|
|
พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
|
พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่
เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2489 ได้มีการประกาศข่าวราชการสำคัญชิ้นหนึ่ง ดังก้องออกมาจากวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ ใจความว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้สวรรคตเสียแล้ว
........ข่าวชิ้นนี้เหมือนสายอสุนีบาตฟาดเปรี้ยงลงมาในท่ามกลางนครหลวงของไทย แล้วแผ่รัศมีปกคลุมตลอดทั่วราชอาณาจักร จึงนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อวงการเมืองของประเทศไทยในขณะนั้นครั้นต่อมาในวันเดียวกันนั้นเอง ก็ได้มีข่าวราชการที่มีความสำคัญอีกชิ้นหนึ่ง แพร่ออกมาจากวิทยุกระจายเสียงแห่งเดียวกันว่า สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทยสืบราชสันตติวงศ์ต่อจากพระบรมเชษฐาธิราชพระบาทสมเด็จพระเจ้าหัวอานันทมหิดลนี้หมายความว่า ประเทศไทยได้มีพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย ข่าวนี้ย่อมตรงกับความคาดหมายของประชานิกรชาวไทยทั่วไป ภายหลังที่ได้มีการประกาศข่าวสวรรคตของรัชกาลที่ 8 แล้ว ประชาชนต่างก็คาดหมายกันว่า พระมหากษัตริย์องค์ใหม่ของไทยคงจะได้แก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชเป็นแน่ นี้เป็นสามัญสำนึก ซึ่งก็เป็นจริงตามนั้น แม้ตามหลักฐานทางราชการก็ปรากฏว่า สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพล อดุลยเดช ทรงดำรงอยู่ในฐานันดรศักดิ์ที่สูงส่งคือทรงเป็นรัชทายาทอันดับรองลงมาจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทีเดียว ดังปรากฏตามบันทึกของกระทรวงวัง ที่เรียกกันในสมัยรัชกาลที่ 7 หรือสำนักพระราชวังในสมัยนี้ ที่ได้นำเสนอรัฐบาลพระยาพหล ฯ ตอนที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ จะทรงสละราชสมบัติ ในบันทึกนี้แสดงให้เห็นว่ามีเจ้านายพระองค์ ใดบ้างที่ทรงดำรงอยู่ในฐานันดรศักดิ์อันคู่ควรแก่รัชทายาทแห่งประเทศไทย ขอยกมาเพื่อประกอบ การศึกษาดังต่อไปนี้.-
พระปฐมวัย
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรีในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่สามในสมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และสมเด็จพระศรีสวรินทิรา พระบรมราชินี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) และสมเด็จพระราชชนนี ศรีสังวาลย์ในสมัยพระเยาว์วัย ทรงพระนามในชั้นเดิมว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช
พระองค์ พระราชสมภพในวันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2470 ณ เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาซูเสตต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เนื่องจากสมเด็จพระราชบิดาและสมเด็จพระราชชนนีประทับอยู่ในประเทศนั้น พระองค์ทรงมีพระเชษฐาและเชษฐภคินีร่วมพระบิดาและพระมารดาเดียวกัน 2 พระองค์ คือ
๑. ๑. สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้าหญิงกัลยาณีวัฒนา
๒. ๒. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อนันทมหิดล
ส่วนพระองค์เป็นพระโอรสองค์น้อยที่สุด
ภายหลังเสด็จนิวัตสู่ประเทศไทย ซึ่งเป็นมาตุภูมิของพระองค์ พร้อมด้วยสมเด็จพระชนกและสมเด็จพระชนนีในพุทธศักราช 2471 และรุ่งขึ้นอีกปีหนึ่ง คือในปีพุทธศักราช 2472 สมเด็จพระราชบิดาก็ได้ทิวงคต ณ กรุงเทพพระมหานคร ฯ
ต่อมาพุทธศักราช 2486 โดยสมเด็จพระราชชนนีไปยังทวีปยุโรป และประทับพำนักอยู่ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อทรงศึกษาวิชาการ ขณะนั้นพระชนมายุได้ 6 พรรษา
ในเดือนกรกฎาคม พุทธศักราช 2478 ทรงได้รับสถาปนาฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ภายหลังที่สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลทรงได้รับสถาปนาขึ้นครองราชสมบัติสืบสันตติวงศ์ โดยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร และคณะรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย
เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2481 เสด็จนิวัตสู่ประเทศไทยเป็นการชั่วคราว พร้อมด้วยพระบรมเชษฐาธิราช สมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้าหญิงกัลยาณีวัฒนา และสมเด็จพระราชชนนี ประทับอยู่ในประเทศไทย ณ พระตำหนักจิตลดารโหฐานเป็นเวลานานประมาณ 2 เดือน และในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับไปยังประเทศสวิสเซอร์แลนด์อีก เพื่อทรงศึกษาวิชาการต่อไป
ครั้นต่อมาเมื่อมีสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้น จึงเป็นเหตุให้เสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมเยือนประเทศไทยไม่ได้เป็นเวลานานหลายปี ครั้นสงครามสงบลงแล้ว
รัฐบาลไทยจึงได้อัญเชิญสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดลเสด็จกลับมาประทับเป็นมิ่งขวัญแก่ปวงชนชาวไทย เนื่องจากทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว สมควรขึ้นครองราชย์เป็นประมุขของชาติไทยต่อไป
ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จมาพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช สมเด็จพระราชชนนีและสมเด็จพระพี่นางเธอ สู่ประเทศไทยอีกครั้งหนึ่งนับเป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2488
ในการเสด็จพระราชดำเนินนิวัตสู่ประเทศไทยครั้งนี้เสด็จโดยพระราชพาหนะ เรือเดินสมุทร ทางรัฐบาลได้จัดเรือรบหลวงแห่งราชนาวีไทยออกไปรับเสด็จในท่ามกลางทะเลหลวง โดยแปรริ้วขบวนห้อมล้อมเรือเดินสมุทรเข้ามาจนถึงเกาะสีชัง แล้วอัญเชิญขึ้นประทับบนเรือรบหลวง นำเสด็จพระราชดำเนินสู่พระนครต่อไป คือเรือรบได้เคลื่อนเข้าสู่พระนคร ท่ามกลางเรืออาณาประชาราษฎรที่ไปคอยรับเสด็จ และประชาชนชาวไทย และชาวต่างประเทศบน 2 ฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาก็ได้เปล่งเสียงไชโยโห่ร้องแสดงความยินดีอย่างอึงมี่ในการเสด็จนิวัตสู่พระนครคราวนี้ ได้เสด็จไปเยี่ยมเยือนประชาชนในจังหวัดสมุทรปราการ , ปทุมธานี , ปากเกร็ด , นนทบุรี , สมุทรสาคร , ลพบุรี , ประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น
อนึ่ง , ในระหว่างเสด็จประพาสจังหวัดลพบุรี ได้มีอุปัทวเหตุร้ายแรงเกิดขึ้น กล่าวคือ รถจิ๊ปในขบวนเสด็จพลิกคว่ำ ยังผลให้พระศราภัยสฤษฎิการสมุหราชองครักษ์ได้รับความบาดเจ็บสาหัส และได้เสียชีวิตในเวลาต่อมา แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลอดภัย
ในการเสด็จเพื่อเยี่ยมเยือนราษฎรของพระองค์ทุกแห่งได้ทรงเปิดโอกาสให้ประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศได้เข้าเฝ้าใกล้ชิดพระองค์เป็นพิเศษเสมอ ยังผลให้ประชาชนได้รับความปลาบปลื้มและเพิ่มพูนความจงรักภักดี
นอกจากทรงโดยเสด็จพระบรมเชษฐาธิราชไปยังหัวเมืองรอบนอกแล้ว ยังได้ทรงโดยเสด็จประพาสใจกลางพระนครคือ สำเพ็ง อันเป็นไชนาทาวน์แห่งประเทศไทยอีกด้วย ยังความปลาบปลื้มแก่ชาวจีนเป็นอันมาก ความขุ่นข้องหมองใจระหว่างชาวไทยและจีนในตอนปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ได้คลี่คลายไปในทางที่ดี
ครั้นต่อมาเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ทรงได้รับยศเป็นร้อยโท นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 1 กองพันที่ 3 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
กาลเวลาล่วงเลยไปประมาณ 5 เดือนเศษ สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช ทรงมีพระราชประสงค์ใคร่เสด็จไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพื่อทรงศึกษาต่อให้จบตามหลักสูตรเสียก่อน จึงจะเสด็จกลับมาประทับอยู่ ณ ประเทศไทยต่อไปชั่วนิรันดร
หมายกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์ คือวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2489 แต่ครั้นแล้วก็มีเหตุใหญ่เกิดขึ้นในแผ่นดิน โดยไม่มีใครคาดฝันมาก่อนเลย เป็นประดุจสายฟ้าฟาดลงมาบนกระหม่อนของอาณาประชาราษฎรชาวไทยทั่วประเทศ ทุกคนต้องตะลึงงัน เมื่อมีข่าวแพร่สะพัดออกมาว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงประสบ อุปัทวเหตุ สวรรคตเสียแล้วในเวลา 09.00 นาฬิกาของวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ก่อนจะถึงกำหนดเสด็จพระราชดำเนินสู่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพียง 5 วันเท่านั้นเมื่อมีเหตุปัจจุบันทันด่วนเกิดขึ้นเช่นนี้ คณะรัฐบาลอันมีนายปรีดี พนมยงค์ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้เรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎร เป็นกรณีพิเศษเมื่อเวลา 21.00 นาฬิกาของคืนวันที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2489 ซึ่งเป็นวันเดียวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลสวรรคต
รัฐบาลได้แถลงให้ที่ประชุมทราบถึงลำดับการสืบพระราชสันตติวงศ์ โดยนัยแห่งกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พุทธศักราช 2467 ว่า ในลำดับแรกนี้ ได้แก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระราชอนุชาร่วมสมเด็จพระราชบิดาและพระราชมารดา
ปวงพสกนิกรและประเทศชาติ เสด็จไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้งหนึ่ง เพื่อทรงศึกษาวิชาการต่อไป
ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงประทับอยู่ร่วมกับสมเด็จพระพี่นางเธอและสมเด็จพระราชชนนีโดยตลอดมา ณ พระตำหนักส่วนพระองค์มีนามว่า วิลลาวัฒนา ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนชมบรังเดอเดชซู แห่งนครโลซานน์ ท่ามกลางภูมิภาพซึ่งมีทิวทัศน์อันงดงามและเป็นที่เจริญตา
|
|
|
|
|