Ran khaa ya
 
 

                                        

                                        ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านโคกหม้อ
                                     (ชาวบ้านโคกหม้อ บ้านช่างทอ สานต่อวัฒนธรรม)

            ที่ตั้งถิ่นฐาน ชาวบ้านตำบลโคกหม้อส่วนใหญ่เป็นคนไทย เชื้อสายลาว นับถือศาสนาพุทธ การอพยพโยกย้ายถิ่นฐานของกลุ่มวัฒนธรรมลาวครั่ง จากนครหลวงพระบาง ประมาณสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เจ้าอนุวงศ์ก่อการกบฎขึ้นในปี พ.ศ. 2369 การปราบกบฎเมืองเวียงจันทร์ ในครั้งนั้นเหตุการณ์ที่นำไปสู่การอพยพครั้งใหญ่ของพลเมืองชาวเวียงจันทร์และหัวเมืองใกล้เคียงสู่ลุมแม่น้ำเจ้าพระยา ผู้คนที่ถูกกวาดต้อนมาประมาณ 100000 กว่าคน กลุ่มลาวครั่งซึ่งเดิมมีภูมิลำเนาอยู่บรอเวณเวียงจันทร์และเมืองหลวงพระบางจึงได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในเขตบริเวณแม่น้ำโขงและภาคกลางของประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีและต้นกรุงรัตนโกสินทร์ต่อเนื่องจากจนถึงปัจจุบันโดยกระจายกันอยู่ทั่วไป
จังหวัดเลย เพชรบูรณ์ สุพรรณบุรี ชัยนาท พิจิตร อุทัยธานี กำแพงเพชร และ นครสวรรค์ กลุ่มวัตนธรรมของลาวครั่ง เอกลักษณ์ของสิ่งทอในวิถีชีวิตของชาวบ้านใช้สีแดงครั่งเป็นหลักฐาน กลุ่มลาวครั่ง ลาวเวียง ลาวกา
น่าจะเป็นบรรพบุรุษจากที่เดียวกัน ลาวครั่ง หรือ ไทยครั่ง มีสำเนียงพูดจา ประเพณีวัฒนธรรม การเป็นอยู่ การทำมาหากิน การประกอบอาชีพที่คล้ายคลึงกัน
            ชาวตำบลโคกหม้ออพยพมาตังถิ่นฐานเดิม ขุนพิลึกฤาเดช หัวหน้าชุมชนได้พาชาวบ้านอพยพโยกย้ายถิ่นฐานมาจากบ้านเก่า เขากระจิว จังหวัดสุพรรณบุรี เดิมอยู่หมู่บ้านกุดจอก
จังหวัดชัยนาทต่อมาได้อพยพโยกย้ายเพื่อหาที่ทำมาหากินที่อุดมสมบูรณ์จึงได้ท่ตั้งถิ่นฐาน ณ หมู่บ้านโคกหม้อ ปัจจุบันคำว่า โคกหม้อ สันนิษฐานว่าเป็นชื่อที่ชาวมอญตั้งไว้ เนื่องจากบริเวณนี้เคยเป็นชุมชนของกลุ่มชาวมอญซึ่งมีอาชีพปั้นหม้อ (ภาชนะปั้นหม้อ)
ปัจจุบันยังมีหลักฐานเตาเผาอยู่ที่ท้ายหมู่บ้าน โดยชาวมอญเคยอยู่บริเวณนี้ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ต่อมาได้โยกย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่บ้านเนินสาธาร อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี
ต่อมาเมื่อชุมชนเชื้อสายลาวได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นจึงใช้ชื่อของหมู่บ้านโคกหม้อสืบต่อมา ชาวบ้านโคกหม้อส่วนใหญ่ทำการเกษตรกรรม อาทิ ทำนา ทำไร่ ทำสวน เสี้ยงสัตว์ อาชีพยามว่าง ทำจักสาน ทอผ้าไหม ปัจจุบันยังคงมีการทอผ้ากันอยู่แต่ไม่ได้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ปลูกฝ้ายแล้วทอโดยใช้เส้นใยที่ซื้อมาจากที่อื่นแต่คงยังรักษารูปแบบเอกลักษณ์ดั้งเดิมไว้ ช่างทอส่วนส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ การจัดตั้งหอวัตนธรรมนิทัศน์ก็เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้สือต่อประเพณี วัฒนธรรมจากบรรพบุรุษให้คงไว้ตลอดไป

            อาชีพการทำมาหากิน
            ประชาชนสวนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม การทำไร ทำนา ไร่นาสวนผสม โดยมีอาชีพเสริมจักรสาน ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ปลูกฝ้าย ทอผ้า
ซึ่งการทอผ้าปัจจุบันนำชื่อเสียงมาให้หมู่บ้าน เป็นที่รู้จักกันในหมู่คนไทยและชาวต่างประเทศพอสมควร การทอผ้าแต่เดิมทอผ้าไหม ผ้าฝ้าย
จากการเลี้ยงไหมและปลูกฝ้ายขึ้นใช้เอง แต่ปัจจุบันไม่มีผู้ใดเลี้ยงไหมและปลูกฝ้ายแล้ว จึงใช้เส้นไหมที่ซื้อมาจากแหล่งอื่น แต่ยงคงอนุรักษ์ รูปแบบสีและลายผ้าเดิมไว้
            ศาสนาและความเชื่อ
            ชาวโคกหม้อส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประชาชนเป็นคนใจบุญศุลทาน สร้างถาวรวัตถุให้วัดสง่างามตามอัตภาพ มีสถานที่เก่าแก่ในวัด เช่น พระอุโบสถ
เจดีย์คู่หักมุมไม้สิบสอง เจดีย์หลวงพ่อโต หอวัฒนธรรมนิทัศน์วัดโคกหม้อซึ่งเป็นหอที่เก็บเรื่องราววิถีชีวิตของชาวบ้าน โคกหม้อ ( ชุมชนลาวครั่ง )
และวัตถุโบราณต่างๆ อันได้แก่ เครื่องเบญจรงค์ พระพุทธรูป หนังสือ จาน ชาม เครื่องน้ำชา ฯลฯ
            ประเพณ
            ประเพณีที่ชาวชุมชนบ้านโคกหม้อยึดถือและปฏิบัติกันเป็นเวลาช้านานมาแล้ว ได้แก่ ประเพณีที่ปฏิบัติ กันเกือบครบ 12 เดือน ได้แก่
                เดือนยี่ ประเพณีทำบุญสู่ขวัญข้าว ( เดือนคู่ )
                เดือนสาม ประเพณีทำบุญสู่ขวัญข้าว ( เดือน 3 ขึ้น 3 ค่ำ )
                เดือนสี่ ประเพณีแต่งงาน
                เดือนห้า ประเพณีสงกรานต์ ( เดือน 5 ) ตั้งแต่วันที่ 12 – 20 เมษาของทุกปี
                          - สรงน้ำพระ
                          - รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่
                          - ก่อเจดีย์ทราย
                          - การละเล่นนางด้งนางกวัก
                          - แห่กินเหล้า ( แห่ขอพรผู้อาวุโส )
                          - แห่ดอกไม้
                          - แห่ธง
                เดือนหก การทำบุญกลางบ้านหรือการไล่ผี
                เดือนเจ็ด การเลี้ยงปี เลี้ยงเจ้านาย
                เดือนแปด ประเพณีแต่งงาน ทำบายศรีสู่ขวัญบ่าวสาว
                เดือนสิบ ทำบุญสารทลาว
                เดือนสิบเอ็ด ตักบาตรเทโว ( แรม 1 ค่ำ เดือน 11 )
                เดือนสิบสอง ลอยกระทง ( เพ็ญเดือน 12 )


 

เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 800x600Text Size Medium
สร้างสรรค์โดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน