โรงเรียนวัดยางงาม
ประวัติโรงเรียนวัดยางงาม(ประชาพัฒนา)
โรงเรียนวัดยางงาม ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2482 โดยพระอธิการสุดใจ ไหมทอง เจ้าอาวาสวัดแหลมยาง ( วัดยางงามปัจจุบัน ) และนายทองดี เถลิงศรี ได้รวบรวมเด็กในท้องถิ่นจำนวน 50 คน ขอใบอนุญาตตั้งเป็นโรงเรียน มีชื่อว่า โรงเรียนประชาบาล ตำบลบางม่วง 2 ( วัดยางงาม ) เปิดทำการสอนตั้งแต่
ป.1 ป.4 ตามหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2480 ด้วยเงินงบประมาณ จัดการศึกษาให้ฟรี มีนายอรุณ บุญยะวิโรจน์ ธรรมการอำเภอเมือง และนายสำราญ รัตนวิน สารวัตรศึกษาอำเภอเมืองมาทำพิธีเปิดแต่งตั้งให้นายบุญชอบ อิ่มพงษ์ เป็นครูใหญ่ นายเฮง จูเลี๊ยน เป็นครูน้อยอาศัยศาลาการเปรียญ วัดแหลมยางเป็นสถานที่เรียน จนกระทั่งถึง
พ.ศ. 2488 ทางอำเภอได้ย้ายให้ นายศิริ พูลคุ้ม ครูใหญ่โรงเรียนประชาบาล ตำบลบางม่วง 1 ( คุ้งวารี ) มาดำรงตำแหน่ง แทนนายบุญชอบ อิ่มพงษ์ โดยการสับเปลี่ยนกัน จนถึงวันที่ 20 พฤศจิการยน 2489 นายศิริ พูลคุ้มและนายบุญชอบ อิ่มพงษ์ได้ย้ายตำแหน่งสับเปลี่ยนกันอีกให้นายบุญชอบ อิ่มพงษ์ มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนประชาบาล ตำบลบางม่วง 2 ( วัดแหลมยาง ) อย่างเดิม
ใน พ.ศ. 2491 ทางรัฐบาลสมัยจอมพล ป.พิบูลย์สงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศยกฐานะครูประชาบาลขึ้นเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญดำรงอยู่ด้วยงบประมาณแผ่นดิน
ในพ.ศ. 2501 ท่านเจ้าอาวาสวัดยางงาม กรรมการศึกษาและคณะครูได้ร่วมกันบริจาค เงินจำนวน 4,500 บาท(สี่พันห้าร้อยบาทถ้วน ) หล่อเสาร์คอนกรีต 50 ตัน ทำฐานรากในการสร้างอาคารแบบเอกเทศถาวรและในพ.ศ. 2505 ทางราชการได้แต่งตั้งนายสง่า เกษทรัพย์
ดำแหน่งครูใหญ่ และนายบุญชอบ อิ่มพงษ์ ซึ่งเกษียณอายุ
ในพ.ศ. 2506 พระอธิการบุญมี จนฺทวณฺโณ เจ้าอาวาสวัดยางงาม และกรรการศึกษาประชาชน คณะครูได้ร่วมบริจาคทรัพย์ร่วมกับเงินทางราชการ 50,00 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน ) สร้างอาคารคล้าย 017 แบบถาวรได้สำเร็จ และในพ.ศ. 2507 คณะครูเจ้าอาวาสวัดยางงามพร้อมด้วยโรงงานรวมผลอุตสาหกรรมได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์สร้างเสาธง มูลค่า 6,500 บาท (หกพันห้าร้อยบาทถ้วน )
ในพ.ศ. 2509 วันที่ 1 ตุลาคม 2509 ได้โอนการศึกษาไปขึ้นกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด และในพ.ศ. 2513 หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ภาคเหนือ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดงบประมาณ 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) และให้ประชาชนบริจาคสมทบสร้างถังประปาโรงเรียน 1 ชุด มูลค่า 15,000 บาทมีผู้บริจาคคือ พระครูบุญมี จนฺทวณฺโณ 6,000 บาท คณะครู 4,000 บาท และขยายการศึกษา จาก ป.4 เป็น ป.7 ปีนี้ เป็นปีแรก ในพ.ศ. 2514 ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้จัดสรรงบเหลือจ่ายให้ 21,900 บาท เทพื้นคอนกรีต ใต้ถุนอาคาร 017 แบบสร้างเอง ( อาคารเก่า )
ในพ.ศ. 2515 พระครูบุญมี จนฺทวณฺโณ เจ้าอาวาสวัดยางงาม บริจาคเงิน 7,500 บาท และคณะครู 600บาท ร่วมสมทบกับเงินงบประมาณซื้อเครื่องพิมพ์ดีด ภาษาไทย แบบตั้งโต๊ะแคร่สั้น 1 เครื่อง เครื่องโรเนียวแบบมือหมุนเร็ดโรตารี่ 1 เครื่อง
ในพ.ศ. 2516 ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณ สร้างอาคารเรียนแบบ 017 จำนวน 6 ห้องเรียน มูลค่า 325,000 บาท พร้อมอุปกรณ์งบไม่พอ ท่านพระครูบุญมี จนฺทวณฺโณ ได้บริจาคสมทบ 86,456 นายสง่า นางสุนีย์ เกษทรัพย์ 31,500 บาท ประชาชนบริจาค 31,957 บาท คิดเป็นมูลค่าทั้งหมด 474,913 บาท สร้างเมื่อ 13 ธันวาคม 2516 ชื่ออาคาร อาคารบุญมีอุปถัมภ์
ในพ.ศ. 2517 ได้ขยายการศึกษาภาคบังคับถึง ป.7 และ พ.ศ. 2518 ทางราชการอนุมัติ แต่งตั้งให้นายดำรง เรือนเย็น เป็นผู้ช่วยครูใหญ่ครั้งแรก
ในพ.ศ. 2520 ได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครูแบบกรมสามัญ 2 หลังเป็นเงิน 120,000 บาทเมื่อ 1 พฤษภาคม 2520 และพ.ศ. 2521 ได้เปลี่ยนแปลงหลักสูตรใหม่ ยุบการศึกษาภาคบังคับจาก 7 ปี เหลือเพียง 6 ปี และพรุครูบุญมี จนฺทวณฺโณ ได้สละเงินส่วนตัว ซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้า หม้อมิเตอร์ไฟฟ้าให้ 3 ลูก ติดโรงเรียน 1 ลูก บ้านพักครู 2 ลูกเป็นเงิน 4,275 บาท ( สี่พันสองร้อยเจ็ดสิบห้าบาทถ้วน )
ในพ.ศ. 2522 ได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครู แบบกรมสามัญ 2 หลัง เป็นเงิน 160,000 บาท เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2522 และจัดตั้งทุนการศึกษาวัดยางงามโดยได้รับเงินจากคุณประยูร เถลิงศรี เป็นกองทุน 20,900 บาท พระครูบุญมี จนฺทวณฺโณ 500 บาท นายสง่า เกษทรัพย์ 500 บาท นายดำรง เรือนเย็น 200 บาท นายสมชาย แสงศร 200 บาท นายประสาน กาญจนศิริโรจน์ 200 บาท นายถวิล แสนสะอาด 200 บาทนายสะอาด เกษธีรกุล 100 บาท นางจรรยา สุริต 100 บาท ประชาชน 400 บาท นางยุพิน เรืองสุวรรณ 300 บาท นางอรวรรณ ศรีเชร 100 บาท รวมทั้งหมด 23,700 บาท เมื่อ 21 ตุลาคม 2522 ให้ชื่อทุนการศึกษาว่า ทุนบุญมีอุปถัมภ์ วัดยางงามใช้เฉพาะดอกผลมาจัดสรรเป็นทุนการศึกษาให้กับเด็กยากจน เรียนดี เริ่มแจก 6 พฤษภาคม 2524 เป็นครั้งแรกจำนวน 15 ทุน เป็นเงิน 2,600 บาท
ในปี พ.ศ. 2536 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเอนกประสงค์แบบ 201-2526 จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 245,000 บาท และห้างหุ้นส่วนแสงอุทัยก่อสร้างได้มอบโต๊ะหมู่บูชา ลายทอง พร้อมพระพุทธรูปหน้าตัก นิ้วมูลค่า 4,500 บาท ใน พ.ศ. 2527 ทางราชการได้ตั้งแต่ให้ นายดำรง เรือนเยือน ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่รักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ แทน นายสง่า เกษทรัพย์ ที่ถึงแก่กรรมและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่เมื่อ 28 เมษายน 2528 ได้งบประมาณจาก ส.ส. เป็นเงิน 13,000 บาท สร้างส้วมแบบ สปจ. จำนน 4 ที่ งบ สป.ช. สร้างส้วมแบบ สปช. 601 จำนวน 4 ที่เป็นเงิน 40,000 บาท เมื่อปีงบประมาณ 2528 และประชาชน คณะครูเจ้าอาวาสวัดยางงามได้ สร้างซุ้มพระและพระพุทธรูป พระประธานให้กับโรงเรียนจำนวน 1 ที่เป็นเงินใน พ.ศ. 2529 ทาง สปช.ได้จัดสรรงบประมาณสร้างเรือนเพาะชำแบบ พ1 เป็นเงิน 15,000 บาท สร้างเมื่อ 25 กรกฎาคม 2529 และสร้างถึงปูนแบบ ฝ.33 1 ชุด เป็นเงิน 3,000 บาท เมื่อ 5 พฤศจิกายน 2529
ในพ.ศ. 2531 สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ตามสัญญาเลขที่ 26/2531 ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2531 ทำการก่อสร้างร่อเติมอาคารเรียนเป็นศูนย์วิชาการกลุ่มโรงเรียน ที่โรงเรียนวัดยางงาม สปช. 105/2526 วันเริ่มสัญญาก่อสร้างวันที่ 27 กรกฎาคม 2531 วันสิ้นสุดสัญญาก่อสร้างวันที่ 24 ธันวาคม 2531 เป็นเงิน 100,000 บาท ( หนึ่งแสนบาทถ้วน )
ในพ.ศ. 2532 ลงวันที่ 10 พฤษภาคม 2532 ก่อสร้างต่อเติมอาคารเรียนแบบ ขนาด 1 ห้องเรียน โรงเรียนวัดยางงาม อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์งบประมาณค่าก่อสร้าง 60,000 บาท(หกหมื่นบาทถ้วน) ระยะเวลาก่อสร้าง 180 วัน เริ่มสัญญาวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532
ปัจจุบันโรงเรียนวัดยางงาม ( ประชาพัฒนา ) เปิดทำการสอนต้องแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนายสมชาย สมรภูมิ เป็นผู้อำนวยการ สถานศึกษา มีครูผู้สอน 6 คน โดย นายสมชาย สมรภูมิ มารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2548 ครูผู้สอนได้แต่
1.นางผ่องศรี พลที ครู คศ. ประจำชั้น อนุบาล 1-2
2.นางลูกคิด สุขสำราญ ครู คศ. 2 ประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
3.นางอรวรรณ พรเจริญ ครู คศ. 2 ประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
4.นายณัฐพล พรหมบัญชาชัย ครู คศ. 2 ประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
5.นายวีระ เบ้าเงิน ครู คศ. 2 ประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
6.นางอนุพันธุ์ พันธุ์มี ครู คศ. 2 ประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ปีงบประมาณ 2548 โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็น 1 อำเภอ 1 โรงเรียน ปฏิรูปการเรียนรู้ด้วยICTโดยงบอุดหนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ ใช้งบประมาณ 200,000บาท และได้ติดตั้ง จานรับสัญญาณดาวเทียม อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงของบริษัทสามารถ เมื่อเดือนกันยายน 2548
ปีการศึกษา 2549 ได้รับการคัดเลือก เป็น หนึ่งโรงเรียน หนึ่ง นวัตกรรมด้านการเรียนการ สอน ชื่อ นวัตกรรม การเรียนรู้ ด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Lan ) ใช้กิจกรรมค้นคว้า หาข่าว ทางอินเตอร์เน็ต ทุกวัน