การค้นพบบนดาวอังคาร หลักฐานใหม่..ร่องรอยน้ำบนดาวอังคาร หลังจากปฎิบัติการบนดาวอังคารตามกำหนดนาน 3 เดือน และสร้างผลงานการค้นพบหลักฐานซึ่งบ่งชี้ว่า หินบนดาวอังคารเคยถูกกระทำจากกระแสน้ำในอดีตกาล นาซ่าก็ขยายเวลาปฏิบัติการของรถหุ่นยนต์สำรวจทางธรณี คือ สปิริต และอ๊อพพอร์ทูนิตี ออกไปอีก 6 เดือน ต้นเดือนตุลาคม 2004 เดือนที่เก้าของปฏิบัติการค้นหาร่องรอยน้ำบนดาวอังคาร รถหุ่นยนต์ทั้งสองคันก็พบหลักฐานร่องรอยน้ำชิ้นใหม่ที่น่าตื่นเต้นยิ่งกว่า
|
หลังจากปฎิบัติการบนดาวอังคารตามกำหนดนาน 3 เดือน และสร้างผลงานการค้นพบหลักฐานซึ่งบ่งชี้ว่า หินบนดาวอังคารเคยถูกกระทำจากกระแสน้ำในอดีตกาล นาซ่าก็ขยายเวลาปฏิบัติการของรถหุ่นยนต์สำรวจทางธรณี คือ สปิริต และอ๊อพพอร์ทูนิตี ออกไปอีก 6 เดือน ต้นเดือนตุลาคม 2004 เดือนที่เก้าของปฏิบัติการค้นหาร่องรอยน้ำบนดาวอังคาร รถหุ่นยนต์ทั้งสองคันก็พบหลักฐานร่องรอยน้ำชิ้นใหม่ที่น่าตื่นเต้นยิ่งกว่า
เริ่มที่รถหุ่นยนต์สปิริต สปิริตเดินทางจากหลุมอุกกาบาตกูเชฟเครเตอร์เป็นระยะทางไกล 3 กิโลเมตร ถึงเนินเขาโคลัมเบีย(Columbia Hill ชื่อซึ่งตั้งเพื่อรำลึกถึงกระสวยอวกาศโคลัมเบีย) เมื่อปลายเดือนสิงหาคม 2004 และทำการศึกษาก้อนหินที่นั่นหลายก้อน หนึ่งในนั้นชื่อว่า อีเบนนิเซอร์(Ebenezer) สปิริตใช้เครื่องมือ Rock Abrasion Tool (RAT) ที่อยู่ปลายแขนกลของมัน เจาะผิวหินเป็นรูขนาดใหญ่และตรวจหาธาตุด้วยสเปคโทรมิเตอร์ alpha particle x-ray (APXS) ผลปรากฏว่าหินก้อนนี้มีส่วนประกอบของ โปตัสเซียม ฟอสฟอรัส กำมะถัน คลอรีนและโบรมีน สตีฟ สไควเรส หัวหน้านักวิทยาศาสตร์บอกว่า ธาตุเหล่านี้ง่ายต่อการเคลื่อนย้ายและรวมตัวกันโดยน้ำ ด้วยเหตุนี้ทีมนักวิทยาศาสตร์จึงคิดว่านี่คือสัญญาณทางเคมีที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างหินและน้ำในรูปของเหลว ก่อนหน้านี้สปิริตได้ศึกษาก้อนหินชื่อ คลอวิส (Clovis) ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกับอีเบนนิเซอร์ นักวิทยาศาสตร์ต้องประหลาดใจเมื่อก้อนหินทั้งสองมีรายละเอียดทางเคมีที่คล้ายกันมาก จนทำให้เริ่มคิดว่าก้อนหินทั้งหมดที่เนินเขาโคลัมเบียเกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยกระบวนการเดียวกัน
|
สไควเรสยังบอกว่า บริเวณเนินเขาโคลัมเบียเต็มไปด้วยก้อนหินที่แตกต่างกัน ทว่ายังไม่เห็นก้อนหินภูเขาไฟที่คงรูปเดิมอยู่เลยแม้แต่ ก้อนเดียว นับตั้งแต่เข้าเขตเนินเขาโคลัมเบีย เขาคิดว่ามันมีนัยสำคัญที่บ่งชี้ว่าก้อนหินที่นี่ทั้งหมดน่า จะเกิดจากการกระทำของน้ำ ทีมนักวิทยาศาสตร์หวังว่า บางทีอาจจะได้คำตอบที่แน่ชัดจากการถอดรหัสก้อนหิน เป้าหมายต่อไปที่ชื่อว่า เทตล์ (Tetl ) หินก้อนนี้ม ีลักษณะซ้อนทับกันเป็นชั้นๆ เราใช้เวลาค้นหาก้อนหินที่มีลักษณะเป็นชั้นที่หลุม อุกกาบาตกูเชฟมาเป็นเวลา 9 เดือน แล้วในที่สุดก็ได้พบ มัน สไควเรสกล่าว นักวิทยาศาสตร์ยังบอกไม่ได้ว่ามันคือหินตะกอน หรือหินที่เกิดจากดินทรายถูกน้ำพัดพาไปทับถมในทะเล เป็นเวลานาน เช่นหินปูน เพราะหินภูเขาไฟบางชนิดก็มีลักษณะเป็นชั้นๆเหมือนกัน อย่างไรก็ตามเทตล์อาจเป็นหินภูเขาไฟที่ถูกเปลี่ยนแปลง
รูปทรงโดยกระแสน้ำก็ได้
|