Ran khaa ya
     
:: กลับสู่หน้าหน่วยการเรียน ::
ตัวชี้วัด
กาแล็กซี่
เนบิวลา
ระบบสุริยะ
แบบฝึกหัดระหว่างเรียน
 

ระบบสุริยะ


        ในบรรดาดาวฤกษ์นับพัน ๆ ดวงที่ประกอบเป็นกาแล็กซีของเรานั้นมีอยู่ดวงหนึ่งซึ่งเป็นดาวฤกษ์ขนาดกลางอยู่แถบชายขอบ
ของกาแล็กซีที่เราควรให้ความสนใจเป็นพิเศษเพราะว่าเราอยู่ใกล้กับมัน  ดาวฤกษ์ดวงนี้คือดวงอาทิตย์ (the sun) นั่นเอง  ดาวฤกษ์ที่ไมเหมือนดาวฤกษ์ใดดวงนี้กับดาวเคราะห์ทั้งหลายที่เป็นบริวารซึ่งหมุนรอบตัวเองและโคจรไปรอบดวงอาทิตย์นี้ก่อให้เกิดสิ่งที่เราเรียกว่า ระบบสุริยะ (solar system)  ซึ่งประกอบด้วยดาวเคราะห์ที่รู้จักกับแล้ว  ดาวบริวารต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นสิ่งที่เราเรียกว่าวงแถบดาวเคราะห์น้อย (the Asteriod belt) ซึ่งอยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี   วงแถบดาวเคราะห์น้อยนี้อาจจะเป็นเศษเหลือจกาการที่ดาวเคราะห์เก่าแก่ที่ถูกทำลายลงก็ได้

ดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์ที่เป็นบริวาร (THE SUN AND ITS PLANETS)
        ดวงอาทิตย์มีขนาดใหญ่กว่าดาวเคราะห์ทุกดวง  แม้แต่ดาวพฤหัสบดีซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุด  มวลสารของระบบสุริยจักรวาลเกือบร้อยละ  99  อยู่ในดวงอาทิตย์  ส่วนที่เหลือกระจัดกระจายกันไปเป็นดาวเคราะห์ทั้งหมด  ดาวเคราะห์เหล่านี้หมุนรอบตัวเองตามวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ ระยะเวลาที่ดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ  1  รอบ เรียกว่า  1  ปี สำหรับโลกใช้เวลาประมาณ 365 วัน แต่ระยะเวลา  1 ปีของดาวเคราะห์แต่ละดวงนั้นก็ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับว่าดาวเคราะห์ดวงนั้น ๆ  อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากเท่าใด  ระยะเวลา 1 ปีที่สั้นที่สุดเป็นของดาวพุธ (Mercury) คือเพียง  88  วันเท่านั้น และระยะเวลา  1  ปีที่ยาวที่สุดเป็นของดาวยม (พลูโต  pluto)  ซึ่งเท่ากับ  248  ปีของโลก

การก่อเกิด (ORIGINS)
        เมื่อราว  5  พันล้านปีมาแล้ว  ในบริเวณที่เป็นระบบสุริยะปัจจุบันเต็มไปด้วยธุลีและก๊าซจากดาวฤกษ์ประเภทซูเปอร์โนวา (supernova)  ดวงหนึ่งที่ระเบิดออกมาก่อนหน้านั้น  ต่อมาสสารต่าง ๆ  เหล่านี้ก็ควบแน่นเข้ากันด้วย แรงของความถ่วง (the force of gravity)  ทำให้เกิดเป็นแกนที่มีความหนาแน่นสูงขึ้นแกนหนึ่ง  ซึ่งแกนนี้ได้ดึงดูดเอาสสารทั้งหลายเข้ามารวมกันเป็นกลุ่มที่ก่อรูปขึ้นเป็นดวงอาทิตย์  ส่วนสสารที่เหลือก็ก่อรูปขึ้นเป็นกลุ่มรูปจานแบนรอบดาวฤกษ์ดวงนี้  ต่อมาการปะทะกันระหว่างอนุภาคต่าง ๆ  และก้อนหินเล็ก ๆ  ยังผลให้เกิดการคอดตัวขึ้นในที่บางแห่ง  ซึ่งต่อมาก็ขาดออกจากกันกลายเป็นก้อนมวลหลายก้อนที่เราเรียกว่าดาวเคราะห์ในปัจจุบัน


   
   
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 800x600Text Size Medium
การออกแบบเว็บไซต์กับการพัฒนาชีวิต วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ ง42202 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 1
   
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน