Ran khaa ya
   
 
 
พระราชอัจฉริยภาพด้านดนตรี  

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความสนพระราชหฤทัยในด้านดนตรีมาตั้งแต่ยัง ทรงพระเยาว์ ดังที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวง นราธิวาสราชนครินทร์ ทรงพระนิพนธ์ไว้ในบทพระนิพนธ์ "เจ้านายเล็กๆยุวกษัตริย์" ความตอนหนึ่งว่า
          "เมื่อถึงเวลาสนพระทัยแผ่นเสียงก็แข่ง กันอีก รัชกาลที่ ๘ ทรงเลือก Louis Armstrong และ Sidey Bechetรัชกาลที่ ๙ ทรงเลือก Duke Ellington และ Count Banc เกี่ยวกับการซื้อแผ่น เสียงนี้ ถ้าเป็นแจ๊สต้องซื้อเอง ถ้าเป็นคลาสสิกเบิกได้"
          "สิ่งที่ทรงเล่นมาด้วยกันเป็นเวลานานคือ ดนตรี รัชกาลที่ ๘ ทรงเริ่มด้วยเปียโนเพราะเห็น ข้าพเจ้าเรียนอยู่ รัชกาลที่ ๙ ขอเล่นหีบเพลง (accordian) เรียนอยู่ไม่กี่ครั้งก็ทรงเลิก "เพราะไม่เข้ากับเปียโน" แล้วรัชกาลที่ ๘ ก็ทรงเลิกเรียนเปียโนไป เมื่ออยู่ที่อาโรซ่า เวลาหน้า หนาว ได้ทอดพระเนตรวงดนตรีวงใหญ่ที่เล่นอยู่ที่โรงแรม รู้สึกอยากเล่นกัน ทรงหาแซกโซโฟนที่เป็น ของใช้แล้ว (second hand) มาได้ ราคา ๓๐๐ แฟรงค์ แม่ออกให้ครึ่งหนึ่งและสโมสร ปาตาปุมออก ให้อีกครึ่งหนึ่ง เมื่อครูมาสอนที่บ้าน รัชกาลที่ ๘ ทรงดันพระอนุชาเข้าไปในห้องเรียน รัชกาลที่ ๙ จึงเป็นผู้เริ่ม เมื่อเรียนไปแล้ว ๒ - ๓ ครั้ง รัชกาลที่ ๘ ทรงซื้อแคลริเน็ต (clarinet) ส่วนพระองค์ วันเรียน ครูสอนองค์ละ ๓๐ นาที แล้วครูก็เอาแซกโซโฟน (saxophone) ของเขาออกมา และเล่นด้วยกันทั้ง ๓ เป็น trio"

          ทั้งนี้ ด้วยพระอัจฉริยภาพส่วนพระองค์ ประกอบกับการฝึกฝนด้วยพระองค์เองอย่างสม่ำเสมอ ทำให้พระองค์เป็นนักดนตรีผู้มีฝีมือระดับสูง ทรงมีพระปรีชาสามารถในการเป่าโซปราโนแซ็กโซโฟนได้อย่างดีเยี่ยม นอกจากนี้ ยังเคยทรงแซ็กโซโฟนและแคลริเน็ต โต้ตอบกับนักดนตรีแจ๊สที่มีชื่อเสียงของโลก อย่างเช่น เบนนี่ กู๊ดแมน (Benny Goodman) หรือสแตน เก็ทซ์ (Stan Getz) ได้อย่างคล่องแคล่วอีกด้วย
          นอกจากจะทรงดนตรีได้เป็นเลิศแล้ว พระองค์ยังเป็นนักดนตรีที่เอาพระทัยใส่ในเรื่องการบำรุงรักษาเครื่องดนตรี โดยเครื่องดนตรีส่วนพระองค์ จะทรงทำความสะอาดเอง ทรงเก็บเอง และยังทรงเป็นครูสอนช่างซ่อมเครื่องดนตรีอีกด้วย โดยเฉพาะการซ่อมแตรที่จะทรงทราบวิธีซ่อมเป็นอย่างดี
          นอกจากการทรงดนตรีในประเทศไทยแล้ว เมื่อเสด็จฯ เยือนต่างประเทศ ก็ได้แสดงพระอัจฉริยภาพในการแสดงดนตรีร่วมกับนักดนตรีที่มีชื่อเสียงโดยมิได้เตรียมพระองค์มาก่อน นอกจากจะทรงได้รับการยกย่องถึงความมีอัจฉริยภาพดังกล่าวแล้ว พระองค์ยังทรงใช้ดนตรีเป็นเครื่องกระชับสัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้านให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นอีกด้วย
          ไม่เพียงแต่พระองค์จะทรงสนพระราชหฤทัยในดนตรีสากลเท่านั้น แต่ยังได้ทรงสนับสนุนการทางด้านดนตรีไทยด้วย โดยได้มีพระราชประสงค์ที่จะอนุรักษ์ดนตรีไทยและนาฏศิลป์ไทยให้อยู่คู่กับชาติไทยตลอดไป นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีครอบประธานครูโขนละคร และต่อกระบวนท่ารำเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ซึ่งเป็นเพลงหน้าพาทย์สูงสุดในวิชาดนตรีและนาฏศิลป์ไทยอีกด้วย

   
       
     
เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดีบนความละเอียด 800 x 600 Text Size Medium
สร้างสรรค์โดยนักเรียนโรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม
การแข่งขันเว็บไซต์ ในงานครบรอบวันสถาปนามหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปีที่ 11
   
       
SITEMAP ?????????????????????
??????????????????
?????????