Ran khaa ya
 
 
 
 
     
   

ประวัติความเป็นมา

        ตำนานเมืองไพศาลี เดิมเรียกว่า “ช้างง่วง” ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น “พังม่วง” สาเหตุที่เรียกว่า “ช้างง่วง” เนื่องจากมีเจ้าชายเมืองพนมเศษ ได้นำแก้วแหวนเงินทองใส่ไว้บนหลังช้าง เพื่อที่จะนำมาขอเจ้าหญิงเมืองอินตา เมืองนี้ตั้งอยู่ที่เขาหินกลิ้งในปัจจุบัน เงินที่นำมาขอเจ้าหญิงเมืองอินตานั้น เรียกว่า “เงินทุน” ระหว่างการเดินทางได้ผ่านเมืองไพศาลี (ในปัจจุบัน) ช้างของเจ้าชายเป็นตัวเมีย ชื่อว่า “พัง” พอเดินทางมาถึงเมืองไพศาลีช้างก็ง่วง ทำให้คนในสมัยนั้นเรียกเมืองไพศาลีว่า “ช้างง่วง” ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อจาก “ช้างง่วง” มาเป็น “พังม่วง” เนื่องจากช้างมีชื่อว่า “พัง” และในอดีตมีต้นมะม่วงต้นใหญ่อยู่ที่วัดโคกเดื่อ จากสาเหตุนี้ อาจจะทำให้เป็นที่ของคำว่า “พังม่วง” ทำให้เรียกติดปากกันมาช้านานว่า หมู่บ้านพังม่วง

        จากคำบอกเล่าของคนเก่าแก่ในอดีตได้เล่าต่อ ๆ กันว่า เมื่อสมัยก่อนนั้นมีช้างป่าตัวหนึ่งหลงทางเข้ามา และได้หยุดกินน้ำบริเวณนั้นเป็นน้ำที่คล้าย ๆ คลอง แต่เป็นคลองที่สั้น ๆ และเล็ก ที่เรียกว่า “ตะกุล” และช้างป่าตั้วนั้นก็ตายโดยไม่ทราบสาเหตุและได้มีชาวบ้านมาพบเห็นจึงเรียกกันว่า “ตะกุลช้างตาย” เพราะบริเวณนั้นเป็นคลองที่เรียกว่า “ตะกุล”

        หลังจากนั้นได้มีการตั้งเป็นตำบลใหม่ขึ้นมา เป็นตำบลโคกเดื่อ ส่วนสาเหตุที่เรียกว่าตำบลโคกเดื่อนั้น ไม่ทราบสาเหตุแน่นอน หลังจากนั้นประมาณ 70 กว่าปี ได้มีการตั้งเป็นอำเภอไพศาลีขึ้นมาแต่เดิมที่เมืองไพศาลี อยู่ที่หมู่บ้านหนองไผ่ (ตำบลสำโรงชัย) แต่ได้ย้ายจากหมู่บ้านหนองไผ่มาอยู่ที่ตำบลโคกเดื่อ สาเหตุที่ย้ายมาอยู่ที่ตำบลโคกเดื่อ เพราะจากการสำรวจพบว่าประชากรของตำบลโคกเดื่อมีมากกว่าที่หมู่บ้านหนองไผ่ และผู้สำรวจได้ดูแนวโน้มจากความเป็นจริงแล้วว่า ตำบลโคกเดื่อน่าจะมีการพัฒนาและเจริญมากกว่าหมู่บ้านหนองไผ่ เพราะเส้นทางการคมนาคม มีความสะดวกมากกว่า ผู้ที่มีส่วนช่วยในการเป็นผู้เสนอขอย้ายมาตั้งอำเภอที่หมู่บ้านโคกเดื่อ ก็มีอยู่หลายฝ่ายด้วยกัน ที่มีส่วนร่วมในครั้งนั้นมีตั้งแต่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน

        ลักษณะที่ตั้งของเมืองไพศาลี ในอดีตมีลักษณะเป็นป่าทึบและส่วนมากจะเป็นโคกสูง มีบางส่วนที่มีลักษณะคล้ายแอ่งกระทะ แต่ก็เป็นส่วนน้อย ก็คือบริเวณข้างวัดหลวงพ่อดำ มีลักษณะคล้ายแอ่งกระทะ หน้าน้ำจะมีน้ำท่วมสูง คล้ายกับทะเล เราจึงเรียกกันว่า สระทะเล จนถึงปัจจุบัน และบริเวณเดียวกันมีสระอยู่ 4 ลูก รวมทั้งสระทะเลด้วย สระลูกแรกเรียกว่า “สระไผ่” สระลูกที่สองเรียกว่า “สระเพลง” สระลูกที่สามเรียกว่า “สระหัวนวน” และสระทะเลที่มีขนาดใหญ่และกว้าง ในอดีตนั้นบริเวณเมืองไพศาลีเป็นป่าทึบและเริ่มมีผู้คนเข้ามาบุกเบิก มาตั้งบ้านเรือนในภายหลัง

 
   

เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 800x600 Text Size Medium
สร้างสรรค์โดยนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2549
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อ.เมือง จ.นครสวรรค์
 
 
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน