Ran khaa ya
     

หน้าหลัก

 โครงการเศษฐกิจพอเพียง
 โครงการทฤษฏีใหม่
โครงการกังหันน้ำชัยพัฒนา
โครงการแกล้งดิน
โครงการน้ำดีไล่น้ำเสีย
โครงการหลวง
โครงการเพื่อการศึกษา
มูลนิธิชัยพัฒนา
โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรตามพระราชดำริ
โครงการแก้ไขปัญหาดินเค็มด้วยระบบน้ำชลประทาน
โครงการสร้างเรือพระที่นั่ง
นารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9

 
โครงการสร้างเรือพระที่นั่ง
นารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9


โครงการสร้างเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ
• หน่วยงานรับผิดชอบ
1. หน่วยงานเจ้าของโครงการ กองทัพเรือ
2. หน่วยงานสนับสนุน กรมศิลปากร และสำนักพระราชวัง
• วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
1. เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ โดยการสร้างเรือพระที่นั่งลำใหม่ ทดแทนเรือพระที่นั่งลำเดิม ซึ่งโขนเรือเป็นรูปนารายณ์ทรงสุบรรณ อันเป็นมงคลนาม ตามประวัติ จำนวน 1 ลำ มีฐานะเป็น เรือพระที่นั่งรองทอดบัลลังก์กัญญา เทียบเท่าเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งเอนกชาติภุชงค์ ขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 ดังกล่าว ซึ่งเป็นเรือพระที่นั่งลำแรกที่สร้างขึ้น ในรัชกาลปัจจุบัน
2. รักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมไทยให้คงไว้ ด้วยการสร้างเรือพระที่นั่งลำใหม่ โขนเรือเป็นรูป นารายณ์ทรงสุบรรณ โดยใช้ต้นแบบเดิม ที่เป็นฝีมือช่างยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ในรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4 ซึ่งตัวเรือทรุดโทรมไปตามกาลเวลาคงเหลือแต่โขนหัวเรือ ประกอบด้วย พญาสุบรรณ (พญาครุฑ) และพระนารายณ์ ซึ่งอยู่ในสภาพดี
3. อนุรักษ์เรือลำนี้ไว้ในกระบวนเรือพระราชพิธี ทำให้กระบวนเรือมีความสมบูรณ์ขึ้น และจะได้อนุรักษ์ฝีมือช่างยุครัตนโกสินทร์ไว้มิให้สูญสลาย
• ประวัติความเป็นมา
    
การเสด็จพระราชดำเนินของพระมหากษัตริย์ไทย ในวาระต่าง ๆ มีมาตั้งแต่ครั้งสมัย กรุงสุโขทัย การเสด็จ ฯ ทางน้ำเรียกว่า" พยุหยาตราชลมารค " ในสมัยที่ กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีนั้น ที่ตั้งของเมืองเป็นเกาะ ล้อมรอบ ไปด้วยแม่น้ำลำคลอง มากมายหลายสาย ชีวิตความเป็นอยู่ริมน้ำของชาวกรุงเก่า จึงต้องอาศัยเรือในการสัญจร ไปมา ทั้งในเวลารบทัพจับศึก ก็จะใช้กระบวนทัพเรือเป็นสำคัญ จึงปรากฎมีการสร้างเรือรบมากมาย ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในเวลาบ้านเมือง ปราศจากศึกสงคราม ย่อมใช้เรือรบฝึกซ้อมกระบวนยุทธ เป็นนิจ เพราะฉะนั้น ถึงฤดูน้ำหลาก เป็นเวลาราษฎรว่างการทำนา จึงเรียกระดมพล มาฝึกซ้อมกระบวนทัพเรือ ประจวบกับ เป็นฤดูกาลของการทอดกฐิน พระเจ้าแผ่นดินจึงเสด็จพระราชดำเนิน ไปถวายพระกฐิน โดยกระบวนเรือรบ แห่แหน ให้ไพร่พลรื่นเริงในการกุศล โดยเฉพาะในสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นเวลาที่ประเทศสยามสงบ เจริญอย่างยิ่ง ในทางวัฒนธรรม กระบวนเรือพยุหยาตราชลมารค มีเรือเข้าร่วมกระบวนกว่า 150 ลำ ฝีพายแต่งกายงดงาม พายเรือประกอบจังหวะ จนชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวฝรั่งเศส บันทึกว่า " ไม่สามารถเทียบความงาม กับขบวนเรืออื่นใด เป็นขบวนเรือที่มโหฬาร "
     เรือนารายณ์ทรงสุบรรณ เป็น เรือพระที่นั่งกิ่ง ประเภทเรือรูปสัตว์ เรือรูปสัตว์นี้ ตามหลักฐานที่ยืนยันได้มีมา ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นเรือที่แกะสลักหัวเรือ เป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ ทั้งสัตว์จริง และสัตว์ในเทพนิยาย เพื่อจะให้ ตั้งปืนใหญ่ที่หัวเรือได้ เรือรูปสัตว์ มาจากตราประจำตำแหน่ง ของเสนาบดี เช่น ราชสีห์ คชสีห์ นาค ฯลฯ เรือนารายณ์ทรงสุบรรณ นั้น มีชื่อเดิมว่า "มงคลสุบรรณ" พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ต่อขึ้น ตามแบบอย่างสมัยอยุธยา โดยมีพระราชประสงค์ ตามที่ปรากฏความ ในพระราชพงศาวดารว่า " ไว้เป็นเกียรติยศสำหรับแผ่นดิน " ลักษณะของเรือลำนี้ มีความยาว 17 วา 3 ศอก กว้าง 5 ศอก 5 นิ้ว ลึก 1 ศอก 6 นิ้ว กำลัง 6 ศอก 6 นิ้ว พื้นท้องเรือภายนอก ทาสีแดง กำลังฝีพาย 65 คน โขนเรือ แต่เดิมจำหลักไม้ รูปพญาสุบรรณหรือพญาครุฑยุดนาค เท่านั้น มีช่องกลม สำหรับติดตั้งปืนใหญ่ อยู่ที่หัวเรือใต้ตัวครุฑ รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 มีพระราชดำริ ให้เสริมรูปพระนารายณ์ประทับยืน บนหลังพญาสุบรรณ เพื่อความสง่างาม ของลำเรือและ เพื่อให้ต้อง ตามคติ ในศาสนาพราหมณ์ ว่า พญาสุบรรณ นั้น เป็นเทพพาหนะ ของพระนารายณ์ และเมื่อเสริมรูป พระนารายณ์แล้ว โปรดเกล้า ฯ ให้ขนานนามเรือลำนี้ใหม่ว่า " นารายณ์ทรงสุบรรณ " จากหลักฐาน เกี่ยวกับการ จัดกระบวนพยุหยาตราชลมารค ในสมัยรัตนโกสินทร์ ปรากฎว่า ได้มีการนำเรือพระที่นั่ง มงคลสุบรรณ หรือนารายณ์ทรงสุบรรณ ลำนี้ เข้าร่วมในกระบวนพยุหยาตราชลมารค ครั้งสำคัญ 2 ครั้ง คือ กระบวนพยุหยาตราชลมารค ในการเสด็จ เลียบพระนคร ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เนื่องในการ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2394 และอีกครั้งหนึ่ง เนื่องในการ พระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ.2429 ในรัชกาล พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 สันนิษฐานว่า ตัวเรือนารายณ์ทรงสุบรรณ คงเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา จึงไม่พบหลักฐาน การนำออกมาร่วม ในกระบวนพยุหยาตรา ทางชลมารคในรัชกาล ต่อ ๆ มา คงเหลือแต่โขนเรือ ซึ่งตาม ประวัติศาสตร์ ทราบว่า กระทรวงทหารเรือ เก็บรักษาไว้ถึงปี 2496 จึงมอบให้กรมศิลปากร เก็บรักษาไว้ ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ จนถึงปัจจุบัน
     โขนเรือนารายณ์ทรงสุบรรณ เป็นงานประณีตศิลป์ ชิ้นเอกชิ้นหนึ่ง ของสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะ ในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ที่งานแกะสลักและปิด ทอง ประดับกระจก ได้พัฒนาไป จนถึงขั้นสูงสุด นอกจากนั้น โขนเรือลำนี้ ยังมีความสำคัญ ในด้านความหมาย ต่อสถาบัน พระมหากษัตริย์ไทย เป็นอย่างยิ่ง สะท้อนคติ ความเชื่อ ในการเทิดทูน สมเด็จพระมหากษัตริยาธิราช ของชาวไทยโบราณว่า ทรงเป็น สมมติเทพ คือ ปางอวตาร ของพระผู้เป็นเจ้า ตามคติ ของพราหมณ์ ที่มีอิทธิพล ต่อภูมิปัญญา อย่างยิ่ง มีสองพระองค์ คือ พระอิศวร และพระ

 
   
     
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 800x600 Text Size Medium
สร้างสรรค์โดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  ปีการศึกษา 2549
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อ.เมือง จ.นครสวรรค์


SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน