Ran khaa ya
 
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
การศึกษา
การสื่อสาร
การเลิกทาส
การปกครอง
การปกป้องประเทศ
การเสด็จประพาส
การสาธารณูปโภค
การไปรษณีย์โทรเลข
    และโทรศัพท์
การโทรคมนาคมและ
   และการคมนาคม
การสาธารณสุข
การไฟฟ้า
การประปา
วันปิยะมหาราช
บทสรุป
การโทรคมนาคม

     ในรัชกาลที่ ๕ เกี่ยวกับการคมนาคม ได้มีการขุดคลองและสร้างถนนมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลอง สร้างถนนสร้างสะพานเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกันกับการขยายตัวกับบ้านเมือง ถนนสะพานที่ส้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ เช่น ถนนราชดำเนิน ถนนเยาวราช ถนนจักรพงษ์ ถนนมหาชัย สะพานผ่านพิภพลีลา และสะพานเฉลิมต่างๆ ต่อมาได้มีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาคือ สะพานพระราม ๖ สร้างในรัชกาลที่ ๖ - ๗ และสะพานพระพุทธยอดฟ้า ซึ่งสร้างในรัชกาลที่ ๗ กับสะพานที่สำคัญๆ อีกหลายสะพานที่สร้างในรัชกาลที่ ๙ ในด้านยวดยานพาหนะซึ่งเดิมใช้รถลาก ก็ให้โปรดเกล้าฯ ให้นำเอารถมาแบบยุโรบและรถยนต์ที่เรียนกันในสมัยนั้นว่า"ออโตโมบิล" มาวิ่งบนถนนพร้อมกับการเปิดถนนสายการเดิน "รถราง" ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยด้วยเช่นเดียวกัน
สำหรับคลองที่โปรดเกล้าฯให้ขุดในรัชกาลนี้ได้แก่ คลองสวัสดิ์เปรม คลองนครเนื่องเขตร คลองประเวศน์และคลองเฉลิมกรุง คลองแยกอีก ๔ คลอง

การรถไฟของประเทศไทย

        ได้อุบัติขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ ๒๔๓๓ โดยมีชาวต่างชาติคณะหนึ่งได้ร่วมคิดกันตั้งลงทุนบริษัทขึ้น ขอรับ อนุญาติจากรัฐบาล สร้างทางรถไฟตั้งแต่กรุงเทะมหานครไปยังจังหวัดสมุทปราการ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้เสด็จทรงแซะเป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม และเสด็จทรงเปิดเมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๖ สายรถไฟนี้เรียกว่า รถไฟสายปากน้ำ สถานีที่กรุงเทพฯ ตั้งอยู้ที่ตำบลหัวลำโพงนอก ถนนพระราม ๔ นับว่าเป็นครั้งแรกที่รถไฟเกิดขึ้นที่เมืองไทย

         ส่วนการรถไฟของรัฐบาลก็ได้เริ่มมาแต่ปี พ.ศ. ๒๔๓๓ เช่นเดียวกัน คือเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๓ ได้ทรงโปรด ฯ ให้ประกาศสร้างงรถไฟแต่กรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดนครราชสีมา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้ทรงตระหนักพระราชหฤทัยว่า การรถไฟจะนำความเจริญรุ่งเรื่องมาสู่ประเทศชาติบ้านเมือง และประชาชนได้อย่างแน่แท้ เพราะจะทำให้การคมนาคม
เป็นการขยายประชุมชนให้ไพศาลยิ่งขึ้น และเศษญกิจการค้าขายของบ้านเมืองก็จะเจริญตามส่วน เมื่อได้ทรงจัดสร้างทางรถไฟระหว่างกรุงเทพฯ กับนครราชสีมาและมุ่งหมายมาย
จะสร้างทางรถไฟไปทางภาคเหนือแล้ว จึงโปรดฯให้จัดสร้างทางสายใต้ซึ่งจะผ่านไปยังมณฑลภาคใต้ขึ้นอีก ได้ประกาศซื้อที่ดินสร้างทาง รถไฟสายเพรชบุรีเมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๒ การสร้างแต่กรงเทพฯ
ถึงเพชรบุรีได้สำเร็จลงเมื่อพ.ศ. ๒๔๔๖ ในปีพ.ศ. ๒๔๔๘ ได้ทรงโปรดฯให้จัดส้างรถไฟขึ้นอีกสายหนึ่งจากกรุงเทพฯไปยังจังหวัด ไปยังจังหวัดฉะเชิงเทรา เรียกว่าสายตะวันออก การก่อสร้างได้สำเร็จ และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯได้เสด็จทรงเปิดเมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๐
 

เว็บไซต์นี้ ดูให้สวยด้วย IE. เวอร์ชั่น 5.0 ขึ้นไป ความละเอียด 800 X 600 Text Size Medium
โครงการประกวดเว็บไซต์เทิดพระเกียรติ " พ่อหลวงปิยมหาราช " ของมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา
สร้างสรรค์โดยนักเรียนโรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อำเภอ เมือง จังหวัด นครสวรรค์
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน