Ran khaa ya
 
หน้าแรก
วัดศรีอุทุมพร
ถ่ำบ่อยา
วนอุทยานเขาหลวง
ถ่ำเขาฤาษี
บ้านหนองกรด
บ้านวังเดื่อ
คณะผู้จัดทำ
 
 
 

อุทยานเขาหลวง

ประวัติความเป็นมา
         อุทยานเขาหลวงได้รับการประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2539 เพื่อฉลองกรมป่าไม้ครบ
รอบ100 ปี ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาหลวง ท้องที่จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดอุทัยธานีเนื้อที่ 59,375 ไร่ หรือ 95ตารากิโลเมตร

         ก่อนการจัดตั้งวนอุทยานพบว่าทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ได้ถูกใช้ประโยชน์โดยขาดการควบคุมตลอดจนปัญหาด้านไฟป่า ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมลง มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของชุมชนที่อาศัยโดยรอบและใกล้เคียง
กรมป่าไม้จึงได้จัดตั้ง วนอุทยานเขาหลวงขึ้นเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพพื้นที่มีวามอุดมสมบูรณ์เอื้อประโยชน์ให้ชาวนครสวรรค์และใกล้เคียงตลอดไป
วัตถุประสงค์
          1.เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูแหลงต้นน้ำลำธารและทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะป่าไม้และสัตว์ป่าให้คงความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติอำนวยประโยชน์ต่อสังคมอย่างยั่งยืนตลอดไป
          2.เพื่อการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง และวิจัยทางด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่วนอุทยาน
          3.เพื่อส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหลงศึกษาหาความรู้ทางธรรมชาติ ด้านการอนุรักษ์ ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่ามุ่งเน้นการใช้ประโยชน์ในรูปแบบการฝึกอบรม การทัศนะศึกษา และการเข้าค่ายพักแรมของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป
           4.เพื่อส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว พักผ่อนหย่องใจ ของประชาชนทั่งไป รองรับนโยบายส่งเสริมทางด้านท่องเที่ยวของจังหวัดนครสวรรค์และใกล้เคียง

สภาพพื้นที่
         สภาพภูมิประเทศเป็นเขาสูงชันด้านทิศตะวันตกของจังหวัดนครสวรรค์ ทอดตัวแนวทิศเหนือ – ใต้ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นเขาหินปูน มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ มียอดเขาหลวง เป็นยอกเขาสูงที่สุด สูง 772 เมตรจากระดับน้ำทะเล สภาพป่าเป็นป่าเบญจพรรณแล้ง เป็นแห่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด

 

และยังเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของคลองวังม้า คลองบางประมุงในเขตจังหวัดนครสวรรค์ และลำห้วยสาขาของแม่น้ำสะแกกรังในเขตจังหวัดอุทัยธานี

จุดเด่นในพื้นที่
          ยอดเขาหลวง เป็นยอดเขาสูงที่สุด สูง 772 เมตรจากระดับน้ำทะเล บนยอดเขาเหมาะแก่การพักค้างแรมเนื่องจากอากาศเย็นสบายและหนาวมากในฤดูหนาว มีจุดชมวิวที่สวยงาม มีบอขุดทองคำขนาดใหญ่ มีบ่อน้ำซับที่ชาวบ้านเรียกว่า สระแก้ว มีพระพุทธรูป 1 องค์ประดิษฐานบนยอดเขาหลวงสร้างขึ้นในสมัยหลวงพ่อจ้อย มียอดเขาเขียวที่สูงรองลงมา
ถ้ำบอยา เป็นที่ตั้งของวัดถ้ำบ่อยา เป็นถ้ำขนาดใหญ่อยู่ตอนเหนือของเขาหลวง ถ้ำเขาพระ เป็นถ้ำที่มีขนาดเล็กอยู่ด้านหลังสำนักปริวาสกรรมของหลวงพ่อจ้อย ถ้ำธารทิพย์ และ เขาหินปูน ที่มีรูปร่างสวยงามอยู่ใกล้กับที่ทำการวนอุทยานเขาหลวง

การคมนาคม
         การเดินทางเข้าสู่วนอุทยานเขาหลวง สามารถเดินทางได้สะดวกในทุกฤดูกาล โดยมีเส้นทางหลักคือ จากจังหวัดนครสวรรค์ – บ้านหนองเบน และแยกซ้ายไปบ้านวังเดื่อ – บ้านผาแดง – วนอุทยานเขาหลวง รวมระยะทางทั้งสิ้น 29 กิโลเมตร
Khao Luang Forest Park วนอุทยานเขาหลวง
         วนอุทยานเขาหลวงอยู่ในท้องที่ตำบลวังม้า อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
และจังหวัดอุทัยธานี อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาหลวง มีเนื้อที่ประมาณ 59,375 ไร่ โดยกรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที ่ 22 กุมภาพันธ์ 2539

การเดินทาง
         เดินทางจากจังหวัดนครสวรรค์ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (สายนครสวรรค์-กำแพงเพชร) ถึงตลาดหนองเบน ระยะทาง 17 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายสู่ทางหลวงหมายเลข 1072 (สายอำเภอลาดยาว) ถึงแยกเข้าวัดศรีอุทุมพร ระยะทาง 5 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าวัดศรีอุทุมพรอีก 7 กิโลเมตร ก็จะถึงวนอุทยานเขาหลวง รวมระยะทางจากจังหวัดนครสวรรค์ถึงวนอุทยานเขาหลวงเป็ นระยะทาง 29 กิโลเมตร

กิจกรรม
        เดินป่าศึกษาธรรมชาติ ชมนกชมไม้ เที่ยวถ้ำใกล้ๆในวนอุทยานเขาหลวงและขึ้นไปบนยอนเขา
หลวงสูงจากระดับน้ำทะเล 772 เมตร

สถานที่ท่องเที่ยวใกล้ๆวนอุทยานเขาหลวง
          ถ้ำเขาพระ
          ถ้ำบ่อยา
          ยอดเขาหลวงวนอุทยานเขาหลวง

ข้อมูลทั่วไป
          วนอุทยานเขาหลวง อยู่ในท้องที่ตำบลวังม้า อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดอุทัยธานี อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาหลวง มีเนื้อที่ประมาณ 59,375 ไร่ โดยกรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2539

ลักษณะภูมิประเทศ

         เป็นภูเขาสูงชัน ตั้งอยู่โดดเดี่ยวบนพื้นที่ราบทางทิศตะวันตกของจังหวัดนครสวรรค์ มียอดเขาหลวงเป็นยอดเขาสูงสุดสูง 772 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง และยอดเขาเขียวเป็นยอดเขาสูงรองลงมาสูง 762 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง สภาพโดยทั่วไปเป็นภูเขาหินปูน สูงสลับซับซ้อน พื้นที่ส่วนใหญ่มีความลาดชันมากกว่า 35% ป่าบนยอดเขามีความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของคลองวังม้าและคลองบางละมุงในเขตจังหวัดนครสวรรค์

พืชพรรณและสัตว์ป่า
          ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าโปร่งผสมผลัดใบมีไม้ขนาดเล็ก-กลาง มีไม้ไผ่ขึ้นหนาแน่น พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ มะกอก เสี้ยว งิ้วป่า ตะแบก แดง ประดู่ เป็นต้น
          ป่าเต็งรัง พบบริเวณเชิงเขาที่สูงไม่มากนัก มีไม้ขนาดเล็กเป็นส่วนใหญ่ มีหญ้าปกคลุมพื้นป่า ไฟไหม้เกือบทุกปี พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง ประดู่ พลวง เหียง มะค่าแต้ ไผ่รวก เป็นต้น
          ป่าดิบแล้ง พบบริเวณยอดเขา หุบเขา ลำห้วย พื้นป่ารกทึบ ประกอบด้วยไม้พุ่มเถาวัลย์ หวาย กล้วยไม้ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ตะเคียนทอง ยางขาว มะไฟป่า ตีนเป็ด สมพง เสลา ยมหิน เป็นต้น
ยอดเขาหลวง
         ยอดเขาหลวง เป็นยอดเขาสูงสุดสูง 772 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง บนยอดเขามีอากาศเย็นสบาย และหนาวมากในฤดูหนาว มีจุดชมวิวที่สวยงาม มีบ่อขุดทองคำ ถ้ำน้ำและบ่อน้ำซับ
ถ้ำบ่อยา
ถ้ำบ่อยา เป็นถ้ำขนาดใหญ่มีความซับซ้อน เป็นที่ตั้งของวัดบ่อถ้ำยา อยู่บริเวณตอนเหนือของเทือกเขาหลวง
ถ้ำเขาพระ
ถ้ำเขาพระ เป็นถ้ำขนาดเล็ก มีความสวยงามตามธรรมชาติ
สถานที่ติดต่อ
     วนอุทยานเขาหลวง
         ต.วังม้า อ. ลาดยาว จ. นครสวรรค์ 60150
โทรศัพท์ 0 5622 1140, 0 5623 1416 โทรสาร 0 5622 2735 อีเมล [email protected]

การเดินทาง
     รถยนต์
         เดินทางจากจังหวัดนครสวรรค์ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (สายนครสวรรค์-กำแพงเพชร) ถึงตลาดหนองเบน ระยะทาง 17 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายสู่ทางหลวงหมายเลข 1072 (สายอำเภอลาดยาว) ถึงแยกเข้าวัดศรีอุทุมพร ระยะทาง 5 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าวัดศรีอุทุมพรอีก 7 กิโลเมตร ก็จะถึงวนอุทยานเขาหลวง รวมระยะทางจากจังหวัดนครสวรรค์ถึงวนอุทยานเขาหลวงเป็นระยะทาง 29 กิโลเมตร
ชื่อหน่วยงาน วนอุทยานเขาหลวง ท้องที่จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดอุทัธยาน ีสังกัด สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์)
ส่วนอุทยานแห่งชาติ
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ความเป็นมา
         ป่าเขาหลวง ได้รับอนุมัติจากกรมป่าไม้ให้จัดตั้งเป็นวนอุทยานเขาหลวง เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2539 ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาหลวง แปลง 1 ท้องที่จังหวัดนครสวรรค์และป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาหลวง แปลง 2 ท้องที่จังหวัดอุทัยธานีมีเนื้อที่ตามแนวเขตป่าอนุรักษ์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่ใช้ดำเนินการจัดตั้ง วนอุทยานรวม 2 แปลงติดต่อกัน รวมทั้งสิ้น 59,375 ไร่ หรือ 95 ตารางกิโลเมตรวนอุทยานเขาหลวง มีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูงชัน ตั้งอยู่โดดเดี่ยวบนพื้นที่ราบ มียอดเขาสูงสุดคือ ยอดเขาหลวง สูงเท่ากับ 772 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหล่อเลี้ยงชุมชนที่อาศัยอยู่โดยรอบมาตั้งแต่อดีต มีทรัพยากรป่าไม้ที่มีคุณค่า ทั้งสภาพป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังและมีพืชสมุนไพรที่มีค่า และหายากจำนวนมาก เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยที่สำคัญของสัตว์ป่านานาชนิด นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่ ธรรมชาติบนยอดเขาหลวง จุดชมวิวบนสันเขา/หน้าผา ถ้ำ ฯลฯ วนอุทยานเขาหลวง นับว่ามีสภาพธรรมชาติที่สวยงาม อากาศบนยอดเขาเย็นสบาย เหมาะแก่การท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจ และอยู่ไม่ห่างไกลชุมชนมากนักในอดีตที่ผ่ามาพบว่าทรัพยากรธรรมชาติในเขตวนอุทยานเขาหลวงได้ถูกบุกรุกทำลายจากมนุษย์ โดยเฉพาะการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า การล่าสัตว์ การลักลอบหาของป่าและพืชสมุนไพรโดยปราศจากการควบคุม ตลอดจนปัญหาด้านไฟป่า ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติในวนอุทยานเขาหลวงเสื่อมโทรมลงจนใกล้วิกฤติ โดยเฉพาะปัญหาในเรื่องแหล่งน้ำตามลำห้วยลำธาร ที่ในอดีตมีน้ำไหลตลอดปี ต้องเหือดแห้งลงในฤดูแล้ง ทำให้ไม่มีน้ำหล่อเลี้ยงในชุมชนรอบๆได้ อีกทั้งสภาพธรรมชาติที่สวยงามก็ถูกทำลายลง จึงทำให้ราษฎรที่อาศัยอยู่ใกล้เคียง ตลอดจนหน่วยงานราชการ วัด และสื่อมวลชน ได้เสนอแนะให้ทางราชการเร่งหามาตรการที่จะอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติแห่งนี้ ให้กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ดังนั้นกรมป่าไม้ โดยป่าไม้เขตนครสวรรค์ จึงได้ดำเนินการประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเขาหลวงขึ้นมา เพื่อให้ได้รับการจัดการทางด้านวิชาการ อย่างมีระบบแบบแผนที่ถูกต้อง เอื้ออำนวยประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์และส่งเสริมการท่องเที่ยว แก่ประชาชนโดยส่วนรวมตลอดไป

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งวนอุทาน
         1.เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งต้นน้ำลำธารและทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่วนอุทยาน โดยเฉพาะด้านป่าไม้และสัตว์ป่า ให้คงความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อสังคมอย่างยั่งยืนตลอดไป
         2.เพื่อศึกษา ค้นคว้า ทดลอง และวิจัยทางด้านวิชาการเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่วนอุทยาน
         3.เพื่อส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ทางธรรมชาติด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์ในรูปแบบการฝึกอบรม การทัศนศึกษา และการเข้าค่ายพักแรมของนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนโดยทั่วไป
         4.เพื่อส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ ของประชาชนโดยทั่วไป รองรับนโยบายการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดใกล้เคียงต่อไปในอนาคต

ที่ตั้งและอาณาเขต
         วนอุทยานเขาหลวงอยู่เขตรอยต่อของจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดอุทัยธานี อยู่ในเขตปกครองดังนี้
         จังหวัดนครสวรรค์ ท้องที่
         ตำบลหนองกรด อำเภอเมือง
         ตำบลวังม้า อำเภอลาดยาว
         ตำบลบางประมุง อำเภอโกรกพระ
         ตำบลนากลาง อำเภอโกรกพระ
         ตำบลศาลาแดง อำเภอโกรกพระ
         ตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ
         จังหวัดอุทัยธานี ท้องที่
         ตำบลหนองหลวง อำเภอสว่างอารมณ์
         ตำบลโคกหม้อ อำเภอทัพทัน
คิดเป็นเนื้อที่วนอุทยานเขาหลวง(เนื้อที่ป่าอนุรักษ์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาหลวง)ทั้งสิ้น ประมาณ 59,375 ไร่ หรือ 95 ตารางกิโลเมตร
การเข้าถึงและเส้นทางคมนาคม
         การเดินทางเข้าถึงพื้นที่วนอุทยานเขาหลวง สามารถเดินทางได้หลายเส้นทางด้วยกัน แต่เส้นทางที่สะดวกที่สุดที่สามารถเดินทางได้มีดังนี้
-จากนครสวรรค์ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1 (สายนครสวรรค์-กำแพงเพชร)ถึงตลาดหนองเบน เป็นระยะทาง 17 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายสู่เส้นทางหลวงหมายเลข 1072(สายไปอำเภอลาดยาว) จนถึงปากทางแยกเข้าวัดศรีอุทุมพรอีก 7 กิโลเมตร จนถึงวนอุทยานเขาหลวง รวมระยะทาง 29 กิโลเมตร

ลักษณะทางนิเวศวิทยา
          1.ลักษณะภูมิประเทศ
         วนอุทยานเขาหลวงเป็นภูเขาสูงชัน ตั้งอยู่โดดเดี่ยวบนพื้นที่ราบทางทิศตะวันตกของจังหวัดนครสวรรค์ มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 95 ตารางกิโลเมตร มียอดเขาหลวงเป็นยอดเขาสูงสุด คือสูง
772 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง และยอดเขาเขียวเป็นยอดเขาสูงรองลงมา คือ สูง 762 เมตร
จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปของวนอุทยานเขาหลวง จัดเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นภูเขาหินปูน พื้นที่ส่วนใหญ่มีความลาดชันมากกว่า 35 % มีสภาพป่าบนยอดเขาค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของคลองวังม้า คลองบางประมุง ละเป็นต้นน้ำลำธารของห้วยเล็กห้วยน้อยที่ไหลลงสู่แม่น้ำสะแกกรัง
         2. ชนิดป่าและพืชพรรณ
         2.1ป่าเบญจพรรณ(Mixed Deciduous Forest)
          พบบริเวณตีนเขาขึ้นไปตามเชิงเขา บนสันเขา และบริเวณพื้นที่ป่าใกล้ยอดเขาหลวงบางส่วน จัดเป็นป่าโปร่งผสมผลัดใบ ประกอบด้วยไม้หลายชนิดขึ้นปะปนกัน เป็นไม้ขนาดเล็ก-ขนาดกลางเป็นส่วนใหญ่ พื้นป่าไม่รกทึบ มีไม้ไผ่ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น ในฤดูแล้งต้นไม้เกือบทุกชนิดจะผลัดใบ และเกิดไฟไหม้ป่าทุกปี
         2.2ป่าเต็งรัง(Dry Dipterocarps Forest)
          พบบริเวณตีนเขา เชิงเขา และบริเวณสันเขาที่ไม่สูงมาก เป็นป่าที่มีไม้ขนาดใหญ่ถูกลักลอบตัดฟันไปเป็นจำนวนมาก คงเหลือแต่ไม้ขนาดเล็ก ขึ้นกระจัดกระจายทั่วไป พื้นป่าไม่รกทึบ มีหญ้าขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไป พื้นป่าถูกไฟไหม้ทุกปี
         2.3ป่าดงดิบแล้ง(Dry evergreen Forest)
          พบบริเวณพื้นที่ราบบนยอดเขา ตามหุบเขาหรือตามลำห้วย เป็นป่าที่แปรสภาพมาจากป่าดงดิบชื้น สภาพดินเป็นดินร่วนหรือดินเหนียว หรือดินเหนียวปนทราย ดินมีความชุ่มชื้น พื้นป่ารกทึบประกอบด้วย ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก ไม้เถาวัลย์ หวาย กล้วยป่า ไผ่ชนิดต่างๆ และมีเฟิน กล้วยไม้ เกาะอยู่ทั่วไป ในสภาพปัจจุบัน แม้ต้นไม้ขนาดใหญ่ จะถูกลักลอบตัดฟันไปเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังปรากฏไม้เรือนยอดขนาดรอง ไม้หนุ่ม กล้าไม้ชนิดต่างๆ ขึ้นปะปนกันอยู่อย่างหนาแน่น โดยเฉพาะบริเวณยอดเขาสูงสุด ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักสงฆ์เก่าของหลวงพ่อจ้อย จันทสุวรรณโน ยังคงปรากฏพบไม้ใหญ่ชนิดต่างๆ มากกว่าบริเวณจุดอื่นๆพืชสมุนไพร(Medicinal plant or Herb)พื้นที่วนอุทยานเขาหลวง นับว่าเป็นพื้นที่ที่มีพืชสมุนไพรมีค่าและหายากนานาชนิดจำนวนมาก โดยเฉพาะบนยอดเขาหลวงเป็นที่กล่าวขานกันในหมู่ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับพืชสมุนไพรเป็นอย่างมาก
          3. สัตว์ป่า
          ในอดีตวนอุทยานเขาหลวง มีสัตว์ป่าขนาดใหญ่และขนาดเล็ก อาศัยอยู่อย่างชุกชุมมากต่อมาเมื่อมีการลักลอบบุกรุกตัด ไม้ทำลายป่าและล่าสัตว์ป่ากันมากขึ้นติดต่อกันเรื่อยมา มีผลทำให้สัตว์ป่าขนาดใหญ่และสัตว์ป่าบางชนิดต้องอพยพเคลื่อนย้าย หรือสูญพันธุ์ไปจากพื้นที่ เนื่องจากความไม่เหมาะสมของแหล่งที่อยู่อาศัย และการคุกคามจากมนุษย์

จุดชมวิว

          1.จุดชมวิวยอดเขาเขียว-ยอดเขาหลวง ที่ความสูง 772 เมตรจากระดับน้ำทะเล
สามารถชมทิวทัศน์ในระดับสูงของจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดอุทัยธานีได้ เส้นทางเดินขึ้นเขามีความลาดชันมาก และท้าทายสำหรับนักผจญภัย พื้นที่รองรับการพักแรมบนยอดเขาจำนวน 10 เต้นส์(20 คน) ระยะทางประมาณ 4-5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางขาขึ้นประมาณ 4-5 ชั่วโมง เหมาะสำหรับนักผจญภัย นักเรียน นักศึกษาและประชาชนโดยทั่วไป ช่วงเวลาในการท่องเที่ยวระหว่างเดือนตุลาคม-เดือนกุมภาพันธ์

          2.จุดชมวิวหลังสำนักงานวนอุทยานเขาหลวง เป็นเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติระยะสั้น บนยอดเขาสามารถชมทิวทัศน์ในระดับสูงที่ลดหลั่นลงมาของจังหวัดนครสวรรค์ได้ พื้นที่รองรับ
การพักแรมบนยอดเขาจำนวน 10 เต้นส์(20 คน) ระยะทางประมาณ 3-5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1-2 ชั่วโมง เหมาะสำหรับนักเรียน นักศึกษาและประชาชนโดยทั่วไป ช่วงเวลาในการท่องเที่ยวระหว่างเดือนตุลาคม-เดือนกุมภาพันธ์
    

          3.ถ้ำธารทิพย์ อยู่บริเวณหลังสำนักงานวนอุทยานเขาหลวง ระยะทางประมาณ
300 เมตรถึงปากถ้ำ การชมถ้ำใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง ภายในมีห้องต่างๆมากกว่า 12
ห้อง มีหินงอกหินย้อยที่มีลักษณะแตกต่างกันไปตามจินตนาการ ซึ่งเป็นถ้ำที่ยังคงความสมบูรณ์และ
เป็นธรรมชาติมากที่สุด เหมาะสำหรับนักเรียน นักศึกษาและประชาชนโดยทั่วไป ช่วงเวลาในการท่องเที่ยวระหว่างเดือนตุลาคม-เดือนเมษายน

            4.น้ำตกหินดาต,น้ำตกโกรกพนม,น้ำตกโกรกเสลา,น้ำตกโกรกกระแป๋ง และน้ำตกโกรกซ่า เหมาะสำหรับนักเรียน นักศึกษาและประชาชนโดยทั่วไป ช่วงเวลาในการท่องเที่ยวระหว่างเดือนมิถุนายน-เดือนกันยายน
            5.ลานกางเต้นส์ บริเวณสำนักงานวนอุทยานเขาหลวง พื้นที่รองรับการพักแรมได้ จำนวน 200-300 คน มีลานสำหรับทำกิจกรรม และมีเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติระยะสั้นอยู่ในโซนเดียวกัน มีห้องน้ำระบบไฟฟ้าและร้านค้า สวัสดิการในการอำนวยความสะดวก เหมาะสำหรับนักเรียน นักศึกษาและประชาชนโดยทั่วไป
           6.เส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ สำหรับนักเรียน นักศึกษาและประชาชนโดยทั่วไปที่ต้องการศึกษาธรรมชาติ ในผืนป่าเขาหลวง จำนวน 2 เส้นทาง ระยะทาง 3-5 กิโลเมตรเส้นทางเดินป่าจะผ่านถ้ำธารทิพย์ จำนวน 1 เส้นทาง สำหรับกิจกรรมนี้ใช้ระยะเวลา 1 วัน

สถานที่ติดต่อ
            ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์)
เบอร์โทรศัพท์ 056-221140 ต่อ129,131 หรือกด 0 ต่อส่วนอุทยานฯ
นายนิคม พูลทวี หัวหน้าวนอุทยานเขาหลวง บ้านผาแดง หมู่ที่ 15 ตำบลหนองกรด
อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 60240 เบอร์โทรศัพท์ 08-5815-0981

          วนอุทยานเขาหลวงตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเขาหลวงแปลงที่ 1 จังหวัดนครสวรรค์ และแปลงที่ 2 จังหวัดอุทัยธานี มีพื้นที่รวมกัน 71,562 ไร่ หรือ 114.5 ตาราง -กิโลเมตร กรมป่าไม้ได้ดำเนินการจัดตั้งเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2539
ลักษณะพื้นที่
           วนอุทยานเขาหลวงเป็นเทือกเขาตั้งโดดเดี่ยวทางด้านตะวันตกของจังหวัดนครสวรรค์มียอดเขาหลวงสูง 772 เมตรจากระดับน้ำทะเล ภูเขาส่วนใหญ่เป็นหินปูน ดินร่วนปนทรายหรือดินผสมหินปูนที่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ป่าในวนอุทยานมี 3 ชนิดคือ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าดงดิบแล้ง ในป่าเต็งรังจะพบพรรณไม้ที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก พบต้นเต็ง รัง เหียง พลวง ประดู่ป่า มะค่าแต้ ปรงป่า ได้บ้าง ป่าเบญจพรรณประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิดขึ้นปะปนกันเช่น มะกอก งิ้ว ตะแบก มะค่าแต้ ประดู่ แดง ชิงชัน หว้า ผักหวาน จันทร์ผา พยอม แคทราย ไผ่ซาง ไผ่เงก ไผ่ป่า ไผ่นวล เป็นต้น ส่วนป่าดิบแล้งจะพบบริเวณที่ราบบนยอดเขา หุบเขา หรือริมลำห้วย พบไม้ขนาดใหญ่ เช่น ตะเคียนทอง ตาเสือ มะไฟป่า สมพง ตีนเป็ด สะทิต เสลา ตะแบก ยมหิน ยมหอม มะขวาด มะแฟน ดีหมี ประคำดีควาย กันเครา ชิงชัน พฤกษ์ มะกอก มะกล้าต้น หวาย กล้วยป่า เฟิน สัตว์ป่าจะพบได้เพียงสัตว์ป่าที่มีขนาดเล็ก และนกเท่านั้น เช่น ไก่ป่า ไก่ฟ้าพญาลอ เก้ง ลิง หมูป่า อีเห็น เสือขนาดเล็ก ค้างคาว เป็นต้น
จุดเด่นที่น่าสนใจ
          วนอุทยานเขาหลวงมีจุดน่าสนใจหลายแห่ง ได้แก่

           ยอดเขาหลวง เป็นยอดสูงสุดของเทือกเขาหลวง มีส่วนเป็นที่ราบ สามารถพักค้างแรมได้มีลมพัดคลอดเวลา อากาศเย็นสบายและยังมีจุดชมวิวซึ่งสามารถมองเห็นตัวเมืองในอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี ได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีบ่อขุดทองคำขนาดใหญ่จำนวน 1 บ่อและบ่อเล็กประมาณ 20 บ่อ ซึ่งราษฎรได้เข้ามาตามลายแทงเมื่อกว่า 50 ปีมาแล้ว บนยอดเขายังพบบ่อน้ำซับหลายแห่งชาวบ้านเรียก “สระแก้ว” โดยมีความเชื่อว่าน้ำในบ่อสามารถรักษาโรคได้ ขึ้นไปยอดเขาจะต้องใช้เวลาเดิน 3 - 4 ชั่วโมง
ยอดเขาเขียว เป็นยอดเขาที่สูงรองจากยอดเขาหลวงอยู่ในระดับ 762 เมตรจากระดับน้ำทะเล อยู่ด้านทิศใต้ของเขาหลวง มีทางเดินเชื่อมกันตามแนวสันเขาประมาณ 4-5 กิโลเมตร บนยอดเขาจะพบ “บ่อขุดทองคำ” เชื่อมกับ “บ่อน้ำซับ” และ “ถ้ำน้ำ” ซึ่งเป็นโพรงถ้ำขนาดเล็ก มีน้ำซึมตามผนังถ้ำตลอดปี
ถ้ำบ่อยา เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่อยู่ทางทิศเหนือ เป็นทางวัดถ้ำบ่อยาใช้เป็นที่นั่งวิปัสสนา
ถ้ำเขาพระ เป็นถ้ำขนาดเล็ก อยู่ด้านเหนือสุดของเทือกเขาหลวง สภาพภายในถ้ำค่อนข้างสมบูรณ์ อยู่หลังสำนักปริวาสกรรมหลวงพ่อจ้อย
ถ้ำเขาประทุน เป็นถ้ำหินปูนขนาดเล็ก ที่อยู่เหนือถ้ำบ่อยาขึ้นไป มีสภาพสมบูรณ์
          การเดินทาง
          การเดินทางสู่วนอุทยานเขาหลวง มีหลายเส้นทางแต่ที่สะดวกที่สุด ก็คือการเดินทางจากจังหวัดนครสวรรค์ ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1 (นครสวรรค์ - กำแพงเพชร) ระยะทาง 17 กิโลเมตร ถึงบ้านหนองเบนเลี้ยวซ้ายสู่ทางหลวงหมายเลข 1072 (อำเภอลาดยาว) แยกเข้าวัดศรี -อุทุมพรอีก 7 กิโลเมตร จนถึงวนอุทยานเขาหลวงรวมระยะทางทั้งหมด 29 กิโลเมตร
สิ่งอำนวยความสะดวก
วนอุทยานเขาหลวง ไม่มีบ้านพักหรือค่ายพักแรมบริการแก่นักท่องเที่ยว หากนัก ท่องเที่ยวมีความประสงค์จะไปพักแรมค้างคืนและพักผ่อนหย่อนใจ หรือศึกษาหาความรู้ทางธรรมชาติโปรดนำเต้นท์ไปกางเอง โดยทางวนอุทยานได้จัดสถานที่ไว้ให้พร้อมกับห้องสุขา ส่วนเรื่องอาหารต้องจัดเตรียมไปเอง แล้วไปติดต่อขออนุญาตใช้สถานที่กับเจ้าหน้าที่วนอุทยานเขาหลวงโดยตรง ราย -ละเอียดสอบถามได้ที่สำนักงานป่าไม้เขตนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โทร. (056) 221140 หรือที่ฝ่ายจัดการวนอุทยาน ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ เขตจตุจักร กรุงเทพ ฯ 10900 โทร. 5614292 - 3 ต่อ 719 ในวันและเวลาราชการ

วนอุทยานเขาหลวง
            เป็นเขา หินปูน สูงสลับซับซ้อน พื้นที่ส่วนใหญ่มีความลาดชันมากกว่า 35% ป่าบนยอดเขามีความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของคลองวังม้าและคลองบางละมุงในเขตจังหวัดนครสวรรค์
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าโปร่งผสมผลัดใบมีไม้ขนาดเล็ก-กลาง มีไม้ไผ่ขึ้นหนาแน่น พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ มะกอก เสี้ยว งิ้วป่า ตะแบก แดง ประดู่ เป็นต้น
ป่าเต็งรัง พบบริเวณเชิงเขาที่สูงไม่มากนัก มีไม้ขนาดเล็กเป็นส่วนใหญ่ มีหญ้าปกคลุมพื้นป่า ไฟไหม้เกือบทุกปี พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง ประดู่ พลวง เหียง มะค่าแต้ ไผ่รวก เป็นต้น
ป่าดิบแล้ง พบบริเวณยอดเขา หุบเขา ลำห้วย พื้นป่ารกทึบ ประกอบด้วยไม้พุ่มเถาวัลย์ หวาย กล้วยไม้ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ตะเคียนทอง ยางขาว มะไฟป่า ตีนเป็ด สมพง เสลา ยมหิน เป็นต้น

 
 
 
 
เว็บไซด์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด800 x 600 Text Size Medium
สร้างสรรค์โดย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2551
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์60000
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน