Ran khaa ya
         
 
สหกรณ์การเกษตรเพื่อเกษตรกร

ที่มาของโครงการ
          การดำเนินการในการจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรเพื่อเกษตรกร ได้สำรวจความต้องการ ของชาวบ้านทางด้านการเกษตรในตำบลหนองกรดในหมู่ที่ 1 ถึงหมู่ที่ 17 ปรากฏว่าข้อมูล ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมประมาณ  90% ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม เกษตรกรจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยซึ่งมีการจัดซื้อปุ๋ย จากร้านค้า ทั่วไปประมาณ 70% และในการ จำหน่ายผลผลิตต้องผ่าน พ่อค้าคนกลางประมาณ  65% จากผลการวิเคราะห์  ทำให้ทราบว่า ประชาชนในพื้นที่ตำบลหนองกรด  ประสบปัญหา การเกษตรด้านต่างๆ ดังนั้นทางคณะ นิสิตนักศึกษาจึงได้ทำการจัดตั้งโครงการนี้ขึ้น เพื่อแก้ปัญหาทางด้านการเกษตรของประชาชน ชาวตำบลหนองกรด
หลักการและเหตุผล
          จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านการเกษตรของตำบลหนองกรด พบว่าประชากร ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยพืชที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นข้าว  มันสำปะหลัง  อ้อย   มะเขือ จากข้อมูลทำให้เราทราบว่ามันสำปะหลังเป็นพืชไร่ ที่ปลูกมากที่สุดในบริเวณหมู่ที่ 7,หมู่ที่ 12 , หมู่ที่ 15 และหมู่ที่ 16 บางส่วน พื้นที่ปลูกมัน สำปะหลังประมาณ 12,522 ไร่ คิดเป็น 15.55% ของพื้นที่ตำบลหนองกรด และมีพื้นที่ปลูกอ้อย 10,168 ไร่ คิดเป็น 12.63%  ของพื้นที่ตำบลหนองกรด จากข้อมูล ที่ได้ทำการสอบถาม จากประชาชนชาวตำบลหนองกรด ทำให้รู้ว่าเกษตรกร ชาวไร่มันสำปะหลัง ยังขาดความรู้ ู้ทางด้านการเกษตร เช่น มีการใช้ปุ๋ย ไม่ถูกสูตร ซึ่งจะทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ และการบำรุง รักษาผลผลิตไม่ดีพอ ทำให้ผลผลิต ที่ได้ไม่สูงมากนัก และปัญหาอื่นๆ เช่น ปัญหาทางด้าน การขนส่งผลผลิตไปยังแหล่งรับซื้อ และโรงงาน ซึ่งจะเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่ง อีกทั้งปัญหา ของตลาดรองรับผลผลิต และเงิน ทุนในการประกอบอาชีพ ดังนั้นโครงการเรียนรู้ร่วมกัน สรรค์สร้างชุมชนจึงได้เสนอ โครงการ นี้ขึ้น เพื่อช่วยแก้ปัญหาความยากจน ภายในชุมชน และเพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้กับ ประชาชน
วัตถุประสงค์ของโครงการ
          1. เพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้ด้านการเกษตรให้แก่เกษตรกรในตำบลหนองกรด
          2. เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง
          3. เพื่อเป็นการระดมทุนให้กับสหกรณ์
          4. เพื่อให้สมาชิกรู้จักการออมทรัพย์
วิธีดำเนินการ
          1.จัดหาสถานที่เพื่อจัดตั้งสหกรณ์
          • ศึกษาทำเลพื้นที่ของตำบลหนองกรด
          • กำหนดสถานที่ตั้ง
          2. ก่อสร้างอาคารและลานรับซื้อ
          • ออกแบบอาคารสถานที่
          • ดำเนินการก่อสร้างตามแบบ

         3. ขั้นตอนการดำเนินงาน
          • จัดหาวัสดุอุปกรณ์ทางการเกษตร รวมทั้งสิ่งของที่จำเป็นจำหน่ายแก่สมาชิก
          • จัดให้มีการบำรุงรักษาพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตร เพื่อผลผลิตที่มีคุณภาพ
          • จัดอบรมให้กับสมาชิกในสหกรณ์
          • รวบรวมผลผลิตของสมาชิก เพื่ออำนาจการต่อรองราคา
          • แบ่งเงินปันผลแก่สมาชิก
          • ประเมินผลการดำเนินกิจกรรมเพื่อใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาสหกรณ์
สถานที่ดำเนินการ
          เนื่องจากหมู่ที่ 14 อยู่ในบริเวณใกล้กับหมู่ที่  7 ,หมู่ที่ 12 และ หมู่ที่ 15 ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกมันสำปะหลังที่มีผลผลิตมาก และยังสามารถลดระยะทางในการขนส่งผลผลิตทางการเกษตร
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
          1. เกษตรกรมีอำนาจต่อรองราคาผลผลิตมากขึ้น
          2. เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเกษตรมากขึ้น
          3. เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้นจากผลิตผลขายได้ในราคาที่เป็นธรรม
          4. เกษตรกรได้รับความสะดวกจากการใช้บริการที่รวดเร็ว
          5. ช่วยให้เกษตรกรลดค่าใช้จ่ายในด้านการขนส่ง
          6. เมื่อสหกรณ์มีผลกำไรสมาชิกจะได้รับ
   
         
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 800x600 Text Size Medium
สร้างสรรค์โดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2552
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อ.เมือง จ.นครสวรรค์
   
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน