Ran khaa ya
 
 
 
 
     
   

ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น


รำกลองยาว

        อุปกรณ์และวิธีเล่น
        กลองยาวเป็นกลองหน้าเดียว รูปร่างทรงยาว ด้านล่างกลึงเป็นรูปคล้ายปากแตร ส่วนบนป่องเล็กน้อยปิดด้วยหนังวัว ขึงด้วยเชือกให้ตึง กลองยาวมีหลายขนาดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้เล่น ตกแต่งด้วยผ้าสีสวยงาม มีสายสะพายคล้องบ่าเพื่อสะดวกในการเดินตี
ผู้เล่นกลองยาวจะใช้มือตีทั้งสองมือ บางครั้งตีแบบโลดโผนเพื่อความสนุกสนาน ใช้กำปั้น ศอก เข่า ศีรษะ หรือต่อตัวในการตีกลอง ซึ่งต้องใช้ทักษะและความชำนาญในการตี

        โอกาสที่เล่น
        การเล่นกลองยาวเป็นการเล่นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ในจังหวัดนนทบุรีมีการเล่นกลองยาวตามอำเภอต่าง ๆ โดยจะเล่นในขบวนแห่นาค ขบวนทอดผ้าป่า งานรื่นเริง ปัจจุบันมีการประกวดแข่งขันการเล่นกลองยาวของแต่ละอำเภอในงานต่าง ๆ เช่น ในวันสงกรานต์เป็นต้น

        คุณค่า
        การเล่นกลองยาวเป็นการเล่นที่แสดงความพร้อมเพรียงสามัคคีในหมู่คณะ เนื่องจากเป็นการเล่นเป็นกลุ่มต้องการเสียง หรือจังหวะที่พร้อมกัน ให้ความสนุกสนานรื่นเริงทั้งผู้เล่นและผู้ชม
อุปกรณ์การเล่นและวิธีการเล่น



รำมะนา

        อุปกรณ์การเล่น
        รำมะนา ประกอบด้วยดนตรี "กลองรำมะนา" ฉิ่ง ฉาบ
การแต่งกาย ทั้งหญิงและชายแต่งกายตามสมัยนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๘ ช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ และหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งจอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี

        วิธีการเล่น
        รำมะนา เป็นการร้องเพลงโต้ตอบกันไปมาคล้ายลำตัด แต่ใช้เพลงรำวงในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ร้องขึ้นต้นและลงท้าย เช่น เพลงแปดนาฬิกา เพลงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เพลงช่อมาลี เพลงดวงจันทรา และเพลงรำวงมาตรฐานมาดัดแปลงให้เข้ากับการเล่นรำมะนาได้อย่างเหมาะสม โดยมีนักดนตรี นักร้อง และนักรำ ซึ่งจะรำกันเป็นคู่ ๆ การรำจะใช้ภาษาท่าซึ่งตีบทมาจากเพลงที่ร้องโต้ตอบกัน ผู้รำจะร้องเพลงที่รำไปด้วย ลีลาท่ารำจะอ่อนช้อยงดงาม สร้างความสนุกสนานให้กับนักดนตรี นักร้อง นักรำ และผู้ชมได้เป็นอย่างดี

        โอกาสหรือเวลาเล่น
        รำมะนานิยมเล่นกันในงานตรุษ งานสงกรานต์ งานบวชนาค งานมงคลสมรส และงานสนุกสนานรื่นเริงต่าง ๆ

        คุณค่า/แนวคิด/สาระ
        ๑. ผู้เล่นได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน เสริมสร้างความสามัคคี

 

เต้นกำรำเคียว

        อุปกรณ์และวิธีการเล่น
        อุปกรณ์ เคียวเกี่ยวข้าวกับรวงข้าว
        วิธีการเล่น ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะยืนอยู่ฝ่ายละครึ่งวงกลม แต่ละคนถือเคียวเกี่ยวข้าวและรวงข้าวไว้คนละมือ เมื่อการละเล่นเริ่มขึ้น ฝ่ายชายที่เป็นพ่อเพลงเป็นผู้เต้นออกไปกลางวงตามจังหวะปรบมือของลูกคู่และร้องเพลงเชิญฝ่ายหญิงว่า
มาเถิดเอย เอ๋ยละแม่มา มาหรือมาแม่มา มาเต้นกำย่ำหญ้ากันเสียในนานี้เอย
แล้วแม่เพลงจะรำออกมากลางวง ร้องโต้ตอบว่า
มาแล้วเอย เอยมาพ่อมา มาหรือมาพ่อมา มาหรือกระไรมาแล้ว พ่อพุ่มพวงดวงแก้ว น้องมาแล้วนายเอย
ชายและหญิงจะเต้นรำคู่กันไป ผู้ยืนอยู่รอบ ๆ วงจะเป็นลูกคู่ร้องรับปรบมือและเต้นไปตามจังหวะเพลงแล้วเปลี่ยนคู่ใหม่ เช่นนี้เรื่อยไป บทเพลงที่ร้องมีหลายบท เช่น เพลงมา เพลงเดิน เพลงรำ เพลงบิน เพลงร่อนเพลงแถ เพลงย่าง เพลงย่อง เพลงยัก เป็นต้น ใครร้องเพลงอะไรก็ทำท่าไปตามเพลงนั้น

        โอกาสที่เล่น

        หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าว

        คุณค่า
        ได้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการทำงานหนัก



 
   

เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 800x600 Text Size Medium
สร้างสรรค์โดยนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2549
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อ.เมือง จ.นครสวรรค์
 
 
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน