|
ความเป็นมา
บ้านมอญเป็นหมู่บ้านที่มีประวัติระยะเวลายาวนานประมาณ 200 ปี เริ่ม จากชุมชนชาวมอญอพยพมาจากเกาะเกล็ด โดยมทางเรือรวมกัน4 ครอบครัว ระหว่างหยุดพักเหนื่อยบางคนก็หุงข้าว บางคนก็ลงไปหาผักหาปลาในบึงจึง บังเอิญพบแหล่งดินเหนียว ด้วยความชำนาญ ในกานในการทำเครื่องปั้นดิน เผาอยู่แล้วจึงลองนำดินบริเวณนี้มาปั้นเป็นภาชนะที่ใช้ในครัวเรือน เมื่อเห็น ว่าดินบริเวณนี้มีคุณสมบัติ เหมาะสม จึงได้ชวนกันรกรากกันอยู่ที่บริเวณนี้ ซึ่งปัจจุบันนี้คือ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านแก่ง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ครอบครัวชาวมอญที่อพยพมามีทั้งหมด 4 ตระกูลด้วยกัน คือ 1.ตระกูลช่างปั้น 2.ตระกูลเลี้ยงสุข 3.ตระกูลแก้วสุทธิ 4.ตระกูลเรืองบุญในการทำเครื่องปั้นดินเผาในสมัยปู่ย่าตายายนั้นทำไว้เพื่อแลกข้าวแลกอาหารทุกอย่างที่เลี้ยงชีพได้ ต่อมามีการปั้นเพื่อขาย ก็มีโอ่งใส่น้ำ หวดนึ่งข้าวเหนียว อ่างนวดขนมจีน กระปุกดับถ่าน อ่างรองน้ำข้าว และเตาขนมครก จนถึงปัจจุบันนี้ได้มีการ พัฒนารูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้ได้ทันกับความต้องการของตลาด แหล่งเครื่องปั้นดินเผานี้คนทั่วไปได้เรียกขานว่า “ บ้านมอญ ” เพราะทั้ง 4 ครอบ ครัวนี้เป็นเชื้อสายมอญ เหตุที่มีชื่อว่า “ บ้านมอญ ” เนื่องมาจากชาวมอญเป็น คนก่อตั้งชาวมอญมีฝีมือในการปั้นดินที่มีความละเอียดอ่อน และมีความ ชำนาญจึงสามารถคิดรูปแบบต่างๆออกมาด้วยความรู้สึกและเป็นเอกลักษณ์ของคนบ้านมอญ การทำเครื่องปั้นดินเผาของคนบ้านมอญได้ใส่จินตนาการของตน เองลงไปในผลงานที่ตนปั้น จึงทำให้ผลงานออกมามีความละเอียดอ่อนและ สวยงามตามจินตนาการของคนปั้นนั้นเอง จนกระทั่งถึงปัจจุบันจากชุมชนเล็กๆ กลายเป็นหมู่บ้านที่รู้จักกันทั่วประเทศ และมีลูกหลานสืบทอดการปั้นดินที่เป็น เอกลักษณ์ของภูมิปัญญาชาวบ้านท้องถิ่น ให้ลูกหลานชาวบ้านมอญตั้งปณิธานว่า จะสืบทอดภูมิปัญญานี้ตลอดไป พ.ศ. 2486 นายชื่น ช่างปั้น ได้ประกวดฝีมือหัตถกรรมประดิษฐ์สิ่งของด้วยไม้ไผ่และดินงานฉลองวันชาติของจังหวัดนครสวรรค์
ชาวมอญ ได้อพยพเข้ามายังแผ่นดินไทย หลายต่อหลายครั้ง เท่าที่ทางการไทยจดบันทึกเอาไว้รวมทั้งสิ้น ๙ ครั้ง ครั้งแรกคือ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ราว พ.ศ. ๒๐๘๒ ต่อจากนั้น ชาวมอญก็ยังคงอพยพเข้าเมืองไทยมา เป็นระลอก ๆ มากบ้างน้อยบ้าง กระทั่งในสงครามครั้งสุดท้ายระหว่างมอญกับพม่า เมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๐ ที่มอญถูกพม่าทำลายล้างอย่างหนัก ไม่สามารถฟื้นตัวและกอบกู้เอกราชของตนมาได้อีก จนทุกวันนี้
และในการอพยพครั้งที่ ๙ ซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย ใน พ.ศ.๒๓๕๗ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ เมื่อมอญไม่พอใจที่ถูกพม่าเกณฑ์แรงงานก่อสร้างพระเจดีย์ จึงก่อกบฎขึ้นและถูกพม่าปราบปราม ต้องหนีเข้าไทยเป็นระลอกใหญ่ ราว ๔๐ , ๐๐๐ คนเศษ เจ้าฟ้ามงกุฎ (ต่อมาคือรัชกาลที่ ๔) เสด็จเป็นแม่กองออกไปรับถึงชายแดน พวกนี้มาตั้งรกรากที่สามโคก ปากเกร็ด และพระประแดง
ชาวมอญ ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ทั่วไปตามที่ราบลุ่มริมน้ำภาคกลาง ได้แก่ ลพบุรี สระบุรี อยุธยา นครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง นครนายก ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสงคราม สมุทรปราการ สมุทรสาคร กรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ( โดยมากเป็นแหล่งที่พระเจ้าแผ่นดินทรงโปรดฯ พระราชทานที่ดินทำกินให้แต่แรกอพยพเข้ามา) และบางส่วนตั้งภูมิลำเนาอยู่แถบภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี ( เขตเมืองที่อยู่ติดชายแดนไทย) ทางอีสาน ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ มีบ้างเล็กน้อยที่อพยพลงใต้ อย่าง ชุมพร สุราษฎร์ธานี
โดยเฉพาะในเขตจังหวัดนครสวรรค์นั้น มีชุมชนมอญกระจายอยู่ในเขตอำเภอเมือง อำเภอโกรกพระ และอำเภอพยุหคีรี (บ้านเขาทอง ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหคีรี ยังคงมีการรวมตัวกันของชาวมอญ จัดตั้งชมรมอนุรักษ์ฟื้นฟูประเพณีมอญ เช่น จัดงานสงกรานต์ อันเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ในจังหวัดนครสวรรค์ทุกวันนี้)
|
|
|