เมื่อจำแนกตามหน้าที่พิเศษ ได้ดังนี้
1.รากค้ำจุน ( prop root ) เป็นรากที่แตกออกจากข้อของลำต้นที่อยู่ใต้ดินและเหนือดินเล็กน้อยแล้วพุ่งทะแยงลงไปใน ดินเพื่อช่วยพยุง
และค้ำจุนลำต้นได้แก่ รากเตย ลำเจียก ข้าวโพด ยางอินเดีย โกงกาง และไทรย้อย เป็นต้น
2.รากสังเคราะห์แสง ( photosynthetic root )
เป็นรากที่แตกออกจากข้อของลำต้นหรือกิ่งแล้วห้อยลงมาในอากาศมีสีเขียวของคลอโรฟิลล์จึงสังเคราะห์แสง
ได้ ได้แก่รากกล้วยไม้ไทรโกงกางซึ่งจะมีสีเขียวเฉพาะตรงที่ห้อยอยู่ในอากาศเท่านั้นรากกล้วยไม้นอกจากจะ
มีสีเขียวและช่วยในการสังเคราะห์แสงแล้ว พบว่ามีเยื่อพิเศษลักษณะนุ่มคล้ายฟองน้ำเป็นเซลล์พวกพาเรงคิมา
เรียงตัวกันอย่างหลวมๆโดยมีช่องว่างระหว่างเซลล์มากเรียกนวม(velamen ) หุ้มอยู่ตามขอบนอกของรากช่วยดูดน้ำ
รักษาความชื้น ให้แก่ราก ตลอดทั้งช่วยในการหายใจด้วย
3.รากหายใจ(respiratoryrootoraeratingroot)
เป็นรากที่ชูปลายรากขึ้นมาเหนือพื้นดินบางทีก็ลอยตามผิวน้ำเพื่อช่วยในการหายใจได้มากเป็นพิเศษกว่าราก
ปกติทั่วๆไปทั้งนี้เพราะโครงสร้างของรากประกอบด้วยเซลล์พาเรงคิมาซึ่งเรียงตัวอย่างหลวมๆมีช่องว่าง
ระหว่างเซลล์มากทำให้อากาศผ่านเข้าสู่เซลล์ชั้นในของรากได้ง่ายรากเหล่านี้อาจเรียกว่ารากทุ่นลอย
(pneumatophore)ได้แก่ ลำพู แสม โกงกาง แพงพวยน้ำ และผักกระเฉด
4.รากเกาะ ( climbing root ) เป็นรากที่แตกออกมาจากส่วนข้อของลำต้น แล้วเกาะติดกับสิ่งยึดเกาะ เช่นเสาหรือหลักเพื่อพยุงลำต้นให้
ติดแน่นและชูส่วนของลำต้นให้สูงขึ้นไปและให้ส่วนต่างๆของพืชได้รับแสงมากขึ้น ได้แก่ พลูพลูด่าง พริกไทย
และกล้วยไม้
5.รากกาฝาก ( parasitic root) เป็นรากของพืชที่ไปเกาะต้นพืชชนิดอื่นแล้วมีรากเล็กๆแตกออกมาเป็นกระจุกแทงลงไปในลำต้นจนถึง
ท่อลำเลียงเพื่อแย่งอาหาร ได้แก่ รากฝอยทอง กาฝาก
6.รากสะสมอาหาร ( storage root )
ทำหน้าที่สะสมอาหารพวกแป้ง ไขมัน และโปรตีน เช่น รากกระชายมันเทศ มันแกว มันสำปะหลัง
รากมีหน้าที่หลักที่สำคัญ คือ
1. ดูด ( absorption )
น้ำและแร่ธาตุที่ละลายน้ำจากดินเข้าไปในลำต้น
2. ลำเลียง ( conduction )
น้ำและแร่ธาตุรวมทั้งอาหารซึ่งพืชสะสมไว้ในรากขึ้นสู่ส่วนต่างๆของลำต้น
3. ยึด ( anchorage ) ลำต้นให้ติดกับพื้นดิน
4.แหล่งสร้างฮอร์โมน(producinghormones) รากเป็นแหล่งสำคัญในการผลิตฮอร์โมนพืชหลายชนิดเช่นไซโทไคนินจิบเบอเรลลินซึ่งจะถูกลำเลียงไปใช้
เพื่อการเจริญพัฒนาของส่วนลำต้นส่วนยอดและส่วนอื่นๆของพืช นอกจากนี้ยีงมีรากของพืชอีกหลายชนิดที่
ทำหน้าที่พิเศษอื่นๆ เช่น สะสมอาหารสังเคราะห์แสงค้ำจุนยึดเกาะหายใจเป็นต้น
|