ดาวหาง ดาวเคราะห์น้อย และดาวเคราะห์ในระบบอื่น ดาวฤกษ์ใกล้เคียงเราดวงหนึ่งที่คิดว่าเป็นที่อยู่ของดาวหางและดาวเคราะห์น้อย ขณะนี้ดูเหมือนจะเป็นที่อยู่ของดาวเคราะห์ด้วย การสำรวจครั้งใหม่นี้บอกว่าโลกใบนี้ดูจะเล็กกว่าดาวพฤหัสและอาจจะเล็กถึงพลูโต ดาวฤกษ์ AU Microscoppii หรือที่เรียกสั้นๆว่า AU Mic เป็นดาวฤกษ์ทั่วๆไปและอยู่ค่อนข้างใกล้เรา นอกจากนี้มันยังมีอายุน้อยด้วย วัสดุรอบมันที่หลงเหลือจากการก่อตัวดาวฤกษ์เพิ่งรวมตัวเข้าด้วยกัน
|
แสงจากดาวฤกษ์ AU Mic ถูกปิดไว้ดังนั้นกล้องโทรทรรศน์จึงสามารถเห็นแสงที่สะท้อนจากเม็ดฝุ่นในดิสก์รอบดาวฤกษ์ดวงนี้
รูปร่างไม่ปกติของมันบ่งชี้ถึงการมีอยู่ของดาวเคราะห์ที่ยังมองไม่เห็น ภาพนี้มีความกว้าง 100 AU(ขนาดพอๆกับระบบสุริยะของเรา)
ก่อนหน้านี้ นักดาราศาสตร์กล่าวว่า หินอวกาศที่ชนกันดูเหมือนจะมีผลทำให้เกิดดิสก์ฝุ่นที่พบรอบดาวฤกษ์ดวงนี้ ซึ่งฝุ่นไม่ควรจะอยู่ตรงนั้น ดังนั้นถ้ามีดาวเคราะห์น้อยและดาวหางแล้ว ก็น่าจะมีดาวเคราะห์ได้ด้วย ในการสำรวจครั้งใหม่โดยกล้องโทรทรรศน์เคกในฮาวาย นักวิจัยได้พบกระจุกในดิสก์ ซึ่งเป็นหลักฐานแน่ชัดถึงการมีอยู่ของดาวเคราะห์
Michael Liu จากมหาวิทยาลัยฮาวาย กล่าวว่า เราเห็นกระจุกหลายแห่งอยู่ในดิสก์ฝุ่น กระจุกเหล่านี้ต้องก่อตัวขึ้นโดยแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ที่เพิ่งก่อตัวใหม่ซึ่งมองไม่เห็น กระจุกอย่างนี้ถูกตรวจพบรอบดาวฤกษ์ดวงอื่น แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้ AU Mic น่าสนใจก็คือ AU Mic มีขนาดเพียงครึ่งเดียวของดวงอาทิตย์ ความสว่างเพียงหนึ่งในสิบ มีอายุประมาณ 10 ถึง 12 ล้านปี ซึ่งยังเป็นดาวฤกษ์ที่อายุน้อยมาก แต่เนื่องจาก AU Mic อยู่ค่อนข้างใกล้คือเพียง 33 ปีแสงในกาแลคซีแห่งหนึ่งซึ่งมีความกว้างมากกว่า 1 แสนปีแสง มันจึงถูกศึกษาได้ง่ายกว่าดาวฤกษ์อายุน้อยส่วนใหญ่ที่มีดิสก์ฝุ่น
แต่ Liu บอกว่ายังไม่สามารถบอกได้ว่ามีดาวเคราะห์ประเภทไหนอยู่ในวงโคจรรอบ AU Mic แต่ก็ยังพอมีทาง ดาวเคราะห์ที่ทำให้เกิดกระจุกในดิสก์ฝุ่นจะต้องมีขนาดใหญ่พอ จากทฤษฏีบอกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางขั้นต่ำจะต้องมีขนาดใกล้เคียงกับพลูโต เขาเตือนว่านี้ไม่ได้หมายความว่าจะมีดาวเคราะห์ขนาดเล็กรอบ AU Mic ทฤษฏีไม่ได้อธิบายการสำรวจใหม่ได้ครบถ้วน
ถ้าดาวเคราะห์ของ AU Mic มีขนาดใหญ่เท่าดาวพฤหัส พวกมันก็ควรจะเห็นได้โดยตรง เมื่อดาวเคราะห์ขนาดใหญ่
l
|