Ran khaa ya
     
:: กลับสู่หน้าหน่วยการเรียน ::
ตัวชี้วัด
โครงสร้างภายในของใบ
ชนิดของใบ
การคายน้ำของใบ
แบบฝึกหัดระหว่างเรียน
 

ชนิดของใบจำเเนกตามจำนวนของใบที่เเยกออกจากก้านใบ

1. ใบเดี่ยว (simple leaf)

       ใบที่มีตัวใบแผ่นเดียว เช่นใบน้อยหน่ามะม่วงชมพู่พืชบางชนิดตัวใบเว้าโค้งไปมาจึงทำให้ดูคล้ายมีตัวใบ
หลายแผ่นแต่บางส่วนของตัวใบยังเชื่อมกันอยู่ถือว่าเป็นใบเดี่ยวเช่น ใบมะละกอ ใบฟักทอง ตัวใบมักติดกับก้านใบ
ถ้าใบที่ไม่มีก้านใบเรียก sessile leaves เช่น บานชื่น

2. ใบประกอบ (compound leaf)

      2.1)ใบที่มีตัวใบหลายแผ่นติดอยู่กับก้านใบเดียว เช่น ขี้เหล็ก ใบจามจุรี ใบย่อย เรียกว่า leaflets

       2.2)ใบที่ประกอบด้วยหลายใบย่อย (leaflets) แต่ละใบย่อยมีก้านใบย่อย (petiolule) ออกจากแกนกลาง (rachis) เป็นคู่ๆ คล้ายขนนก

         2.2.1)ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว (Pinnately compound leaf)  
             ใบที่ประกอบด้วยใบย่อยแตกออกจากก้านใบเพียงครั้งเดียว ใบย่อยแต่ละใบจะมีก้านใบย่อย เรียกว่า petiolue ได้แก่ ใบกุหลาบ ใบมะขาม ใบขี้เหล็ก ใบสะเดา ใบทองอุไร ใบกาลพฤกษ์

         2.2.2)ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น (bipinnately compound leaf)
              ใบที่ประกอบด้วยใบย่อยแตกออกจากก้านใบเพียง 2 ครั้ง และมีช่วงของก้านใบหรือแกนกลาง 2 แห่ง คือ rachis และ rachilla เช่น ใบหางนกยูงฝรั่ง จามจุรี กระถิน

         2.2.3)ใบประกอบแบบขนนกสามชั้น (tripinnately compound leaf)
              ใบที่ประกอบด้วยใบย่อยแตกออกจากก้านใบเพียง 3ครั้ง และมีช่วงของก้านใบหรือแกนกลาง 2 แห่ง คือ rachis และ rachilla แต่แกนกลางที่ 3 อาจเรียกรวมว่า rachilla ตัวอย่าง เช่น ใบมะรุม บีบ

         2.2.4)ใบที่ประกอบด้วยหลายใบย่อย (leaflets)
               แตกออกจากส่วนก้านใบลักษณะคล้ายนิ้วมือ ซึ่งแบ่งเป็นประเภทต่างๆ  ดังนี้ bifoliage ใบที่ประกอบด้วยใบย่อย 2 ใบ trifoliage ใบที่ประกอบด้วยใบย่อย 3 ใบ

   
   
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 800x600 Text Size Medium
การออกแบบเว็บไซต์กับการพัฒนาชีวิต วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ ง42202 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 1
   
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน