ชนิดของลำต้น โดยทั่วไปสามารถจำแนกลำต้นออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆด้วยกันคือ
1.ลำต้นเหนือดิน(aerial stem/terrestrial stem)
1.1)creeping stem:
คือลำต้นที่ทอดหรือเลื้อยขนานไปตามผิวดินหรือผิวน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด ฟักทอง สตรอเบอรี่ และหญ้า เป็นต้น
1.2)climbing stem:
คือลำต้นที่ไต่ขึ้นที่สูงโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ถ้ามีหลักหรือต้นไม้ที่ลำต้นตั้งตรงอยู่ใกล้ๆจะถูกใช้ไต่ขึ้นไป
แบ่งออกเป็น
1.2.1)twining stem
ลำต้นไต่ขึ้นที่สูงโดยใช้ลำต้นพันกับหลักเป็นเกลียว เช่น เถาวัลย์ ต้นถั่ว บอระเพ็ด ฝอยทอง
1.2.3)stem tendril:
ลำต้นไต่ขึ้นที่สูงโดยใช้ส่วนของลำต้นดัดแปลงไปเป็นมือเกาะ(tendril) เพื่อพันหรือไต่ขึ้นที่สูง
1.2.4)tendril:
จะบิดเป็นเกลียวคล้ายสปริงเพื่อให้ยืดหยุ่น เช่น ต้นองุ่น บวบ แตงกวา กระทกรก โคกกระออม พวงชมพู
1.2.5)root climber:
ลำต้นไต่ขึ้นที่สูงโดยใช้รากซึ่งออกมาตามข้อ ยึดหลักหรือต้นไม้ เช่น ต้นพริกไทย พลู และพลูด่าง
1.3)stem spine / stem thorn:
ลำต้นที่ดัดแปลงไปเป็นหนามหรือขอเกี่ยว (hook) เพื่อไต่ขึ้นที่สูง เช่น ต้นเฟื้องฟ้า ไผ่ ไมยราบ
และพืชตระกูลส้ม
1.4)cladophyll / phylloclade / cladode:
คือลำต้นที่เปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะหรือหน้าที่คล้ายใบ เช่น ลำต้นแป็นแผ่นแบน หรือมีสีเขียวของ
คลอโรฟีลล์ ได้แก่ กระบองเพชร พญาไร้ใบ หน่อไม้ฝรั่ง โปร่งฟ้า
1.5)bulbil / crown / slip:
คือลำต้นที่เป็นตาหรือหน่อเล็กๆ สั้นๆ ที่ประกอบด้วยยอดอ่อนและใบเล็กๆ 2-3 ใบ แตกออกระหว่างซอกใบ
กับลำต้น หรือแตกออกจากยอดของลำต้นแทนดอก เมื่อมันหลุดร่วงลงดินก็สามารถเจริญเป็นต้นใหม่ได้ เช่น
หอม กระเทียม สับปะรด
2.)ลำต้นใต้ดิน (underground stem)
2.1)rhizome:
ลำต้นใต้ดินที่เรียกกันว่าแง่งหรือเหง้าส่วนใหญ่ขนานกับพื้นดินมีข้อปล้องเห็นได้ชัดเจนตามข้อมีใบที่เป็นแปลงเป็นสีน้ำตาลได้แก่ ขิง ข่า ขมิ้น บางชนิดอาจตั้งตรง เช่น กล้วย พุทธรักษา
2.2)tuber:
ลำต้นใต้ดินที่สะสมอาหาร ทำให้อวบอ้วน แต่บริเวณที่เป็นตาจะไม่อ้วนออกมาด้วยทำให้เห็นเป็นรอยบุ๋ม ได้แก่ มันฝรั่ง
2.3)bulb:
ลำต้นใต้ดินที่ลำต้นเล็กมีปล้องสั้นมาก ตามปล้องมีใบเกล็ดซ้อนกันหลายๆชั้น ห่อหุ้มลำต้นเอาไว้และสะสมอาหาร เช่น หอม กระเทียม
2.4)corm:
เป็นลำต้นใต้ดินที่ตั้งตรงเช่นเดียวกับ bulb มีลักษณะคล้ายกันแต่เก็บสะสมอาหารไว้ในลำต้นจนทำให้เห็น
ลำต้นอวบอ้วน ตามข้อมีใบเกล็ดบางๆหุ้ม มีตางอกตามข้อ เช่น เผือก แห้วจีน
|