สัญลักษณ์จังหวัดนครสวรรค์
ตราประจำจังหวัด รูปวิมาน
หมายถึง ตามคติทางศาสนาที่เชื่อถือกันมาว่าบนสวรรค์นั้นเป็นที่อยู่ของเหล่าเทพทั้งหลาย และผู้มีบุญมากเท่านั้นจึงจะได้ไปบังเกิดในสวรรค์ มีวิมานเป็นที่สถิตอย่างสุขสบาย เมื่อจังหวัดนี้ชื่อว่า นครสวรรค์ แปลว่าเมืองของชาวสวรรค์ จึงได้นำเอา วิมาน มาเป็นสัญญลักษณ์ของเมืองนี้ จังหวัดนครสวรรค์ ใช้อักษรย่อว่า นว
คำขวัญจังหวัดนครสวรรค์ เมืองสี่แคว แห่มังกร พักผ่อนบึงบอระเพ็ด ปลารสเด็ดปากน้ำโพ
ธงประจำจังหวัด
ดอกไม้ประจำจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อดอกไม้ ดอกเสลา
ต้นไม้ประจำจังหวัด
ชื่อพรรณไม้ เสลา ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerstroemia loudonii
ประวัติความเป็นมา
นครสวรรค์ในอดีตเป็นเมืองโบราณที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านานจากหลักฐานการขุดค้นพบโบราณวัตถุสมัยทวารวดีที่บ้านโคกไม้เดน อำเภอพยุหะคีรี (ในปัจจุบัน) ในจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งเป็นรัชกาลที่ 3 ในราชวงศ์พระร่วง ได้เรียกเมืองนี้ว่า"เมืองพระบาง"เป็นเมืองด่านของมณฑลราชธานี สุดชายแดนฝ่ายใต้ ถัดขึ้นไปมีเมืองคณฑีที่บ้านโคนอยู่ระหว่างกลางอีกเมืองหนึ่งแล้วก็ถึงเมืองนครชุม ซึ่งก็คือเมืองกำแพงเพชรในปัจจุบัน ด้วยเหตุที่ตัวเมืองอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วหันไปทางทิศตะวันออกตอนเช้าจะเห็นดวงตะวันขึ้นตรงหน้าเมืองพอดีหลายคน จึงเรียก"เมืองชอนตะวัน" แล้วเปลี่ยนไปเป็น"นครสวรรค์" จนทุกวันนี้ ปี 2321
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครั้นดำรงพระยศเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้อัญเชิญ "พระบาง" ส่งกลับคืนยังกรุงเวียงจันทร์ ระหว่างทางได้นำพระบางไปไว้ที่เมืองนครสวรรค์ชั่วคราวก่อนเนื่องจากเกิดศึกติดพันกับพม่าดังนั้นนครสวรรค์จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "เมืองพระบาง" ในสมัยราชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงมหาดไทย จัดรูปแบบระบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้น และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาดัสกร ปลาส (อยู่)เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลเป็นคนแรก ตัวเมืองนครสวรรค์ ได้ย้ายไปอยู่ทางฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกด้วยจนเกิดเป็นชุมชนใหญ่ขึ้น ตัวอำเภอเมืองอยู่ที่อำเภอบ้านแก่ง ต่อมาปี 2447 ตำบลบ้านแก่งก็ย้ายกลับมาอยู่ที่ปากน้ำโพดังเดิม เรียกว่า "ตำบลปากน้ำโพ"ในปี พ.ศ.2458 สมัยรัชกาลที่ 6 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดรูปแบบการปกครองเป็นแบบจังหวัด อำเภอ แทนแบบตำบล จึงได้ย้ายตัวเมืองกลับมายังฝั่งตะวันตกของแม่น้ำอีกครั้งหนึ่งแล้วให้เรียกชื่อว่า"อำเภอเมืองนครสวรรค์" ดังปัจจุบันนี้
|