|
|
ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา
อ. เมือง จ. นครสวรรค์
"ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา" นครสวรรค์ได้ชื่อว่าเป็นเมืองต้นแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งนี้เนื่องจากแม่น้ำปิง
และแม่น้ำน่านได้ไหลมาบรรจบกันที่ตำบลปากน้ำโพบริเวณด้านหน้าเขื่อนในตัวเมือง(บริเวณตลาด)
ซึ่งเป็นจุดรวมของแม่น้ำทั้งสองสายดังกล่าว จะมองเห็นถึงความแตกต่างของสายน้ำทั้งสองได้
้ อย่างชัดเจน กล่าวคือแม่น้ำน่าน จะมีสีค่อนข้างแดง และแม่น้ำปิงจะเป็นสีค่อนข้างไปทางเขียว
เมื่อมาบรรจบกันแล้วจึงค่อยๆ รวมตัวเข้าด้วยกันกลายเป็นแม่น้ำสายใหญ่ เป็นสายสำคัญของประเทศไทย
ไหลผ่านจังหวัดต่างๆ ในภาคกลางไปจนถึงกรุงเทพมหานคร และออกอ่าวไทยที่จังหวัดสมุทรปราการ
มีความยาวประมาณ 370 กิโลเมตร จุดชมต้นแม่น้ำเจ้าพระยา คือ บริเวณศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-
เจ้าแม่ทับทิมนักท่องเที่ยวที่ต้องการจะเที่ยวทางเรือเพื่อชมทัศนียภาพสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และแวะนมัสการหลวงพ่อโตที่วัดปากน้ำโพ (วัดทองธรรมชาติเหนือ) สามารถเช่าเรือจากท่าน้ำเจ้าพระยา
การรวมตัวของแม่น้ำเจ้าพระยา
1) แม่น้ำเจ้าพระยา เกิดจากการไหลมารวมกันของแม่น้ำปิง และแม่น้ำน่านที่บริเวณปากน้ำโพในเขต
เทศบาลนครนครสวรรค์ แล้วไหลลงทางทิศใต้สู่ที่ราบลุ่มภาคกลางตอนใต้และออกสู่ทะเล
ที่อ่าวไทยเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่มีประโยชน์ ทั้งทางด้านการเกษตร การคมนาคม การอุตสาหกรรม
การอุปโภคบริโภคของบริเวณริมสองฝั่งแม่น้ำมาเป็นเวลาช้านานแล้ว และยังเป็นแหล่งประมงน้ำจืด
ที่สำคัญอีกด้วย
2) แม่น้ำปิง เป็นลำน้ำสายใหญ่ที่มีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาภาคเหนือ ไหลผ่านท้องที่อำเภอ
บรรพตพิสัย อำเภอเก้าเลี้ยว มาบรรจบกับแม่น้ำน่านเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณตำบลปากน้ำโพ
เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญอีกสายหนึ่ง ทั้งในด้านการเกษตรอุตสาหกรรม การอุปโภคบริโภค ของประชากรบริเวณสองฝั่งแม่น้ำ
3) แม่น้ำน่าน เป็นลำน้ำสายใหญ่ มีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาผีปันน้ำจังหวัดน่านไหลผ่านจังหวัด
สำคัญ คือ พิษณุโลก พิจิตรและผ่านท้องที่อำเภอชุมแสงเข้าอำเภอเมืองนครสวรรค์ก่อนมาบรรจบ
กับแม่น้ำปิงที่ตำบลปากน้ำโพ เป็นแหล่งน้ำที่ใช้ประโยชน์ ทั้งด้านการเกษตร การคมนาคม
การอุปโภคบริโภค เช่นเดียวเป็นลำน้ำที่มีน้ำไหลกัน
4) แม่น้ำยม ต้นกำเนิดเกิดจากเทือกเขาในจังหวัดแพร่ ไหลผ่านจังหวัดสุโขทัย และจังหวัด
กำแพงเพชร ในภาคเหนือลงมาจนบรรจบกับแม่น้ำน่าน ที่ตำบลเกยไชยอำเภอชุมแสง
สามารถใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรและการอุปโภคบริโภคของประชากรบริเวณ
สองฝั่งแม่น้ำได้เป็นอย่างดีอีกส่วนหนึ่ง
|
|
|
|