Ran khaa ya
ผู้ที่เขียนตำราสัตว์หิมพานต์หลายๆ
ท่านเวลาเขียนคำบรรยายนี้มักเหมือนๆกันด้วยมีที่มามาจากแหล่งเดียวกัน
ข้อมูลเดียวกัน พอเขียนรูปแสดงให้เห็น ก็เขียนไม่เหมือนกันสักราย
บางคนก็ว่าสัตว์หิมพานต์เป็นสัตว์ที่ประกอบด้วยกระหนกต่างๆ ที่มีอยู่บนลำตัว
ของสัตว์ชนิดนั้นๆ แต่ที่ยึดถือและเป็นแนวความคิดที่ดีที่สุด
เห็นจะเป็นบทพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ
์พระองค์ท่านได้พระนิพนธ์ถึงสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงรานุภาพว่า
จะย้อนหลังกราบทูลเรื่องสัตว์หิมพานต์เพราะว่าจับใจพระดำรัสยิ่งนัก
ที่ตั้งชื่อว่าสัตว์หิมพานต์นั้น หมายถึง สัตว์ที่ประกอบด้วยกระหนกทกทวยไม่ได้ หมายว่า
เป็นสัตว์ที่อยู่ในหิมพานต์ อันสัตว์ที่อยู่ในหิมพานต์นั้น ก็เป็นสัตว์อย่างตรงๆ ดื้อๆ
เช่นพรรณาถึงสระอโนดาตก็ว่ามีทางน้ำ ไหลออก ๔ ทิศ ทางน้ำไหลออกก็เป็นหน้าม้า
หน้าช้าง หน้าโค หน้าสิงห์ คือ (LION) แล้วก็ตกไปเป็นทางน้ำไหลไปสู่สัตว์เหล่านั้นอยู่ ไม่ปรากฎว่ามีสัตว์อะไรซึ่งไม่มีข้อมูล
สาส์นสมเด็จ ฉบับวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๓ สมด็จฯ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ ทูลสมเด็จฯ
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ว่า มูลของสัตว์หิมพานต์นั้นหม่อมฉันลองคิด วินิจฉัย
ดูเห็นว่าน่าจะเป็นลำดับดังทูลต่อไปนี้
??. คำที่เรียกว่าสัตว์หิมพานต์หมายความว่า
สัตว์อย่างนั้นมีแต่ในป่าหิมพานต์อันมนุษย์สามัญไม่สามารถเห็นตัวจริงได
้เพราะฉะนั้นสัตว์จตุบาทอย่างใดที่เห็นกันดาษดื่น ดังเช่น เสือ ช้าง ม้า วัว
ความ เป็นต้นก็ดีกรือสัตว์ทวิบาท ดังเช่น แร้ง เหยี่ยว และเป็ดไก่ เป็นต้นก็ดี จึงไม่นับเป็นสัตว์หิมพานต์
??. เพราะสัตว์หิมพานต์ไม่เคยได้เห็นตัวจริง ช่างจะเขียนหรือจะปั้นรูปจึงอาศัยแต่จะเอาความที่บ่งไว้ใน
ชื่อเรียกหรือพรรณนาอาการและลักษณะไว้ตามคำโบราณมาคิดประดิษฐ์รูปสัตว์หิมพานต์ขึ้นด้วยปัญญาของตัวเอง คาดว่าคงเป็นเช่นนั้น
??. เมื่อช่างเป็นผู้ต้นคิดได้ทำรูปสัตว์หิมพานต์อย่าใดให้ปรากฎถือเป็นแบบต่อมาแม้จะแก้ไขดูก็เป็นแต่ในทางประดับ
??. รูปสัตว์หิมพานต์เดิมคงมีน้อยอย่าง ดูเหมือนจะมีแต่สัตว์ชื่อปรากฎในพระบาลีและเรียกชื่อเฉพาะสัตว์นั้นๆ ที่มาเรียกรวมกันว่า สัตว์หิมพานต์น่าจะบัญญัติขึ้นต่อภายหลังเมื่อมีรูปสัตว์พวกนั้น
เพิ่มเติมขึ้นอีกมากมาย เหตุที่เพิ่มสัตว์หิมพานต์มีมากขึ้น อาจจะมีเหตุที่
หม่อมฉันยังมิได้คิดเห็น แต่ที่พอคิดเห็นนั้นเห็นว่าน่าจะเกิดแต่ทำเครื่องแห่พระบรมศพ
เดิมทำแต่พอจำนวนเจ้านายขี่อุ้มผ้าไตรไปในกระบวนแห่ตั้งแต่เปลี่ยนทำบุษบกวางไตรบนกลังรูปสัตว์ จึงเพิ่มจำนวนสัตว์ขึ้น
ในโลกนี้มีหลายความเชื่อที่เป็นมูลแห่งจินตนาการศิลปินที่ได้รังสรรค์ผลงานเหล่านั้นขึ้นมา ก็มาจากกระบวนการของความเชื่อถือแล้วพัฒนามาจนกลายเป็นตัว์ที่ไม่มีตัวตนให้เห็นได้จริงๆ
เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 800x600 Tex Size Medium
สร้างสรรค์โดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3
โรงเรียนนวมินทราชูทิศมัชฌิม จังหวัดนครสวรรค์ 6000
SITEMAP
นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน