Ran khaa ya
 
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
การศึกษา
การสื่อสาร
การเลิกทาส
การปกครอง
การปกป้องประเทศ
การเสด็จประพาส
การสาธารณูปโภค
การไปรษณีย์โทรเลข
    และโทรศัพท์
การโทรคมนาคมและ
   และการคมนาคม
การสาธารณสุข
การไฟฟ้า
การประปา
วันปิยะมหาราช
บทสรุป
วันปิยะมหาราช

     วันปิยะมหาราช ตรงกับวันที่ ๒๓ ตุลาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเสด็จสวรรคตของพระองค์ เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๓ รวมพระชนมายุได้ ๕๘ พรรษา

กิจกรรมในวันปิยะมหาราช

1. ทำบุญตักบาตรเพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
2. วางพวงมาลาสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์
3. จัดนิทรรศการเผยแพร่พระประวัติ และพระราชกรณียกิจ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เป็นที่แพร่หลายมากขึ้น

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า

     การสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์  
     พระบรมราชานุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า ประดิษฐาน ณ หน้าพระลานพระราชวังดุสิตแขวงจิตรดา เขตดุสิต ระหว่างพระราชวังสวนอัมพรกับบสนามเสือป่า ทางทิศตะวันออกของพระที่นั่งอนันตสมาคม หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ พระองค์ใหญ่กว่าขนาดจริงเล็กน้อย เป็นพระบรมรูปขณะเสด็จประทับอยู่บนม้าพระที่นั่งซึ่งยืนอยู่บนแผ่นโลหะสัมฤทธิ์ (สำริด)ประดิษฐานบนแท่นหินอ่อนสูง6เมตร กว้าง2เมตร ยาว5เมตร ห่างจากฐานของแท่นออกมา

มีรั้วเตี้ยๆลักษณะเป็นสายโซ่ขึงระหว่างเสาล้อมรอบกว้าง9เมตร ยาว11เมตรที่แท่นด้านหน้ามีคำจารึกบนแผ่นโลหะติดประดับสรรญเสริญว่า
คำจารึกฐานองค์พระบรมรูปทรงม้า
ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนากาลล่วงแล้ว 2451พรรษา
จำเดิมแต่พระมหาจักรีบรมราชวงศ์ ได้ประดิษฐาน แลดำรง
กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทราอยุธยา
เป็นปีที่ 127 โดยนิยม
      พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพ มหามงกุฎ บุรุศยรัตนราชวริวงษ์วรุตมพงษ์บริพัตรวรขัตติยราชนิกโรดมจาตุรันต บรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศบรมธรรมมิกมหาราชธิราชบรมนารถบพิตร
      พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จดำรงราชสมบัติมาถ้วนถึง 40ปีเต็มบริบูรณ์ เป็นรัชสมัยที่ยืนนานยิ่งกว่าสมเด็จพระมหาราชาธิราชแห่งสยามประเทศในอดีตกาล
      พระองค์กอปรด้วยพระราชกฤษฎาถินิหาร เป็นอัจฉริยภูบาลบรมบพิตร เสด็จสถิตย์ในสัจธรรมอันมั่นคงมิหวั่นไหว ทรงอธิษฐานพระราชหฤทัยในทางที่จะทำนุบำรุงพระราชอาณาจักรให้สถิตย์สถาพรแลให้เกิดความสามัคคีสโมสร เจริญสุขสำราญทั่วไปในเอนกนิกรประชาชาติเป็นเบื้องหน้า แห่งพระราชจรรยาทรงพระสุขุมปรีชา สามารถสอดส่องวินิจฉัยในคุณโทษแห่งประเพณีเมือง ทรงปลดเปลื้องโทษ นำประโยชน์มาบัญญัติโดยปฏิบัติพระองค์ทรงนำหน้าชักจูง ประชาชนให้ดำเนินตามในทางที่งามดี มีประดยชน์เป็นแก่นสารพระทรงทำให้ความสุขสำราญแห่งประชาราษฎร์สำเร็จได้ ด้วยอาศัยดำเนินอยุ่เนืองนิจในวิริยพระขันติคุณอันแรงกล้า ทรงอาจหารในพระราชจรรยา มิได้ย่อท้อต่อความลำบากยากเข็ญ มิได้เห็นที่ขัดข้องอันเป็นข้อควรขยาดแม้ประโยชน์ แลความสุขในส่วนพระองค์ก็อาจจะสละแลกความสำราญพระราชทานไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินได้โดยทรงพระกรุณาปราณี       พระองค์คือบุรพการีของราษฎร เพราะเหตุเหล่านี้แผ่นดินของพระองค์ จึงยงยิ่งด้วยความสถาพรรุ่งเรืองงาม มหาชนสยามถึงความสุขเกษมล่วงล้ำอดีตสมัยที่ได้ผ่านมา
พระองค์จึงเป็นปิยมหาราชที่รักของมหาชนทั่วไป ครั้นบรรลุอภิลักขิตสมัย รัชมงคล อภิเษกสัมพัจฉรกาล พระราชวงศานุวงศ์เสนามาตย์ราชบริพาร พร้อมด้วยสมณพราหมณ์อาณาประชาชนชาวสยามประเทศ ทุกชาติชั้นบรรดาศักดิ์ทั่วรัฐสีมาอาณาเขตมาคำนึงถึงพระเดชพระคุณอันได้พรรณนามาแล้วนั้นจึงพากันสร้างพระบรมรูปนี้ประดิษฐานไว้ สนองพระเดชพระคุณเพื่อประกาศพระเกียรติยศ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวปิยมหาราชให้ปรากฏสืบชั่วกัลปวสาน

     เมื่อสุริยคติกาล พฤศจิกายนมาศ เอกาทศดิถีพุฒวาร จันทรคติกาล กฤติกมาสกาฬปักษ์ติตติยดิถี
ในปีวอกสัมฤทธิศก จุลศักราช 1270
     ในการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้าขึ้นในครั้งนี้ มวลพสกนิกรชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มาพึ่งบรมโพธิสสมภารอยู่ในขณะนั้น ร่วมกันสมทบทุนสร้างถวายเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระปิยะมหาราช ผู้ทรงสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคมและเพื่อถวายสักการะในวโรกาสที่พระองค์เสด็จเสวยราชสมบัติครบ 40 พรรษาบริบูรณ์ในพิธีรัชมังคลาภิเษกด้วย สำรับแบบรูปของพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ ได้จ้างช่างหล่อชาวฝรั่งเศส แห่งบริษัทซูซ เซอร์เฟรส ฟองเดอร์เป็นผู้หล่อ ณ กรุงปารีส เลียนแบบพระบรมรูปทรงม้าของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่ประดิษฐานอยู่หน้าพระราชวังแวร์ซายส์ในประเทศฝรั่งเศส เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระปิยะมหาราช รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ในปีพ.ศ.2450 พระองค์ได้เสด็จประทับให้ช่างปั้นพระบรมรูป เมื่อวันที่ 22 สิงหคม ศกนั้น พระบรมรูปเสด็จเรียบร้อยและส่งเข้ามายังกรุงรัตนโกสินทร์ในทางเรือ เมื่อ พ.ศ.2451
      ครั้นถึงวันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2451 ตรงกับวันพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกครองราชสมบัติได้ 40 ปี (ส่วนรัชดาภิเษกคือครองราชสมบัติได้ 25 ปี)เจ้าพนักงานได้อัญเชิญพระบรมรูปทรงม้า ขึ้นประดิษฐานบนแท่นรองที่หน้าพระลานพระราชวังดุสิต ที่ประจักษ์อยู่ในปัจจุบันจี้ โดยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงอ่านคำถวายพระพรชัยมงคลเสร็จแล้วจึงน้อมเกล้าฯถวายพระบรมรูปทรงม้า กราบบังคมทูลอัญเชิญให้พระบาทสมเด็จพระปิยะมหาราช พระราชบิดาให้ทรงเปิดผ้าคลุมพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นปฐมฤกษ์เพื่อประกาศเกียรติคุณในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ให้สถิตสถาพรปรากฏสืบไปชั่วกาลนาน
 

เว็บไซต์นี้ ดูให้สวยด้วย IE. เวอร์ชั่น 5.0 ขึ้นไป ความละเอียด 800 X 600 Text Size Medium
โครงการประกวดเว็บไซต์เทิดพระเกียรติ " พ่อหลวงปิยมหาราช " ของมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา
สร้างสรรค์โดยนักเรียนโรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อำเภอ เมือง จังหวัด นครสวรรค์
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน