มลภาวะทางเสียง
เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุเสียงที่เราได้ยิน ทุกวันนี้ มีหลากหลายระดับของพลังเสียง บางกิจกรรม ของเสียงทำให้เกิดความเพลิดเพลินมีความสุข บางคน ถึงกับหลงไหลเสียง เช่นเสียงเพลง,เสียงนก,เสียงลม แม้ระทั่งเสียงของคนรักที่ออดอ้อนข้างหู เสียงที่เกิดขึ้น ก่อให้เกิดเสียงดังในระดับต่าง ๆ เสียงดังมาก ๆ ในระดับสูงส่วนใหญ่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
แหล่งกำเนิดเสียงที่สำคัญและมักหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการ ดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันของมนุษย์มีดังนี้
ระดับเสียง เดซิเบลเอ (dba.) แหล่งกำเนิดเสียง อันตรายต่อสุขภาพ
30 เสียงกระซิบ ไม่มีอันตราย
50 เสียงพิมพ์ดีด ก่อความรำคาญทางอารมณ์
60 เสียงสนทนาทั่วไป ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์
70 เครื่องจักรในโรงงานระดับปกติ อาจก่อให้เกิดความดันในร่างกาย
ความเครียดในระยะยาว
80 เสียงดังจราจรตามปกติ อันตรายต่อระบบประสาท ประสาทหูเสื่อมเร็ว
90 เครื่องจักรที่มีความเร็วรอบสูง อาจหูหนวกเมื่อสูงอายุ
100 เสียงขุด,เจอะดิน,ถนน อันตรายต่อประสาทหูและเกิดความเครียดในร่างกาย
120 เสียงกระทบของโลหะหรือปั๊มโลหะ อันตรายมากต่อระบบประสาท เครียดและกลายเป็นคนโมโหง่าย,นำมาซึ่งโรคความดัน
140 เสียงเครื่องบิน อันตรายต่อระบบไหลเวียนของโลหิต,อันตรายต่อระบบประสาทของการได้ยิน
>140ขึ้นไป เสียงปืน,เสียงระเบิด อันตรายโดยฉับพลันต่อระบบประสาทของการเห็นและการได้ยินหัวใจเต้นเร็ว เกิดความเครียด และความดันสูงในร่างกาย อาจเกิดอาการประสาทหลอนตามมา
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดเสียงรบกวนในเมือง แหล่งกำเนิดเสียงที่เป็นปัญหามากที่สุดในเมือง คือ รถจักรยานยนต์ รถยนต์
เรือหางยาวและรถอื่น ๆ ที่มีการดัดแปลงท่อไอเสีย
มีวิธีการตรวจอย่างง่าย ๆ 2 วิธี คือ * ให้ท่านยืนหันหลังห่างจากเพื่อนของท่าน 5 ฟุต แล้วให้เพื่อนเรียกชื่อท่านด้วยเสียงดัง
ตาม ปกติ ถ้าท่านได้ยินให้ขานตอบ ทำซ้ำ 5 ครั้ง ถ้าไม่ได้ยินเสียงเรียกแสดงว่าหูของท่านอาจผิดปกติ
* ให้ท่านกำมือแล้วใช้นิ้วชี้ถูกับนิ้วหัวแม่มือห่างจากหูประมาณ 1 เซนติเมตร และฟังเสียง ทดลองกับหูทีละข้าง ถ้าไม่ได้ยินเสียงต้องรีบปรึกษาแพทย์
จะรู้ได้อย่างไรว่าบริเวณใดมีเสียงดังถึงขั้นอันตราย * ถ้ายืนพูดคุยกันในระยะห่างประมาณหนึ่งช่วงแขนแล้วไม่ได้ยินและไม่เข้าใจกัน
แสดงว่าบริเวณนี้มีเสียงดังถึงขั้นอันตราย
* ใช้มาตรระดับเสียงตรวจระดับเสียงบริเวณนั้น องค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่ง สหรัฐอเมริกา (USEPA) เสนอแนะว่าผู้ที่ได้รับเสียงเฉลี่ยเกิน 70 เดซิเบลเอ อย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง เป็นระยะเวลานานจะกลายเป็นคนหูตึง
การแก้ไขปัญหาเสียงดังจากรถเรือและเครื่องจักร ที่มีระดับเสียงดังมาก ๆ
* ใช้ท่อไอเสียที่มีเครื่องระงับเสียงและได้มาตรฐาน มอก. ในกรณี รถจักรยานยนต์และรถยนต์
* ไม่ดัดแปลงท่อไอเสีย ให้มีเสียงดัง
* ดูแลรักษาเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ
* ไม่ควรใช้แตรลมหรือใช้แตรโดยไม่จำเป็นขณะอยู่ในเขตพื้นที่ อยู่อาศัย
* ไม่ใช้ความเร็วสูง หรือเร่งเครื่องยนต์แรง
* ไม่บรรทุกภาระมากเกินไป
* ติดเครื่องลดระดับเสียงจากเครื่องต้นกำเนิดเสียง
* ทำห้องเก็บเสียง เพื่อลดระดับเสียงลง
* ควรปรึกษาผู้ชำนาญเฉพาะด้าน เพื่อลดมลภาวะทางเสียงลง
มาตรฐานและวิธีการตรวจวัดระดับเสียงจากรถ,เรือและเครื่องจักร 1. ให้จอดรถหรือเรืออยู่ในเกียร์ว่าง
2. เร่งเครื่องยนต์ให้ความเร็วรอบสูงสุดในกรณีรถยนต์หรือเรือที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล
หรือเร่งเครื่องยนต์ให้มีความเร็วรอบเท่ากับ 3/4 ของความเร็วรอบสูงสุดใน
กรณีใช้เครื่องยนต์เบนซินหรือรถจักรยานยนต์ที่มีความเร็วรอบสูงสุดไม่เกิน
5,000 รอบต่อนาที และเร่งเครื่องยนต์ให้มีความเร็วรอบเท่ากับ 1/2 ของความ
เร็วรอบสูงสุด ในกรณีเป็นรถจักรยานยนต์ ที่มีความเร็วรอบสูงสุดกว่า5,000 รอบต่อนาที
3. พัดลมหรือเครื่องจักรอื่นๆ ที่มีความเร็วรอบสูงเกินกว่า 1,500 รอบ/นาที
การตรวจวัดระดับเสียงจากรถ การตรวจวัดระดับเสียงจากรถ มี 2 วิธี
วิธีที่ 1 ต้องไม่เกิน 100 เดซิเบลเอ ไมโครโฟนห่าง 0.5 เมตร จากปล่อยท่อไอเสีย
ทำมุม 45 องศา ระดับเดียวกับท่อไอเสียและขนานกับพื้น
วิธีที่ 2 ต้องไม่เกิน 85 เดซิเบลเอ ไมโครโฟนห่าง 7.5 เมตร จากตัวรถ สูง 1.2 เมตร
และขนานกับพื้น
การตรวจวัดระดับเสียงจากเรือ ต้องไม่เกิน 100 เดซิเบลเอ ไมโครโฟนห่าง 0.5 เมตร มุม 45 องศา จากปลายท่อไอเสียหรือ
จากกราบเรือ โดยตั้งไมโครโฟนในระดับเดียวกันกับปลายท่อไอเสียและขนานกับผิวน้ำ
การตรวจวัดระดับเสียงจากเครื่องจักรภายในโรงงานมี 2 วิธี คือ 1. ในกรณีที่เครื่องนั้นต้องใช้คนยืนเฝ้าคอยควบคุมดูแลการทำงานของเครื่องตลอดเวลา ระดับเสียงไม่เกิน 60 เดซิเบลเอ (dba.) ไมโครโฟนห่าง 0.5 เมตร ห่างจากตัวเครื่องหรือต้นกำเนิดเสียง โดยรอบ ๆ
2. ในกรณีที่เครื่องจักรไม่ต้องใช้คนเฝ้าดูแลเครื่อง เช่น พัดลม, เครื่องโม่บดและอื่น ๆ
ระดับเสียงต้องไม่เกิน 75 เดซิเบลเอ (dba.) ไมโครโฟน ห่างจากตัวเครื่อง 3 เมตร
โดยรอบ ๆ ของตัวเครื่องหรือตันกำเนิดของเสียง
|