Ran khaa ya
 
  หน้าแรก
  ประวัติความเป็นมา
  การเตรียมดิน
  การตีกระถางเหลี่ยม
  การตกแต่งกระถาง
  การปั้นบนแป้น
  การวาดลวดลาย
  การเก็บของก่อนเข้าเตา
  การเผากระถาง
  การคัดของ
  การจำหน่าย
  ผู้จัดทำ
  อ. ที่ปรึกษา
  ภูมิหลังและความเป็นมา
ในจังหวัดนครสวรรค์มีหมู่บ้านหนึ่งซึ่งชาวบ้านได้ทำการประกอบอาชีพเครื่องปั้นดินเผาเป็นอาชีพเลี้ยงครอบครัวสืบเนื่องกันมาเป็นเวลาช้านานไม่ต่ำกว่า 150 ปี จนกระทั่งถึงปัจจุบันอาชีพการทำเครื่องปั้นดินเผาก็ยังปรากฏให้เห็นในหมู่บ้าน และเป็นอาชีพหลักซึ่งแตกต่างกับหมู่บ้านอื่นในตำบลนั้น ส่วนใหญ่หมู่บ้านอื่นๆ จะประกอบอาชีพทำนา ทำสวนหรือทำไร่ หมู่บ้านที่กล่าวนี้คือ หมู่บ้านมอญ ตำบลบ้านแก่ง อ.เมือง จ.นครสวรรค์
บ้านมอญ ต.บ้านแก่ง อ.เมือง จ.นครสวรรค์ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดนครสวรรค์ อ.เมือง ต.ปากน้ำโพ ประมาณ 17 กิโลเมตร ดูจากชื่อ “บ้านมอญ“ ก็น่าจะมีความสัมพันธ์กับชาวมอญบ้างอย่างแน่นอน จากการถามชาวบ้านจาหมู่บ้านมอญ ซึ่งเป็นคนเก่าแก่ เช่น ยายสำเภา เลี้ยงสุข อายุประมาณ 80 ปี ซึงยังคงปั้นโอ่งอยู่กับลูกหลานด้วยความชำนาญ และยังพบว่าเครื่องมือที่ใช้ก็ยังเป็นเครื่องมือที่ใช้กันมาตั้งแต่ยุคต้น ๆ แล้ว เช่น แป้นหมุนด้วยมือ เตาเผาโบราณ ซึ่งใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงในการเผา จากการซักถามได้ทราบความเป็นมาของหมู่บ้านมอญในอดีตว่า
ชาวบ้านมอญจำนวน 4 ครอบครัว ได้อพยพหนีสงครามมาจาก อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้แก่
1.ครอบครัว “ เลี้ยงสุข ”
2.ครอบครัว “ ช่างปั้น “
3.ครอบครัว “ เรืองบุญ “
4.ครอบครัว “ แก้วสุทธิ ”
ครอบครัวมอญดังกล่าวมีความชำนาญในการปั้นโอ่งเป็นอาชีพเลี้ยงครอบครัว ในช่วงแรก ๆ ที่อพยพมาก็ปั้นโอ่งขายในแถวบ้านใกล้เคียง โดยนำดินเหนียวจากบริเวณบึงในเขตอำเภอบ้านแก่งมาทดลองเผา ปรากฏว่าเป็นดินที่ใช้ได้ เผาแล้วเนื้อดินไม่แตกรานและไม่ประทุเมื่อใส่ไฟแรงจึงได้ใช้ดินเหนียว ในบริเวณนั้นมาปั้นตลอดโดยไม่มีวันหมด เนื่องจากเวลาน้ำท่วมบึงดินเหนียวในบริเวณใกล้เคียงมาทับถมใหม่ มีสภาพเป็นดินเหนียวที่ใช้ปั้นและเผาได้อย่างมีคุณภาพที่ดีเช่นเดิม นับว่าสภาพสิ่งแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อชาวบ้านมอญในการประกอบอาชีพเป็นอย่างยิ่ง
   

เว็บนี้แสดงผลได้ดีในความละเอียด 800x600 Text Size Medium
สร้างสรรค์โดยนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5/4
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชณิม อ.เมือง จ.นครสวรรค์

SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน