ประวัติวัดคีรีวงศ์
วัดคีรีวงค์ เป็นวัดที่สร้างในสมัยกรุงสุโขทัย ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินสมัยนั้น ได้สร้างไว้และได้สร้างพนะจเดีย์ไว้บนยอดเขา ต่อมาพระเจดีย์ได้พังลง พระธาตุได้เสด็จไปอยู่ที่อื่นแล้ว หากอาจารย์อยากจะให้วัดคีรีวงศ์เจริญรุ่งเรือง ต่อไปมากๆแล้ว จะต้องสร้างพระเจดีย์ตรงฐานเจดีย์เก่าบนยอดเขา และให้สร้างแบบพระจุฬามณีเจดีย์
ซึ่งมีเจ้าพระวิกรมมุนีรองเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ เป็นเจ้าอาวาสเดิมเป็นวัดร้าง มีสภาพเป็นป่าเขา พระธุดงค์ได้มาพบซากวัตถุโบราณ เมื่อปี พ.ศ. 2504 สงสัยว่าจะวัดร้าง จึงได้แจ้งให้กรมศาสนา และ กรม ศิลปกรทราบ
ปี พ.ศ. 2507 ทางกรมศาสนาได้ส่งเจ้าหน้าที่ขึ้นมาสำรวจรังวัด เนื้อที่ทั้งบนเขาและที่ราบประมาณ 280 ไร่ และ ทางกรมศิลปากรได้มาพิสูจน์หลักฐานวัตถุ เช่น อิฐเก่า ใบเสมาเก่าและพระรูปเก่าเป็นต้น พิสูจน์ว่าเป็นวัดที่สร้างสมัยปลายกรุงสุโขทัยประมาณศตวรรษที่ 19 ประมาณ 600 ปี
พระธุดงค์และประชาชนที่มาพบครั้งแรกได้ร่วมสร้างกุฏิเล็กๆขึ้นที่เชิงเขา 4 - 5 หลัง แต่ไม่สามารถดำเนินการสร้างได้สำเร็จ จึงย้ายไปที่อื่น
เมื่อปี พ.ศ. 2508 คณะกรรมการผู้ริเริ่มสร้างวัดซึ่งมีนายเปงซ้ง แซ่ตั้ง เป็นหัวหน้าได้ไปขอพระมหาบุญรอด จากเจ้าคณะอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อมาสร้างวัดคีรีวงศ์ ทางเจ้าคณะอำเภอเมืองนครสวรรค์โดยฌฉพาะพระเดชงพระคุณเทพญาณมุนีรองเจ้าคณะภาคที่ 4 ในสมัยพระมหาวิศิษฐ์ เลขานุการเจ้าคณะอำเภอเมือง พิจารณาเห็นว่าสถานที่วัดคีรีวงศ์นี้ มีเนื้อที่มากกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับที่ดิน และสามารถจะพัฒนาให้เป้นวัดที่เจริญในอนาคตได้ จึงได้ส่งพระมหาบุญรอด ผัญญาวโร ป.ธ.5 หรือ เจ้าคุณพระวิกรมุนี ในปัจจุบันซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดนครสวรรค์ ให้มาสร้างวัดคีรีวงศ์แห่งนี้ และการสร้างวัดคีรีวงศ์ต้องพบอุปสรรคและปัญหามากมาย เพราะปะชาชนที่ครอบครองที่ดินอยู่ต่อต้านจะไม่ให้สร้างวัด แต่ก็สำเร็จลุล่วงด้วยดี โดยอาศัยความร่วมมีจากคณะสงฆ์และประชาชนที่เห็นตวามสำคัญของพระพุทธศาสนา
โดยกรมการศาสนา สมัย พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ เป็น อธิบดีกรมการศาสนา ได้ดำเนินการทางศาล เมื่อ ปี พ.ศ. 2511 เพื่อให้ศาลพิสูจน์ว่า เป็นที่วัดร้างจริงหรือไม่ และ ทางจังหวัดสมัยนายวรวิทย์ รังสิโยทัย เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ได้ฟ้องเอกชน ที่ครอบครองที่ดินรายใหญ่ คือ 2รายในฐานะเป้นสงวนของทางราชการ
พ.ศ. 2517 กรมศาสนา ชนะคดีชั้นฎีกา โดยศาลพิพากษาว่า ที่ดินตามแผนที่ ซึ่งกรมการศาสนา ได้สำรวจรังวัดไว้เป็นที่ดินของวัดคีรีวงศ์(ร้าง) หรือวัดบ่อกรุร้าง และทางจังหวัดชนะคดีชั้นฎีกา โดย พิพากษาว่า เป็นที่สงวนของทางราชการ
แต่วัดคีรีวงศ์ร้าง สร้างมาก่อนคำประกาศสงวน กรมศาสนาจึงมีกรรมสิทธิ์ ในที่ดินวัดคีรีวงศ์ (ร้าง) ปี พ.ศ. 2519 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศยกวัดคีรีวงศ์ (ร้าง) เป็นวัดมีพระสงฆ์ที่ดินจึงตกเป็นสมบัติของวัดคีรีวงศ์ ปี พ.ศ. 2519 เจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ได้แต่งตั้ง รพะมหาบุญรอด ปญฺญาวโร เป้นเจ้าอาวาส พ.ศ. 2515 ทางวัดได้จัดบวชศีลจารินี(ชีพราหมณ์) เป็นครั้งแรก ในงานหล่อพระประธานประจำอุโบสถ และได้จัดบวชศีลจารินี ติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2550 จัดบวช 96 ครั้งแล้ว
|
พ.ศ.2521 ทางวัดได้จัดงานผูกพัทธสีมา ฝังลูกนิมิตรอุโบสถ วัดคีรีวงศ์ พ.ศ. 2534 วัดคีรีวงศ ได้รับประกาศเกียรติคุณ จากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง พ.ศ.2535 ได้รับประกาศเกียรติคุณจากกรมการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เป้นวัดพัฒนา จากสมเด็จพระสังฆราช เป็นวัดพัฒนาดีเด่น พ.ศ. 2544 วัดคีรีวงศ์เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด แห่งที่ 1 ตามมติมหาเถรสมาคม
เมื่อปี พ.ศ. 2518 สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( อาสภมหาเถระ ) ขรธดำรงสมณศักดิ์เป็นพระพิมลธรรม วัดมหาธาตุฯ กรุงเทพฯ ได้พาพระสงฆ์ประมาณ 600 รูป มาปักกลดปฏิบัติกรรมฐาน ณ วัดคีรีวงศ์เป็นเวลา 6 วัน ได้พาท่านเดินขึ้นมาถึงกลางเขา ซึ่งสมัยนั้น ยังไม่ได้ทำถนนมีแต่ทางเดินขึ้นท่านมองไปทางตลาดปากน้ำโพ ท่านพูดว่า เขาลูกนี้ตั้งชื่อว่า เขาดาวดึงส์ก็ดีนะเพราะอยู่ตรงถนนดาวดึงส์และเมืองนครสวรรคและสร้างพระจุฬามณีเจดีย์ไว้บนยอดเขาสักองค์หนึ่ง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2523 มีนักปฎิบัติกรรมฐาน จากกรุงเทพฯ 5 คน เป็นสุภาพสตรีมาพักที่วัดคีรีวงศ์ และขอขึ้นไปปฎิบัติกรรมฐานบนยอดเขาดาวดึงส์ เมื่อกลับไปได้ 2 เดือน มีผู้ปฎิบัติธรรมคนหนึึ่งได้เขียนจดหมายมาถึงเจ้าอาวาส บอกว่า คิดอยู่ 2เดือนแล้ว จึงตัดสินใจเขียนจดหมายมาถึงอาจารย์ท่านอาจารย์จะเชื่อหรือไม่ก้สุดแล้วแต่จะพิจารณาจะขอเล่าตามนิมิตที่ เห็นในสมาธิบอกว่า
|