การทอผ้า
|
ประวัติการทอผ้า การทอผ้าเป็นหัตกรรมอย่างหนึ่งที่ทำสืบต่อกันมาเป็นเวลาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี สันนิษฐานจากประวัติศาสตร์ไทยได้กล่าวไว้จากหลักฐานการแต่งกายของกษัตริย์เจ้านาย ข้าราชการ คหบดี ในสมัยนั้นได้กล่าวไว้เกี่ยวกับเรื่องการสงส่วยมักกล่าวว่า ส่งผ้าทอเป็นมัด น้ำผึ้ง ไม้หอม และอื่นๆเป็นเครื่องราชบรรณาการ การทอผ้านับว่าเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ผู้เป็นช่างทอต้องมีความสามารถในการใช้สีของเส้นด้ายประกอบกันให้เกิดความสวยงามเหมาะสม และการแต่งแต้มสีทำให้เกิดลวดลาย การย้อม โดยเฉพาะผ้าที่เรียกว่าผ้ามัดหมี่ หากผู้ใดได้จับชมแล้วยากที่จะวางลงได้ การทอผ้านับว่าเป็นสถาปัตยกรรมอีกด้วย เพราะช่างทอผ้าต้องออกแบบลายผ้าของตนเองขึ้นมา โดยการนำลักษณะต่างๆของธรรมชาติ เช่น ดอกไม้ ดาว เดือน สัยว์ ของใช้ มาคิดประดิษฐ์ประดอยเป็นลายผ้า จนมีชื่อเรียกตามลักษณะของสิ่งเหล่านั้น เช่น ดอกแก้ว บ่าง กระเบี้ย (ผีเสื้อ) คันร่ม ขอคำเดือน ขิด สำรวจ(จรวด) หงส์ และมีการพัฒนาลายผ้าจากที่คิดให้มีความซับซ้อนสวยงามยิ่งขึ้น เช่น ลายขอซ้อนน้อย(เล็ก) ซ้อนใหญ่ ลายด่านน้อย ด่านกลาง ด่านใหญ่ หงส์น้อย ลายหงส์ใหญ่ การสืบทอด การถ่ายทอด ในสมัยโบราณผู้คนเรียนรู้หนังสือน้อยแทบไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนเลยโดยเฉพาะผู้หญิง ซึ่งต้องมีหน้าที่ในงานบ้านเลี้ยงลูก ทำงานทอผ้า เพื่อใช้ในการนุ่งห่มของคนในครอบครัวหลังเวลาว่างจากการทำนาทำไร่ อาศัยเวลากลางคืนบ้าง เวลาหยุดพักเพื่อรอคอยการเก็บเกี่ยวผลผลิตบ้าง นับว่าเป็นงานหนักพอสมควรสำหรับหญิงไทย เพราะเมื่อเลิกงานประจำวันแล้วยังต้องมประกอบอาหารดูแลลูกๆ และสามีให้รับประทานอาหารจนอิ่มและเข้านอนแล้ว ตนเองก็ยังมิได้พักผ่อนหลับนอนยังต้องนั่งเก็บฝ้าย(เก็บสิ่งเจือปนออกจากปุยฝ้าย) เข็นฝ้าย ดีดฝ้าย มัดหมี่ เพื่อเตรียมไว้เมื่อว่างเว้นจากการทงานจริงๆแล้วจึงจะทำการทอผ้า การถ่ายทอดเทคโนโลยีต่างๆในสมัยนั้น ต้องอาศัยความจำจากการปฏิบัติ จึงทำให้เกิดความชำนาญ ไม่มีการบันทึกเป็นภาพหรือลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด ถ่ายทอดจากแม่สู่ลูก หรือเครือญาติใกล้ชิด จึงเปรียบเสมือนเป็นการสืบสายเลือดเลยก็ว่าได้ การทอผ้าแต่โบราณจะใช้ใยไหมและใยฝ้ายเป็นวัตถุดิบหลักในการทอผ้า เพราะไม่มีเส้นใยสังเคราะห์อื่นใดที่จะมาแทนเส้นใยไหมและฝ้ายได้ดี บางกลุ่มบางสถานที่ได้นำวัสดุอื่นมาใช้ เช่น ป่าน ใบสับปะรด ใบเตยหนาม ปอ มาทำเป็นวัสดุในการทอผ้าแต่ก็ไม่ได้รับความนิยมเพราะไม่เกิดความนิ่มทำให้ระคายเคืองร่างกาย สู้ใยไหมและฝ้ายไม่ได้
