Ran khaa ya
 
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
การศึกษา
การสื่อสาร
การเลิกทาส
การปกครอง
การปกป้องประเทศ
การเสด็จประพาส
การสาธารณูปโภค
การไปรษณีย์โทรเลข
    และโทรศัพท์
การโทรคมนาคมและ
   และการคมนาคม
การสาธารณสุข
การไฟฟ้า
การประปา
วันปิยะมหาราช
บทสรุป
การไปรษณีย์ การโทรเลขและการโทรศัพท์

     ประเทศไทยได้สมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกภาคีสหภาพสากลไปรษณีย์เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๘ เพื่อนำวิทยาการทางการสื่อสารเข้ามาใช้ปรับปรุงแก้ไขการสื่อสารทางไปรษณีย์ ที่มีการก่อตั้งมาก่อนหน้านี้มาได้ ๒ ปีแล้ว โดยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทอดพระเนตรเห็นความสำคัญของการสื่อสารทางไปรษณีย์ โดยใช้จังหวัดนครปฐมเป็นที่เริ่มต้นการไปรษณีย์เป็นครั้งแรกของเมืองไทย จนการไปรษณีย์ได้ดำเนินมาจนทุกวันนี้

     เมื่อการไปรษณีย์เปิดดำเนินการแล้ว สิ่งที่ตามมาก็คือ การโทรเลข การโทรเลขทำการทดลองใช้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๒ โดยให้วิศวกรชาวอังกฤษ ๒ นาย ช่วยกันประกอบขึ้นมา แต่ว่าการทำงานของท่านทั้งสองไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ เนื่องมาจากเมืองไทยในขณะนั้นยังมีป่าไม้อยู่เป็นจำนวนมาก การสื่อสารทางโทรเลขสมัยนั้นจึงยังไม่เป็นผลสำเร็จ ต่อจากนั้นทางกระทรวงกลาโหมจึงได้รับงานนี้มาทำเองซึ่งต้องใช้เวลานานถึง ๖ ปี โทรเลขสายแรกจึงสัมฤทธิ์ผลเปิดดำเนินการได้ โดยส่งสายระหว่างกรุงเทพฯกับสมุทรปราการ ด้วยระยะทาง ๔๕ กิโลเมตร พร้อมกันนี้ยังวางท่อสายเคเบิลไปถึงประภาคารที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา สำหรับบอกร่องน้ำเมื่อเรือเดินทางเข้าออก

     ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๒๑ โปรดเกล้าฯ ให้ขยายงานโทรเลขข้นอีกสายหนึ่ง คือ สายกรุงเทพฯ-บา
ประอิน เมื่อสร้างเสร็จแล้วเปิดดำเนินการได้ ไม่นานก็ทรงโปรดให้สร้างต่อจนถึงพระนครศรีอยุธยา เมื่อความเจริญทางโทรเลขมีมากขึ้นตามลำดับ ทรงโปรดให้ขยายเส้นทางออกไปโดยไม่สิ้นสุดอีกหลายสาย และทรงโปรดเกล้าฯให้การไปรษณีย์และโทรเลขรวมเข้าด้วยกัน เรียกว่า กรมไปรษณีย์โทรเลข นับตั้งแต่บัดนั้นมา

     เมื่อมีความเจริญทางไปรษณีย์และโทรเลขมากขึ้น การโทรศัพท์ก็ได้เริ่มขึ้น โดยกระทรวงกลาโหมยังเป็นผู้ดำเนินการต่อไป โดยกระทรวงกลาโหมได้นำวิทยาการสมัยใหม่ ที่เรียกว่า โทรศัพท์ เข้ามาทดลองใช้ในปี พ.ศ.๒๔๒๔ โดยการติดตั้งทดลองใช้เป็นครั้งแรก ตั้งแต่กรุงเทพฯถึงเมืองสมุทรปราการใช้เวลาในการก่อสร้างนาน ๓ ปี ก็เป็นอันสำเร็จ ในปี พ.ศ.๒๔๒๙ พร้อมเปิดให้ประชาชนได้ใช้ทั่วกันจนกระทั่งทุกวันนี้การสื่อสารแห่งประเทศไทยก็ได้ก้าวหน้าด้วยวิทยาการที่เริ่มต้นขึ้นจากสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจริญมาจนทุกวันนี้
 

เว็บไซต์นี้ ดูให้สวยด้วย IE. เวอร์ชั่น 5.0 ขึ้นไป ความละเอียด 800 X 600 Text Size Medium
โครงการประกวดเว็บไซต์เทิดพระเกียรติ " พ่อหลวงปิยมหาราช " ของมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา
สร้างสรรค์โดยนักเรียนโรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อำเภอ เมือง จังหวัด นครสวรรค์
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน