Ran khaa ya
     
 
โบราณสถาน

    โบราณสถานวัดเขาหน่อ

     ตั้งอยู่ตำบลบ้านแดน อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ โดยกลุ่มโบราณสถานตั้งอยู่บนยอดเขาหน่อบริเวณที่เป็นส่วนที่สูงที่สุดประมาณ 282 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
เขาหน่อตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง โดยห่างออกจากแนวแม่น้ำประมาณ 3 ก.ม. ประมาณเส้นรุ้งที่ 150 องศา 56 ลิปดา 45 ฟิลิปดา เหนือเส้นแวงที่ 99 องศา ตะวันออก

     ทิศเหนือมีพื้นที่ติดต่อกับเขาย่านาง เขานางพันธุรัตน์ เขากระเด็น และเขาคาน
ทิศใต้มีพื้นที่ติดต่อกับเขาแก้ว เขารักกะจันทร์ เขาผาสวรรค์ ทิศตะวันออกมีพื้นที่ติดต่อกับ
เขาหน่อและเขาปิงและ ทิศตะวันตกมีพื้นติดต่อกับถนนพหลโยธินและเขาห้วยลุง
กลุ่มโบราณสถานสำคัญเขาหน่อ ประกอบด้วยมณฑปก่ออิฐเทปูน ขนาดยาว 2.75 เมตร กว้าง 1.75 เมตร สูง 2.25 เมตร มีการเจาะช่องประตูทางด้านทิศตะวันออก ทิศตะวันตกและทิศใต้ ส่วนทิศเหนือเจาะช่องขนาดเล็ก ลักษณะศิลปะสุโขทัย ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจากหินชนวนขนาดยาว 1.75 เมตร กว้าง 0.45 เมตร หนา 0.55 เมตร โดยฝั่งไว้กับพื้นมณฑปที่เป็นอิฐฉาบปูนลักษณะรอบพระพุทธบาท รูปหอยสังข์ รูปลายปลาบู่ ธูปดอกไม้ รูปปราสาทแบบต่าง ๆ รูปสังข์ รูปเสือ รูปม้า รูปช้าง รูปฉัตร รูปกระต่าย รูปดอกบัว รูปครุฑ รูปกินรี รูปหงษ์ รูปเรือสำเภา รูปพัด และรูปช้างสามเศียรเป็นต้น ลักษณะลวดลายที่คล้ายกับลายที่พบบนพระพุทธบาทของวัดเขาพระบาทใหญ่สุโขทัย แต่ขนาดพระพุทธบาท กำหนดอายุราวพุทธศตรวรรษที่ 19 – 20 บริเวณด้านทิศเหนือของมณฑปพระพุทธบาทพบ ซากเจดีย์ ก่อด้วยศิลาแลง ขนาด 3.40 เมตร X 3.40 เมตร ตั้งอยู่ติดกับมณฑป
หลักฐานจากศิลาจารึกนครชุม พ.ศ. 1900 ต้นที่ 2 กล่าวว่าพระยาธรรม์กราช (พระยาลิไทย) ให้พิมพ์เอารอยตีน….พระเป็นเจ้าเต็งสิงหลอันเหยียบเหนือจอมเขาสุมนกุฎบรรพต ประมาณเท่าใดเอามาพิมพ์ไว้ จุ่งคนทั้งหลายแท้….อันหนึ่งประดิษฐานไว้ในเมืองศรีชนาลัย เหนือจอมเขา……อันหนึ่งประดิษฐานไว้ในเมืองสุโขทัย เหนือจอมเขา สุมนกุฎ อันหนึ่งประดิษฐานไว้ในเมืองบางพาน เหนือจอมเขานางทอง อันหนึ่งประดิษฐานไว้เหนือจอมเขาที่ปากพระบาง จารึกไว้ด้วยทุกแห่ง……..
จากหลักศิลาจารึกดังกล่าวประกอบกับหลักฐานรูปแบบของพระพุทธบาทที่พบมีลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มพระพุทธบาทที่พบบริเวณเมืองสุโขทัย ซึ่งคงจะอยู่ร่วมสมัยเดียวกันเมื่อพระยาลิไทย ทรงให้ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทในเมืองต่าง ๆ ตามศิลาจารึก
โบราณสถานวัดเขาหน่อ มีเนื้อที่ประมาณ 1,530 ไร่ 2 งาน 4 ตารางวา ได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถาน โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 10 มี.ค. 2537 เล่มที่ 111 ตอนที่ 200
   บัญชีรายการสิ่งของพระราชทาน

"  ปิ่นโตเถาเล็ก , ใหญ่

"  ตะเกียง

"  เครื่องหมายยุทธการ

"  กล่องไม้ใส่ของพระราชทาน

"  ตราทองเหลือง ( ติดหน้าตาลปัตร )

"  กาน้ำ

"  ภาพถ่ายพระอุปัชฌาย์แหยม

 

 


 
 

 

 
   
 
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 800x600 Text Size Medium
สร้างสรรค์โดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  ปีการศึกษา 2549
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อ.เมือง จ.นครสวรรค์
 
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน