Ran khaa ya
     
 
งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ป

          พุทธศักราช ๒๕๔๙ ชื่องานฉลองในภาษาอังกฤษว่า “The Sixtieth Anniversary Celebrations of His Majesty's Accession to the Throne” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อการจัดงานว่า “การจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี” ชื่อพระราชพิธีว่า “พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี” เนื่องในศุภวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะครบรอบการเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ในวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ นับเป็นมหามงคลสมัยพิเศษยิ่ง รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จึงได้กำหนด
ในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ นับเป็นมหามงคลสมัยพิเศษที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จ
การเตรียมงาน
ขึ้นครองราชย์ครบ ๖๐ ปี ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีระยะเวลาการครองราชย์ยืนยาวนานที่สุดในประเทศ ไทย ในกาลปัจจุบัน ประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขรวมทั้งประเทศไทย ต้องถือว่า พระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ที่มีระยะเวลายืนยาวนานที่สุด
สำหรับการครองราชย์ครบ ๖๐ ปี รัฐบาล โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (พันตำรวจโททักษิณ
ชินวัตร) ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยชื่อ การจัดงาน และเขตงานเฉลิมฉลอง โดยมีพระราชกระแส
• ชื่อการจัดงานว่า “การจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี”
• ชื่อพระราชพิธีว่า “พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี”
• ชื่อการจัดงานและชื่อพระราชพิธี เป็นภาษาอังกฤษว่า “The Sixtieth Anniversary Celebrations of His Majesty's Accession to the Throne”
นอกจากนี้มีพระราชกระแสเขตงานเฉลิมฉลองว่า “ควรเริ่มได้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๘
อันเป็นวันขึ้นต้นปีที่ ๖๐ ในรัชกาลปัจจุบัน (ตามปฏิทินหลวง) และจะให้สิ้นสุดในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ และจะให้เลยไปจนสิ้นปี ๒๕๔๙ ก็ได้ ส่วนงานพระราชพิธีควรเป็นวันครบ ๖๐ ปี บริบูรณ์ (หรือ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙)”
ทั้งนี้ รัฐบาลโดยคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ได้กำหนดเขต
การจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๘ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๙
ในโอกาส การจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี รัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรี (พันตำรวจโท
ทักษิณ ชินวัตร) จึงได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริ ราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ประกอบด้วย ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานมูลนิธิโครงการหลวง (หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี) องคมนตรี (นายอำพล เสนาณรงค์ และ นายสวัสดิ์ วัฒนายากร) เป็นที่ปรึกษา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรีทุกท่านเป็น รองประธานกรรมการ หัวหน้าส่วนราชการและผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ และปลัดสำนักนายก รัฐมนตรีเป็นกรรมการและเลขานุการ นอกจากนี้ยังได้แต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ เพื่อช่วยสนับสนุนการดำเนินงานอีก รวม ๗ คณะ
คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ได้เห็นชอบให้มีการจัดทำ
ภาพตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี โดยมอบให้กรมศิลปากรพิจารณาดำเนินการ ซึ่งกรมศิลปากร ได้ออกแบบและนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายจนมีพระบรมราชวินิจฉัยลงมาแล้ว ตราสัญลักษณ์นี้ ให้ทำติดบนธงพื้นเหลือง อาคารสถานที่ แผ่นปิดกาว (สติ๊กเกอร์) หรือปกหนังสือได้ แต่ถ้าใช้ในเชิง พาณิชย์ ให้ขออนุญาตจากสำนักราชเลขาธิการก่อน
ความหมายของตราสัญลักษณ์ งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี
อักษรพระปรมาภิไธย ภปร สีเหลืองนวลทองอันเป็นสีประจำพระชนมวาร ขลิบรอบตัวอักษรด้วยสีทองบนพื้นสีน้ำเงินเจือทอง อันเป็นสีประจำพระราชวงศ์ ล้อมด้วยเพชร อันเป็นเอกแห่งรัตนะ หมายความว่า เหล่านักปราชญ์ ราชกวีสำคัญ อีกบรรดาช่างอันมีชื่อ พระยาช้างสำคัญ นางงาม เหล่าทแกล้วทหาร ข้าราชบริพาร อันยอดฝีมือในการปฏิบัติราชการอย่างสุจริตยิ่ง เหล่านี้เปรียบด้วยเพชรอันชื่อว่ารัตนะ แวดล้อมประดับพระเกียรติยศแห่งพระมหากษัตริยาธิราชพระองค์นั้นอันเหนือยิ่งกว่าเพชรอันได้ชื่อว่ารัตนะทั้งปวง คือพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงสถิตเป็นเพชรอันยอดค่ายิ่งในดวงใจราษฎร์ ทรงบำบัดทุกข์ผดุงสุขเป็นที่พึ่งอันเกษมสุขร่มเย็นแก่ปวงพสกนิกร ซึ่งต่างเชื้อชาติศาสนา ในพระราชอาณาจักรของพระองค์
อนึ่ง อักษรพระปรมาภิไธย ภปร นี้ ประดิษฐานบนพระที่นั่งภัทรบิฐ ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ ประกอบพระอุณาโลม อันเป็นหนึ่งในเครื่องเบญจสิริราชกกุธภัณฑ์ แวดล้อมด้วยพระแสงขรรค์ชัยศรีและพระแส้หางช้างเผือก ทอดสอดอยู่ในกง พระที่นั่งภัทรบิฐ เบื้องซ้ายแห่งพระมหาพิชัยมงกุฎ มี ธารพระกรและพัชนีฝักมะขาม ทอดสอดอยู่เบื้องขวาแห่งกง พระที่นั่งภัทรบิฐ อันประดิษฐานบนฐานเขียง ซึ่งทอดฉลองพระบาทประดิษฐานอยู่ เหล่านี้รวมเรียกว่า เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ ประกอบด้วยสิ่งอันแสดงความเป็นกษัตริย์ทั้ง ๕ คือ พระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกร พัดวาลวิชนี และ พระแส้ และ ฉลองพระบาท หมายถึง ปีแห่งการเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ ล่างลงมาเป็นแพรแถบสีชมพูขลิบทอง เขียนอักษรสีทองความว่า “ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๔๙” ปลายแห่งแพรแถบ ผูกเป็นภาพกระบี่ธุช เป็นวานรภายขาว มือถือก้านลายซุ้ม อันเป็นกรอบลายของตราสัญลักษณ์ฯ อยู่ด้านขวา ส่วนด้านซ้ายปลายแพรแถบ ผูกเป็นภาพพระครุฑพ่าห์ เป็นครุฑหน้าขาว กายสีเสนปนทอง มือถือก้านลายกรอบแห่งตราสัญลักษณ์ฯ พื้นภาพตราสัญลักษณ์ฯ เฉลิมพระเกียรติทั้งหมดสีเขียวปนทอง อันหมายถึงสีอันเป็นเดชแห่งวันพระบรมราชสมภพ และยังหมายถึงสีของความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ แห่งผืนภูมิประเทศที่ทรงปกครองทำนุบำรุงอย่างหนักยิ่งมาตลอดระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติมา ณ บัดนี้ ถึงมหามงคลสมัยที่จะฉลองเฉลิมพระเกียรติ ในการครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี อันยาวนานที่สุด ยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์องค์ใดในพระราชพงศาวดารในสยามประเทศ

 
 
   
     
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 800x600 Text Size Medium
สร้างสรรค์โดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  ปีการศึกษา 2549
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อ.เมือง จ.นครสวรรค์


   
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน