเพิ่มมากขึ้น กฎหมายทาสแต่โบราณได้จำแนกทาสออกเป็น ๗ ประการ ตามลักษณะของการตกเป็นทาส ประเภทที่ ๗ คือทาสเชลย ในแง่ของการไถ่ทอนทาสนั้น ทาสสที่ไม่ใช้ทาสเชลยจะมีแบบที่สามารถไถ่ถอนตัวเองได้และไถถถถ่ถอนไม่ได้ พวกนี้จะเป็นทาสสินไถ่ ดังนั้นระบบทาสซึ่งมีมาช้านานในสังคมไทยได้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับประโยชน์ส่วนตัวของทั้งข้าราชการแลพลเมืองทั่วประเทศ การยกเลิกทาสจึงเท่ากับการสร้างความขัดแย้งกับบรรดาเจ้าของทาสหรือนายทาส ด้วยพระปรีชาญานและสายพระเนตรอันกว้างไกลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงดำเนินการเรื่องนี้ด้วยความสุขุมคัมภีรภาพเพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าการใช้กำลังและความรุนแรงพระองค์ทรงเลือกใช้วิธีการที่ละมุนละม่อมโดยทรงปลดปล่อยทาสอย่างมีขั้นตอนค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งกินเวลาหลายสิบปี

      โดยขั้นแรกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศใช้พระราชบัญยัติพิกัดอายุเกษียณอายุลูกทาสไทยในพระพุทธศักราย ๒๔๑๗ โดยลดอัตราการไถ่ถอนลูกทาสที่เกิดใชช่วงรัชสมัยของพระองค์ให้พ้นการเป็นทาสไม่เกิน ๒๐ ปี ซึ่งหลังจากนั้นแล้วบรรดาลูกทาสดังกล่าวจะได้รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระดังนั้นจึงเป็นการลดจำนวนทาสลงอย่างมากโดยไม่มีผลกระทบต่อนายทาส จนเกินไป ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติตามมาอีก ๒ ฉบับ ในพระพุทธศักราช ๒๔๔๓ และ ๒๔๔๗ การยกเลิกทาสได้กระทำเสร็จตามสมบูรณ์โดยการออกกฎหมายอีกฉบับหนึ่งในพระพุทธศักราช ๒๔๔๘ ในที่สุดได้มีประกาศใช้ประมวลกฎหมายลักษณะอาญาฉบับใหม่ในพระพุทธศักราช ๒๔๕๑ ซึ่งกำหนดบทลงโทษ ๗ ปี สำหรับการซื้อขายคนเป็นทาส
 

เว็บไซต์นี้ ดูให้สวยด้วย IE. เวอร์ชั่น 5.0 ขึ้นไป ความละเอียด 800 X 600 Text Size Medium
โครงการประกวดเว็บไซต์เทิดพระเกียรติ " พ่อหลวงปิยมหาราช " ของมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา
สร้างสรรค์โดยนักเรียนโรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อำเภอ เมือง จังหวัด นครสวรรค์
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน