Ran khaa ya
สิงห์
ในประวัติศาสตร์ของไทยจริงๆ แล้วไทยเราไม่รู้จักสิงห์โต
เรื่องราวที่ได้รับเข้ามาดูจะมาจากประเทศอื่นก่อนเพราะ
ประเทศไทยเรานั้นลักษณะอากาศจะร้อนยังไม่มีสิงห์โต
อาศัยอยู่เลยจะมีสิงห์โตในเทพนิยายก็เมื่อตอนรับวัฒนธรรม
วรรณกรรมจากอินเดียหรือประเทศอื่น สิงห์โตที่เก่าแก่ที่สุดได
้บันทึกไว้เป็นตัวสฟิงค์ในอียิปต์ อยู่ในช่วงประวัติศาสตร์ 5,000
ปีที่แล้วคนไทยเชื่อว่าสิงห์คือสัตว์ที่อยู่ในเทพนิยาย ถ้าจะมีจริงๆ
ก็อยู่ในป่าหิมพานต์เท่านั้นอย่างนั้นแล้วคนไทยเป็นภาพสิงห์ตาม
ฝาผนังวัดสมุดข่อยหรือในดวงตราราชสีห์ในวรรณคดีของไทย
เรื่อง
มหาเวชสันดรชาดกกัณฑ์มหาพนในเรื่องพระสุธนมดนราห์
ในไตรภูมิพระร่วงต่างก็มีเรื่องราวของสิงห์ทั้งสิ้นบทกล่อมปห่
พระ
บรมทมเรื่องกากีของสุนทรภู่กล่าวว่า
ลอยรอบของพระเมรุ
บริเวณจักรวาล
ชมป่าหิมพานต์
เชิงชานพระเมรุธร
สินธพตลบเผ่น
สิงโตกิเลนและมังกร
ราชสีห์ดูมีหงอน
แก้วกุญชรและจันทันต์
นรสิงห์และลิงช้าง
อีกเชี่ยวกางและกุมภัณฑ์
ยักษ์มารชาญฉกรรจ์
ทั้งคนธรรพวิเรนทร (วิทยาธร)
นักสิทธิวิทยา
ถือคทาธนุศร
กินรินและกินนร
รำฟ้อนร่อนร่า
ราชสีห์เป็นสัตว์ที่มีความสง่างาม ความศรัทธา พลังอำนาจ ความยิ่งใหญ่ของราชสีห์นั้น
สังเกตจากการร้องคำรามเมื่อสัตว์ใดได้ยินเข้าถึงกับผว่าตัวสั่นเทาไม่เว้นแต่สัตว์ใหญ
่อย่างช้างแลที่แตกต่างจากสัตว์อื่นพอจำแนกได้ดังนี้
1. ราชสีห์เป็นสัตว์สะอาดไม่ยอมให้ร่างกายสกปรก
2. ราชสีห์เที่ยวไปด้วยเท้าทั้ง 4 เยื้องกายอย่างกล้าหาญ
3. ราชสีห์มีรูปร่างโออ่าสร้อยคอ (ขนแผงที่คอ) สะสวย
4. ราชสีห์ไม่นอบน้อมให้กับสัตว์ทุกชนิดแม้นจะต้องเสียชีวิต
5. ราชสีห์หาอาหารไปโดยลำดับ พบปะอาหารในที่ใดก็จะกินเสียจนอิ่มในที่นั้นไม่เลือกว่าดีหรือไม่ดีกินทั้งนั้น
6. ราชสีห์ไม่สะสมอาหาร
7. ราชสีห์อาหารไม่ได้ก็ไม่ดิ้นรน ไม่ทะยาน และไม่กินจนเกินต้องการ
ความเชื่อความนับถือในควาามครงพลังอำนาจกล้าหาญของสิงห์นี้ได้ถูกหยิบยกเปรียบเทียมกันมา
ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันถือว่าเป็นสิ่งใกล้ตัวอยู่คู่คนไทยทุกยุคทุกสมัยไม่เพียงในสยามประเทศเท่านั้น
ชาติอื่นก็ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับสิงห์มากมายในด้านความเชื่อของคนจีน กล่าวว่าพระพุทธเจ้าเคยเกิดเป็นราชสีห์มา
10 ชาติและชาวจีนถือว่าเป็นเครื่องหมายทางศาสนา
ในด้าน สิงห์ได้เข้าเกี่ยวข้อง เช่นอิริยาบทของพระพุทธองค์อิริยาบทหนึ่ง ที่ได้นชื่อไปตั้งคือสีห์ไสยาสนอนแบบราชสีห์
เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 800x600 Tex Size Medium
สร้างสรรค์โดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3
โรงเรียนนวมินทราชูทิศมัชฌิม จังหวัดนครสวรรค์ 6000
SITEMAP
นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน