|
|
ประเพณีท้องถิ่น
ประเพณีการทอดผ้าป่าสามัคคี
ช่วงเวลา
ก่อนการแห่ธงเข้าวัด
ความสำคัญ
การทอดผ้าป่าสามัคคีนี้เป็นการร่วมกันของชาวบ้านแต่ละหมู่บ้าน เพื่อรวมรวบกำลังทรัพย์และสิ่งของที่ได้จากแรงศรัทธาของชาวบ้านภายในชุมชน เป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีของคนภายในหมู่บ้าน การบริจาคทรัพย์ถือได้ว่าเป็นการฝึกการเสียสละอีกรูปแบบหนึ่ง อนึ่งการทอดผ้าป่าสามัคคีนี้ถือได้ว่าเป็นการทำบุญที่ยิ่งใหญ่
พิธีกรรม
1. ชาวบ้านจะร่วมใจกันบริจาคเงินทำบุญเข้าวัดโดยการนำเงินเสียบธง แล้วปักไว้ที่ถังผ้าป่า
2. จะมีการตั้งโต๊ะรวบรวมเงินบริจาคสำหรับผู้ที่ผ่านไปผ่านมาและผู้มีจิตศรัทธา
3. จากนั้นจะนำถังผ้าป่าเข้าร่วมแห่กับขบวนธงเป็นการเสร็จพิธี
ความเชื่อ
ศาสนาและความเชื่อมี 3 รูปแบบ คือ
1. ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งนอกเหนือธรรมชาติ อันได้แก่ การนับถือผีวิญญาณต่างๆ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1.1 ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งนอกเหนือธรรมชาติแบบศาสนา คือเชื่อว่าสิ่งนอกเหนือ ธรรมชาติมีอำนาจให้คุณและให้โทษแก่มนุษย์ได้ มนุษย์ไม่มีทางเอาชนะสิ่งนอกเหนือธรรมชาติเหล่านี้ได้ จึงต้องยอมรับและหาทางออกโดยการสวดมนต์อ้อนวอน ตลอดจนการเซ่นไหว้บวงสรวงบูชา เพื่อขอให้อำนาจนอกเหนือธรรมชาติเหล่านี้บันดาลคุณประโยชน์แก่ตนเอง เช่น เชื่อว่าภูตผีวิญญาณมีอำนาจเหนือธรรมชาติ ทำให้คนเจ็บไข้ได้ป่วย ดังนั้นจึงต้องทำพิธีขอขมา เพื่อช่วยปัดเป่าให้หารเจ็บป่วย นอกจากนั้นยังมีพิธีการต่างๆที่จัดขึ้นเพื่อขอสิ่งมีอำนาจนอกเหนือธรรมชาติอำนวยโชคแก่ตนเองหรือชุมชน
1.2 ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งนอกเหนือธรรมชาติแบบมายาศาสตร์ หรือ ไสยศาสตร์ คือ เชื่อว่า
สิ่งนอกเหนือธรรมชาติมีอำนาจให้คุณให้โทษแก่มนุษย์เช่นเดียวกับแบบศาสนา แต่เชื่อต่างกันในแง่ที่เห็นว่ามนุษย์สามารถเอาชนะอำนาจนอกเหนือธรรมชาติบางอย่างโดยวิธีที่มนุษย์เข้าใจ การทำคุณไสยกลั่นแกล้งคู่ต่อสู้ให้ถึงแก่ความเจ็บป่วยล้มตาย สิ่งเหล่านี้เป็นความเชื่อในเชิงไสยศาสตร์ ลักษณะของไสยศาสตร์ที่ก่อให้เกิดผลดี เช่น การแห่นางแมว เพื่อให้ฝนตก ส่วน
ผลของไสยศาสตร์ที่มุ่งให้เกิดผลร้าย เช่น การทำคุณไสยต่อผู้อื่น ในพิธีกรรมที่เกี่ยวกับความเชื่อในสิ่งนอกเหนือธรรมชาติทั้ง 2 ชนิดนี้ ต้องอาศัยผู้ชำนาญในการประกอบพิธี
1.3 ความเชื่อตามหลักพระพุทธศาสนา ซึ่งเห็นได้จากการทำบุญในทุกรูปแบบ นับตั้งแต่การตักบาตร การช่วยเหลือการลงทุนลงแรงสร้างหรือปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม งานบุญทอดกฐิน ทอดผ้าป่า การบวชเป็นสามเณรหรือภิกษุ ตลอดจนพิธีมงคลต่างๆ จะต้องมีพิธีสงฆ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย วัดวาอารามมีบทบาทต่อสังคมในท้องถิ่น และยังเป็นแหล่งชุมชนในเทศกาลต่างๆ อีกด้วย ความเชื่อของชาวบ้านตำบลหนองกรดโดยส่วนมากล้วนเป็นความเชื่อที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ และส่วนมากจะเป็นความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งนอกเหนือธรรมชาติดังจะเห็นได้จากความเชื่อเรื่องผีอีจู้ ซึ่งเป้นความเชื่อที่เกิดจากการอันเชิญดังต่อไปนี้
|
|
|