|
|
วัดวรนาถบรรพต
ประวัติ
วัดวรนาถบรรพต (พระอารามหลวง)
ที่อยู่ 188 ถ.ธรรมวิธี ต.ปากน้ำโพ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000
วัดวรนาถบรรพต เดิมมีชื่อเรียกว่า "วัดกบ" หรือ "วัดเขากบ"
เหตุที่มีชื่อเรียกเช่นนี้ ก็เพราะเรียกตามชื่อของภูเขา ซึ่งวัดนี้ตั้งอยู่เชิงเขากบ
หรือมีชื่อเรียกเช่นนี้ก็เพราะเรียกตามชื่อของภูเขาซึ่งวัดนี้ตั้งอยู่เชิงเขากบ
หรือมีชื่อเรียกตามหลักฐานในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยอีกชื่อหนึ่ง
"วัดปากพระบาง" ต่อมาท่านเข้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี)
อดีตอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพฯ ซึ่งสมัยนั้น
ท่านเป็นเจ้าคณะมณฑล ได้มาตรวจการคณะสงฆ์
จังหวัดนครสวรรค์ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัตเห็นว่า "วัดกบ" หรือ
"วัดเขากบ" ตั้งอยู่ที่เชิงเขาจึงได้เปลี่ยนชื่อให้ใหม่และเรียกเป็นทางการว่า
"วัดวรนาถบรรพต"อย่างไรก็ตามประชาชน โดยทั่วไปมักเรียกชื่อ วัดกบ
หรือ วัดเขากบ กันจนติดปากมาจนตราบเท่าทุกวันนี้
วัดวรนาถบรรพต เป็นวัดเก่าแก่ของจังหวัดนครสวรรค์ ตั้งอยู่เชิงเขากบ เลขที่ ๑--๘๘ ถ.ธรรมวิถี ต.ปากน้ำโพ
อ.เมืองฯ จ.นครสวรรค์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ดิน ๑๐๙ ไร่ ๑ งาน ๑๐ ตารางวา วัดนี้มีปูชนียวัตถุที่สำคัญ
ได้แก่ เจดีย์ใหญ่สร้างในสมัยสุโขทัยพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) ยาวประมาณ ๑๐ วาเศษ อุโบสถหลังเก่าซึ่งมี
ี รูปปั้นตากบ-ยายเขียดที่หลวงพ่อทองสร้างอยู่ด้านหน้า บนยอดเขากบก็เป็นส่วนหนึ่งของวัดมีปูชนียวัตถุที่สำคัญ
เช่นกันคือรอยพระพุทธบาทสำลอง สมัยสุโขทัยประดิษฐานอยู่ในวิหารเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุพระพุทธรูป-
หินปางนาคปรก สมัยเชียงแสน เป็นต้นในอดีตวัดวรนาถบรรพต เคยเป็นวัดร้างมีซาก ปรักหักพังของสิ่งก่อสร้าง
ต่างๆ หลงเหลืออยู่ได้แก่ซุ้มเสมาของอุโบสถซากวิหาร พระพุทธไสยาสน์(พระนอน)เจดีย์ใหญ่และรอยพระพุทธ-
บาทจำลอง บนยอดเขากบสภาพบริเวณวัดเป็นป่าไม้รวกและปกคลุมด้วยต้นไม้น้อยใหญ่บริเวณนอกวัดมีคูรอบวัด
สันนิษฐานว่า วัดนี้สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย ดังปรากฏในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย ๒ หลัก คือ หลักศิลาจารึกหลักที่ ๒๐
มีขนาดสูง ๘๐ ซม. กว้าง๔๗ ซม. หนา ๖ ซม. ผู้ค้นพบคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ซึ่งค้นพบเมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ที่ยอดเขากบปัจจุบันกรมศิลปากรได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดวชิรญาณ-
ท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร(มนต์ชัยเทวัญวโรปกรณ๒๕๒๖ : ๘๑๐) จากข้อความในหลักศิลาจารึกหลักที่ ๒๐
ได้กล่าวถึงพญาบาลเมืองสร้างวัดเขากบ มีเจดีย์วิหารขุดตระพัง ปลูกบัวนานาพรรณเพื่อเป็นพุทธบูชา ปลูกต้น
พระศรีมหาโพธิ์ในรามอาวาส สร้างพุทธปฏิมา ดูงามนักงามหนาในวิหาร เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่พญารามผู้น้อง
ซึ่งมาสิ้นพระชนม์ลง ณ เมืองพระบางเมืองพระบางที่กล่าวไว้ในศิลาจารึกคือ เมืองนครสวรรค์ เดิมซากของเมือง
ตั้งอยู่บนที่ดอนตั้งชายเขาฤาษีลงมาจรดวัดหัวเมืองมุมเมืองอยู่ตรงวัดนั้นยังพอมีแนวแลเห็นเป็นหลักฐานในปัจจุบัน
|
|
|