โครงสร้างภายในของลำต้น
1. เอพิเดอร์มิส ( Epidermis ) อยู่ชั้นนอกสุด ปกติเรียงเป็นแถวเดียวและอาจเปลี่ยนเป็นขนหนาม หรือเป็นเซลล์คุม(Guardcell) ผิวด้าน นอกของเอพิเดอร์มิสจะมีสารคิวทินเคลือบอยู่ ไม่มีคลอโรพลาสต์ 2. คอร์เทกซ์ ( Cortex ) มีอาณาเขตแคบกว่าในราก ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิมาเซลล์ชั้นนอกที่ติดกับเอพิเดอร์มิส23แถวเป็นพวก คอลเลงคิมาและมีเนื้อเยื่อสเกลอเรงคิมาแทรกอยู่ทั่วๆไปในลำต้นที่ยังอ่อนเซลล์พาเรงคิมาในชั้นนี้ที่ใกล้ๆ เอพิเดอร์มิสจะมีคลอโรพลาสตลำต้นจะมีการแตกกิ่งจากชั้นเอนโดเดอร์มิสอยู่ถัดจากชั้นในสุดของคอร์เทกซ์เข้าไป แต่ในลำต้นพืชส่วนใหญ่เห็นไม่ชัดเจนหรือไม่มีซึ่งต่างจากในรากที่เห็นได้ชัดเจน 3. สตีล ( Stele ) ในลำต้นชั้นของสตีลจะกว้างกว่าในรากและแบ่งแยกจากชั้นของคอร์เทกซ์ได้ไม่ชัดเจน ซึ่งจะแตกต่างจากในราก ประกอบด้วยชั้นต่างๆดังนี้ 3.1)มัดท่อลำเลียง(Vascularbundle) โดยทั่วๆไปประกอบด้วยไซเลมอยู่ด้านในและโฟลเอมอยู่ด้านนอก เรียงตัวอยู่ในแนวรัศมีเดียวกันโดยมี วาสคิวลาร์แคมเบียมคั่นระหว่างกลาง 3.2)พิธ(Pith) อยู่ชั้นในสุดเป็นไส้ในของลำต้นประกอบด้วยเนื้อเยื่อพวกพาเรงคิมาทำหน้าที่สะสมแป้ง หรือสารต่างๆลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวส่วนใหญ่มีการเจริญเติบโตขั้นต้น(Primary growth)มีชั้นเนื้อเยื่อต่างๆเช่น เดียวกับในพืชใบเลี้ยงคู่แต่ต่างกันตรงที่มัดท่อลำเลียงในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะมีบันเดิลชีท(Bundlesheath)ซึ่งอาจ เป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิมาที่มีแป้งสะสมอยู่หรืออาจเป็นเนื้อเยื่อสเกลอเรงคิมามาล้อมรอบและมัดท่อลำเลียงเหล่านี้ จะกระจายอยู่ทั่วไปในชั้นคอร์เทกซ์โดยไม่มีวาสคิวลาร์แคมเบียมคั่นระหว่างไซเลมและโฟลเอ็มส่วนของพิธ จะสลายไปกลายเป็นช่องกลวงอยู่ใจกลางลำต้นเรียกช่องพิธ(pithcavity)เช่นในลำต้นของหญ้าไผ่ นอกจากนี้ พืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิดมีเนื้อเยื่อเจริญแคมเบียม เช่น จันทร์ผา หมากผู้หมากเมีย จะมีมัดท่อลำเลียงคล้าย ในพืชใบเล้ยงคู่ และสามารถเกิดเนื้อเยื่อชั้นคอร์กขึ้นได้เมื่อลำต้นมีอายุมากขึ้น
ลำต้นใบเลี้ยงคู่
ลำต้นใบเลี้ยงเดี่ยว