การคายน้ำ ของพืชแบ่งเป็น 2 วิธีคือ
1. การคายน้ำในรูปของไอน้ำ เกิดได้ 3 ลักษณะ ดังนี้
1.1) การคายนํ้าทางปากใบ
เรียกว่า สโตมาทอล ทรานสพิเรชัน (stomatal transpiration) เป็นการคายนํ้า ที่เกิดขึ้นมากถึง 90% ลักษณะของปาก ปากใบของพืชประกอบด้วยช่องเล็กๆในเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดของใบเรียกว่าชั้นเอพิเดอร์มีส(epidermislayer) เซลล์ชั้นนี้เป็นชั้นที่อยู่นอกสุดปกคลุมส่วนที่อยู่ข้างในทั้งทางด้านบนคือเอพิเดอร์มิสด้านบน(upperepidermis)และทางด้านล่าง คือ เอพิเดอร์มิสด้านล่าง (lower epidermis) เซลล์ชั้นนี้ไม่มีคลอโรฟีลล์อยู่ด้วย จึงทำให้สังเคราะห์ด้วยแสงไม่ได้ เซลล์เอพิเดอร์มิส บางเซลล์เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่เป็นเซลล์คุม(guardcell)อยู่ด้วยกันเป็นคู่มีรูปร่างคล้ายเมล์ดถั่วแดงประกบกัน ผนังด้านใน ของเซลล์คุมหนากว่าผนังเซลล์ด้านนอกระหว่างเซลล์คุมเป็นปากใบ(stomata)พบว่าทางด้านล่างของใบมีปากใบอยู่มากกว่าทางด้านบน เซลล์คุม (guard cell) ทำหน้าที่ปิดและเปิดปากใบ เซลล์คุมแตกต่างจากเซลล์เอพิเดอร์มิสอื่น คือ เซลล์คุมมีคลอโรฟีลล์อยู่ด้วย จึงสามารถสังเคาระห์ด้วยแสงได้และการสังเคราะห์ด้วยแสงนี้เป็นกลไกสำคัญที่ทำให้เกิดการเปิดปิดของปากใบ การคายน้ำและ การลำเลียงสารของพืช ผิวของเซลล์ชั้นเอพิเดอร์มิสมีสารพวกขี้ผึ้ง เรียกว่า คิวทิน ฉาบอยู่ช่วยป้องกันการระเหยของน้ำ
|
1.2) การคายน้ำทางผิวใบ
บริเวณผิวใบมีคิวทิน (Cuticular transpiration) เป็นสารคล้ายขี้ผึงเคลือบอยู่จึงทำให้พืชคายน้ำทางผิวใบเพียง 10
1.3) การคายน้ำทางเลนติเซล (Lenticular transpiration) เป็นการคายน้ำออกทางรอยแตกที่ผิวของลำต้นกิ่งที่เรียกว่า เลนติเซล(lenticel) ซึ่งเกิดขึ้นน้อยมาก
2. การคายน้ำในรูปหยดน้ำ
เป็นการคายน้ำในรูปหยดน้ำเล็ก ๆ ทางรูเปิดเล็ก ๆ ตามปลายเส้นใบที่ขอบใบที่เรียกว่า โฮดาโธด (hydathode) การคายน้ำนี้เรียกว่า กัตเตชัน (guttation)ซึ่งเกิดขึ้นเมื่ออากาศมีความชื้นมากๆอุณหภูมิต่ำและลมสงบ ออกจากผิวใบปากใบพืช
|