ประวัติการทอผ้าบ้านโคกหม้อ บ้านโคกหม้อเป็นชนบทที่มีเชื้อสายลาว(ลาวครั่งที่อพยพมาจากหลวงพระบาง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) สมัยเจ้าอนุวงศ์เป็นผู้ครองนครหลวงพระบางราว พ.ศ.2490 เนื่องจากเกิดกบฏ จึงทำให้เกิดการเดินทางย้ายถิ่นของคนเชื้อสายลาวสมัยนั้น เขามิได้เดินทางมาตัวเปล่าเขาได้นำเอาผ้าทอที่ทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม เช่น ผ้าถุงมัดหมี่ ตีนจก ผ้าล้อ(ผ้าปูที่นอน) หมอนท้าว(หมอนอิงหรือหมอนขวาน) และเครื่องประกอบการทำมาหากินติดตัวมากับขบวนกองเกวียนและเดินเท้า โดยเฉพาะผ้าซิ่นมัดหมี่ซึ่งถือว่าเป็นของเก่าแก่ที่บรรพบุรุษมอบให้ ชุมชนลาวครั่งถือว่าเป็นของสิริมงคลหรือเครื่องลายของขลัง(ของค้ำของคูณ) และถือว่าเป็นของสำคัญที่ควรจะหวงแหนไว้ชั่วลูกชั่วหลาน บ้านโคกหม้อเป็นบ้านที่มีประเพณีและวัฒนธรรมที่เก่าแก่มานาน คาดว่าก่อตั้งหมู่บ้านประมาณ 156 ปีล่วงมาแล้ว พอประมาณได้จากบ้านทรงไทย ทรงปั้นหยาที่พอมีให้เห็นอยู่บ้าง ปัจจุบันเหลือน้อยเต็มที เนื่องจากการผุกร่อนและการทำลายของปลวก คนรุ่นต่อมาจึงได้รื้อและสร้างบ้านเรือนหลังใหม่ขึ้นมาแทน อีกอย่างหนึ่งไม่มีใครมาปลูกจิตสำนึกให้เกิดการอนุรักษ์ ถือว่าเก่าแก่เกินไปไม่ทันสมัย สาเหตุที่มิได้เอาอาศัยผ้าเก่าแก่ซึ่งมิได้อยู่ในหมู่บ้านมาเป็นตัวกำหนดอายุของหมู่บ้านนั้น ก็เนื่องมาจากผ้าทอเก่าแก่ที่มีอายุ 200 ปี ที่อยู่ในหมู่บ้านโคกหม้อเป็นผ้าที่ติดตัวมาจากการอพยพในครั้งเกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ การทอผ้าของชุมชนลาวครั่งบ้านโคกหม้อ มีการทอผ้าอยู่ 2 แบบด้วยกันคือ ผ้าพื้นและผ้ามัดหมี่ตีนจก
การทอผ้าพื้น เป็นการทอผ้าค่อนข้างง่าย ไม่ค่อยมีความสลับซับซ้อนมากนักเป็นการทอผ้าแบบขั้นพื้นฐาน ก่อนที่จะไปทอผ้ามดหมีตีนจก ซึ่งเป็นการทอผ้าที่มีชื่อเสียงของบ้านโคกหม้อในขณะนี้ ซึ่งมีขั้นตอนการทำหลายขั้นตอนกว่าจะสำเร็จเป็นผืนและใช้งานได้ต้องมีความวิริยะอุตสาหะพากเพียรพยายามอย่างมากกับการเคี่ยวเข็ญของผู้ปกครองที่พยายามฝึกหัดบุตร หลาน น้ำตาร่วงแล้วร่วงอีก เพราะเป็นงานที่ผู้หญิงลาวครั่งต้องทำเป็น เพื่อความรู้ติดตัวสำหรับการออกเรือน เพราะพ่อแม่ของสาวในชุมชนลาวครั่งนั้นกลัวลูกจะได้รับการดูถูกเหยีดหยามจากฝ่ายสามีหรือชาวบ้านกลัวถูกสาวจะถูกกล่าวหาว่าเป็นขี้เกียจทำอะไรไม่เป็น เช่นเดียวกับฝ่ายชายที่จะต้องมีความสามารถในการทำเครื่องจักสาน ทำเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น ไถจากรากไม้ การรู้จักทำเรือนเครื่องผูก(ห้องนา) สำหรับเป็นที่อยู่ในการออกเรือนใหม่และอยู่อาศัยเวลาออกไปทำนา ถ้าทำไม่เป็นก็อย่าหวังว่าจะได้ลูกสาวในชุมชนลาวครั่งเป็นภรรยา เด็กสาวรุ่นๆจึงต้องฝึกหัดการทอผ้าพื้นก่อนเพื่อให้เกิดความชำนาญ รู้ขั้นตอนการทำการใช้อุปกรณ์การทอผ้าแต่ละชนิดและมีทักษะต่างๆ ที่จำเป็นต่อการท่อผ้า ก่อนที่จะศึกษาเกี่ยวกับการทอผ้าจะต้องศึกษาตั้งแต่การแปรสภาพวัสดุ สำหรับที่ใช้เป็นวัตุดิบในการทอผ้า เช่น ไหม ฝ้าย ว่ามีวิธีการผลิตเป็นเส้นด้ายอย่างไร ถ้าว่ากันไปแล้ว แค่วิธีการผลิตเส้นด้ายจากไหมและฝ้ายก็นับว่ายากพอแล้ว เพราะการผลิตเส้นด้ายเพื่อการทอก็ต้องทำอย่างมีขั้นตอน เด็กสาวรุ่นๆ ต้องรู้จักอุปกรณ์หลักในการทอผ้า เช่น กี่ อุปกรณ์กี่ การกรอด้าย ดารค้นหูก การขึ้นเครือ การเก็บตะกรอ ฯลฯ ขั้นตอนเบื้องต้นที่กล่าวมาแล้วกว่าจะมาเป็นผืนผ้าได้นั้น ต้องใช้ความพยายามอย่างมากต้องรู้จักอุปกรณ์หลัก เช่น กี่ทอผ้า และอุปกรณ์ประกอบการทอผ้า กว่าจะมาเนผืนผ้าได้นั้นต้องใช้ความพยายามอย่างมากที่ต้องจดจำเอาความรู้ต่างๆที่บรรพบุรุษสอน ในการทอผ้าเปรียบเสมือนเป็นวิถีชีวิตของชุมชนลาวครั่งในสมัยก่อนที่จำเป็นต้องรู้
ส่วนการทอผ้ามัดหมี่หรือมัดหมี่ตีนจกนั้นมีวิธีการผลิตที่ยุ่งยากซับซ้อนมากที่แยกออกไปจากการทอผ้า เช่น การมัดหมี่ การย้อมสี การแต้มสี (แจะสี) ให้เกิดลวดลาย การกรอด้าย การทอ การจกลาย ฯลฯ
การทอผ้ามัดหมี่และมัดหมี่ตีนจก การทอผ้ามัดหมี่และมัดหมี่ตีนจก มีวิธีการทำคล้ายกันแต่จะแตกต่างกันออกไป คือ มัดหมี่ตีนจกจะมีตีน(เชิง) ทำเป็นลายโดยวิธีการจกลายด้ายสีให้เป็นลวดลายเท่านั้น ส่วนผ้ามัดหมี่จะมีการมัดให้เกิดลายแล้วแต้มด้วยสีต่างๆ แต่ทั้งสองอย่างนำมาประกอบเป็นผ้ามัดหมี่ตีนจกที่มีความสวยงามวิจิตรพิสดาร
ผ้ามัดหมี่ตีนจกของชุมชนลาวครั่งบ้านโคกหม้อนี้มีการทำอยู่ 2 อย่างด้วยกัน คือ 1. หมี่ตา เป็นหมี่ที่มีลาย (ลายขิด ลายขิดมีเชื่อเรียกว่า ขิดเบีย ขิดหัวแมงดา ขิดไม้รอด) 2 . หมี่ทั้งผืน
หมี่ตา หมายถึงผ้ามัดหมี่ที่มีการทอสลับกับขิดมีหัวเป็นตาทางลง ขิดมีชื่อเรียกต่างๆ กันคือ ขิดไม้รอด ขิดหัวแมงดา ขิดขาเบีย
ลายขิด
ลายขิดขาเบีย
ลายขิดหัวแมงดา
ลายขิดไม้รอด
1.หมี่ตา หมี่ตา คือการทำผ้ามัดหมี่อย่างหนึ่งของชาวบ้านโคกหม้อ มีวิธีการทำคือ จะมีการมัดหมี่หัวเล็กๆ ไม่มีมากปอยในหมี่ตาจะมีหลายลายในผืนเดียวกัน จะคั่นด้วยลายขิด(ขวางหรือคั่น) สลับลายหมี่ สังเกตจะเป็นริ้วๆ ตั้งแต่ตีนผ้าถุงถึงชายพกเรียกว่า ตา
2.หมี่ทั้งผืน หมี่ทั้งผืน คือการทอผ้ามัดหมี่ชนิดหนึ่งซึ่งมีความแตกต่างกันคือไม่มีลายขิด มองดูแล้วเป็นลายเดียวกันทั้งผืน วิธีการจะต้องทำการค้นหมี่เป็นปอยๆ มากน้อยแล้วแต่ลายหนึ่งของชนิดนั้นๆ แล้วทำการมัดด้วยปอเชือกกล้วยที่เหลาเป็นแผ่นบางๆ ตากแดดให้แห้ง เวลาใช้ชุบน้ำหมาดๆ ใช้เฉพาะผิวของกาบกล้วยเท่านั้น ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นใช้ปอพลาสติก(ปอฟาง)แทน มัดลายตามตัวอย่างแล้วย้อมสี เมื่อย้อมสีของหมี่แล้วก็แกะปอที่มัดปอยหมี่ออกและแต้มด้วยสีต่างๆ อีกครั้งหนึ่งหรือหลายครั้งตามแต่ลักษณะของลายหมี่
การทอผ้ามัดหมี่ตีนจกจะมีการทำแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
1. ทอตัว (ทอผืนผ้า) 2. ทอตีน (เชิง)
1.ตัว คือ เป็นผืนผ้าชิ้นใหญ่ที่สุด สำหรับนุ่งผ้าถุง ผ้านุ่ง(โจงกระเบน) มีวิธีทำด้วยกันมัดลายแต้มสี จะมีชื่อเรียกต่างๆดังนี้
1.1 ลายหมี่หลวงน้อย
1.2 ลายขอคำเดือน
1.3 ลายด่าน
1.4 ลาวด่านเมืองลาว
1.5 ลายหมี่ตะเภา
1.6 ลายขอดอกรัก
1.7 ลายสำรวจ
Next
|