Ran khaa ya
 
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
การศึกษา
การสื่อสาร
การเลิกทาส
การปกครอง
การปกป้องประเทศ
การเสด็จประพาส
การสาธารณูปโภค
การไปรษณีย์โทรเลข
    และโทรศัพท์
การโทรคมนาคมและ
   และการคมนาคม
การสาธารณสุข
การไฟฟ้า
การประปา
วันปิยะมหาราช
บทสรุป

การปกครอง

     การปกครองในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยส่วนใหญ่ได้ยึดระเบียบแบบแผนต่างๆมาจากกรุงศรีอยุธยา แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงบ้างก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เสด็จประพาสเพื่อนบ้าน เช่น สิงคโปร์ อินเดียและชวา เป็นต้น ทรงเห็นว่าการปกครองในประเทศเพื่อนบ้านมีระเบียบแบบแผนเป็นที่น่านิยม ควรจะนำมาปรับปรุงใช้ในการปกครองประเทศไทยบ้าง อันจะส่งผลให้บ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคตและเพื่อให้เกิดความเหมาะสม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราระเบียบการปกครองขึ้นใหม่ แยกหน่วยราชการออกเป็นกรมกองต่างๆ มีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะโดยไม่ละเมิดหน้าที่กัน


      ในปี พ.ศ.๒๔๓๑พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนแปลงแบบแผนการปกครองจากเดิมที่ยึดการบริหารจากเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ เมื่อบ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้าขึ้น การปกครองจึงมีความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้เหมาะสมกับกาลสมัย โดยมอบหมายงานให้ละเอียดมากขึ้นด้วยการเพิ่มกรมต่างๆ ให้มากถึง ๑๒ กรม
   ๑.กรมมหาดไทย มีหน้าที่ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองลาวซึ่งเป็นประเทศราช
   ๒.กรมพระกลาโหม มีหน้าที่ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองปักษ์ใต้ ฝ่ายตะวันออกและตะวันตกและเมืองมลายู
การที่ให้กรมทั้งสองบังคับหัวเมืองคนละด้านนั้น เพื่อเป็นการง่ายต่อการควบคุมดูแลพื้นที่นั้นๆให้ได้ผลเต็มที่
   ๓.กรมท่า มีหน้าที่ดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ เนื่องด้วยขณะนั้นในประเทศไทยมีการติดต่อด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ทางด้านการค้าขาย หรือการเจริญสัมพันธไมตรีทางฑูต
   ๔.กรมวัง มีหน้าที่ดูแลรักษาการต่างๆ ในพระบรมมหาราชวัง
   ๕.กรมเมือง มีหน้าที่ดูแลรักษากฎหมายอาญา ที่เกี่ยวกับผู้กระทำผิด กรมนี้มีโปลิศหรือตำรวจทำหน้าที่ในการดูแลรักษาความสงบและจับกุมผู้กระทำผิดมาลงโทษ
   ๖.กรมนา มีหน้าที่คล้ายคลึงกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปัจจุบัน คือ มีหน้าที่ในการดูแลควบคุมการเพาะปลูก ค้าขาย ป่าไม้ เพราะเมืองไทยเป็นเมืองเกษตรกรรม
ทั้ง ๖ กรมนี้ เป็นกรมที่มีอยู่แต่เดิม แต่ทรงเปลี่ยนแปลงข้อปลีกย่อยในการบริหารงานให้ชัดเจนขึ้นของแต่ละกรม
   ๗.กรมพระคลัง มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการเก็บภาษีรายได้จากประชาชน และนำมาบริหารใช้ในงานด้านต่างๆ
   ๘.กรมยุติธรรม มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับคดีความที่ต้องตัดสินคดีต่างๆ ที่เป็นทั้งคดีอาญา คดีแพ่ง และควบคุมดูแลศาลอาญา ศาลแพ่งและศาลอุทธรณ์ ทั่วทั้งแผ่นดิน
   ๙.กรมยุทธนาธิการ มีหน้าที่ตรวจตรารักษาการในกรมทหารบก ทหารเรือและควบคุมดูแลส่วนที่เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับทหาร
   ๑๐.กรมธรรมการ มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับกิจการของพระสงฆ์ คือ หน้าที่ในการสั่งสอนอบรมพระสงฆ์ สอนหนังสอให้กับประชาชนทั่วไป
   ๑๑.กรมโยธาธิการ มีหน้าที่ดูแลตรวจตราการก่อสร้าง การทำถนน ขุดลอกคูคลองและงานช่างที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างทั้งการไปรษณีย์และโทรเลข เป็นต้น แม้แต่การสร้างทางรถไฟ
   ๑๒.กรมมุรธธิการ มีหน้าที่ดูแลรักษาพระราชสัญจกร รักษาพระราชกำหนดกฎหมาย และหนังสือที่เกี่ยวข้องกับงานราชการทั้งหมด

การศาลและกฎหมาย

     ทรงปรับปรุงการศาลและกฎหมายแบบอย่างต่างประเทศทางตะวันตกตามข้อที่ทรงเห็นควรรีบปรับปรุง เพื่อความเที่ยงธรรมแก่ราษฎร และความเจริญของบ้านเมืองให้เป็นที่เชื่อถือของชาต่างประเทศ ในด้านกฎหมายและการพิพากษาคดีของศาลไทย ในระยะตั้งแต่รัชกาลที่ ๓ ของกรุงเทพฯ มาแล้ว ฝรั่งทางยุโรปได้มามีเมืองขึ้นทางตะวันออกหลายแห่งดังกล่าวมาแล้วเขาไม่เชื่อกฎหมายของเราชาวตะวันออก จึงไม่ยอมให้คนของเขาขึ้นศาลไทยเมื่อเกิดคดีพิพาทใด ๆ เขาให้กงสุลคือ ฝรั่งผู้แทนของเขาในเมืองไทยเป็นผู้พิพากษาคดีเองโดยใช้กฎหมายบ้านเมืองของเขา แม้คนไทยมีเรื่องกับคนของเขา เขาก็ให้มาขึ้นศาลกงสุล ปรากฏว่ามีชาวจีน ชาวญวน ชาวแขกและชาติอื่น ๆ เป็นต้น ต่างพากันไปขอขึ้นทะเบียนเป็นคนในบังคับฝรั่งเพื่อไม่ต้องขึ้นศาลไทยเวลามีคดีกับใคร

     หน้าที่กระทรวงยุติธรรมคือ ปรับปรุงการศาล ตั้งศาลในกรุงและศาลหัวเมืองซึ่งตั้งอยู่ในมณฑลต่าง ๆ มีผู้พิพากษาพิจารณาคดี และมีศาลฎีกา คือ ศาลสูงสุดในกรุงเทพฯ หากราษฎรคนใดคิดว่าศาลชั้นต้นตัดสินไม่เที่ยงธรรมพอ ก็ร้องต่อศาลฎีกาต่อไปได้พระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นผู้ตัดสินขั้นศาลฎีกา เราเคยมีธรรมเนียมตีกลองร้องฎีกาคือใครมีทุกข์ร้อนสาหัสเรื่องคดีพิพาท ก็ถือฎีกามาถวายในหลวงโดยตีกลองที่ตั้งอยู่ในกำแพงวัง พระมหากษัตริย์ก็ให้คนออกมารับฎีกา มีคณะลูกขุน ณ ศาลหลวงในวังหลวงพิจารณาคดีถวายให้ทรงตัดสิน ครั้งสุโขทัยก็มีมาแล้วแต่เรียกว่า "สั่นกระดิ่ง " ที่ประตูวังร้องทุกข์ต่อพ่อขุนรามคำแหง
     โปรดให้เลิกการลงโทษทรมานผู้ร้ายให้เจ็บปวด โทษจารีตนครบาล คือ การตอกเล็บ บีบขมับ หรือเอาผู้ร้ายใส่ตะกร้ายักษ์ให้ข้างเตะกลิ้งไปกลิ้งมาหรือการให้คุมผู้ร้ายเดินประจานทั่วเมือง เพราะทรงเห็นว่าทารุณมาก เป็นการแสดงความป่าเถื่อนต่อมนุษย์ด้วยกัน

 

เว็บไซต์นี้ ดูให้สวยด้วย IE. เวอร์ชั่น 5.0 ขึ้นไป ความละเอียด 800 X 600 Text Size Medium
โครงการประกวดเว็บไซต์เทิดพระเกียรติ " พ่อหลวงปิยมหาราช " ของมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา
สร้างสรรค์โดยนักเรียนโรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อำเภอ เมือง จังหวัด นครสวรรค์
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน